บทคัดย่อ
มิติทางสังคมวัฒนธรรมของการใช้ยาในชุมชน: การพัฒนาองค์ความรู้จากทฤษฎีและการวิจัยการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ 1) การทบทวนความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับการใช้ยารักษาตนเองของประชาชน 2) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ยาของคนไทย และ 3) การสังเคราะห์องค์ความรู้ทั้งทฤษฎีและข้อมูลเชิงประจักษ์ในสังคมไทยเพื่อพัฒนาเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ยาในชุมชนที่เป็นระบบและชัดเจนขึ้นข้อมูลที่ใช้ในการศึกษามาจาก 2 แหล่งคือ ฐานข้อมูลการวิจัยในโครงการ Implications of Community Health Workers Distributing Drugs: A Case Study of Thailand และการทำ Documentary reviewข้อมูลในทางทฤษฎีและผลการวิจัยในต่างประเทศพบว่า การรักษาตนเองเป็นวัฒนธรรมของคนในทุกสังคม แต่การใช้ยาสมัยใหม่รักษาตนเองของประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลัง โดยเฉพาะหลังจากได้มีโอกาสสัมผัสกับระบบการแพทย์ตะวันตกการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและเศรษฐกิจ มีผลให้พฤติกรรมการรักษาตนเองของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เป็นการใช้ยาแผนปัจจุบันแทนการรักษาแบบดั้งเดิม การแพร่กระจายของยาสมัยใหม่ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการแพทย์วิทยาศาสตร์ และธุรกิจยา ตลอดจนเป็นผลของกระบวนการโลกาภิวัตน์ ทำให้ยาสมัยใหม่มีบทบาทอย่างมากต่อประชาชน ข้อมูลจากผลการวิจัยและประเด็นในเชิงทฤษฎีพบว่า การใช้ยาสมัยใหม่รักษาตนเองเป็นพฤติกรรมที่ระบาดไปทั่วโลก ระบบกระจายยาภาคเอกชน (commercial pharmaceutical sector) เกิดการขยายตัวและมีบทบาทสำคัญที่สุดในการทำให้ยาสมัยใหม่กระจายสู่มือประชาชน ความแพร่หลายของยาสมัยใหม่ได้ก่อให้เกิดกระบวนการเห็นสุขภาพเป็นสินค้า (health commodification) คือการที่ประชาชนแสวงหาสุขภาพด้วยการบริโภคยาเหมือนบริโภคสินค้า เกิดการรับรู้ที่คลาดเคลื่อนว่ายาเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดในการรักษาอาการเจ็บป่วย (no cure of disease is possible unless drugs are taken) เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนะต่อความหมายของสุขภาพ ป่วยง่ายขึ้นและใช้ยาบ่อยขึ้น นอกจากนี้ ข้อมูลทางวิชาการยังพบว่า ยาในฐานะของผลผลิตทางวัฒนธรรม (artifact) เมื่อถูกนำไปใช้ในสังคมอื่นโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนามักจะถูกรับรู้ ตีความและใช้ตามฐานคติความเชื่อแบบเดิมของท้องถิ่น เกิดกระบวนการที่เรียกว่า การสร้างความหมายใหม่ทางวัฒนธรรม (cultural reinterpretation) ประชาชน มีการประยุกต์เอาทฤษฎีโรค พื้นบ้านมาใช้อธิบายประสิทธิภาพของยาและเลือกชนิดของยาและวิธีการใช้ยา ฯลฯ กลายเป็นหลักเหตุผลแบบชาวบ้าน การวิจัยนี้สรุปว่า การรักษาตนเองของชาวบ้านเป็นปรากฏการณ์ธรรมดาและธรรมชาติ สิ่งที่เป็นปัญหาคือ การใช้ยารักษาตนเองที่ประชาชนขาดการเตรียมพร้อม พฤติกรรมการใช้ยาที่ปรากฏออกมาจึงเป็นอาการของปัญหาที่ซับซ้อน การแก้ไขจำเป็นต้องคำนึงถึงเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะเป็นพื้นฐานให้เกิดการมีสภาพชีวิตที่ดีขึ้น ป่วยน้อยลง มีข้อมูลข่าวสารและสติปัญญาที่พร้อมมูลในการพิจารณาหาทางช่วยตนเองได้อย่างชาญฉลาดและเท่าทันขึ้น สิ่งเหล่านี้ต้องการการย้อนกลับไปดูบทบาทของธุรกิจยาและวิชาชีพทางการแพทย์ที่จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี และการช่วยตนเองได้ของประชาชน ความรู้ที่จำเป็นทางสุขภาพจะต้องแพร่กระจายสู่วัฒนธรรมสาธารณะ ธุรกิจยาที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพต้องได้รับการควบคุมหรือจำกัด และการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของภาคอื่นๆ ในสังคม นอกเหนือจากวิชาชีพทางการแพทย์เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
บทคัดย่อ
Self-medication with modern pharmaceuticals in rural Thailand: Theoretical concepts and empirical findingsThe study aims to:1) make a critical review of theoretical concepts and studies concerning self-medication practices; 2) investigate self-medication behaviors of the rural Thais and’ 3) discuss research and policy implications regarding the promotion of rational drug use by consumers. The study uses two main methods: documentary review and the analysis of empirical materials. The existing data sets collected during a research project conducted by the author- The Implications of Community Health Workers Distributing Drugs- A Case Study of Thailand-.were relied upon in the second method. The study comprises six chapters. Chapter One and Chapter Two provide backgrounds of the study and the accounts of the methodology and data used respectively. Theoretical concepts and studies concerning drug use behaviors are reviewed and discussed in Chapter Three. Highlighted are the theoretical perspectives such as modern pharmaceuticals as cultural artifacts, health commodification, cultural reinterpretation, and role of the informal commercial drug sector on self-treatment. Empirical data are presented in Chapter Four and Chapter Five. Chapter Four describes the quantitative figures and general patterns of how and what drugs are used by the rural villagers to solve their ill-health problems. Beliefs and perception associated with drug choosing and evaluating (i.e., brand, provenance, form, physical attributes etc) are also described. Chapter five moves on to the qualitative accounts of how people’s self-medication practices are shaped. Case studies are presented to demonstrate how the community’s socio-cultural and economic contexts (i.e., the availability of drugs and drug sources, the marketing practice of local drug firms, life-hardships of the rural dwellers that underlie work-related ill-health and, subsequently, determine demand for drugs) condition people’s self-treatment. In Chapter Six, the author concludes and argues that self-medication is, in fact, a cultural phenomenon. Its pattern is shaped by a complex web of causes embedding in both local and structural levels. Any attempt to elevate people’s drug use problems will hardly achieve unless such a complexity is realized and brought into consideration.