• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เครื่องมือแพทย์ราคาแพงในประเทศไทย: การกระจายการใช้และการเข้าถึงบริการ

วงเดือน จินดาวัฒนะ; ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย; วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร;
วันที่: 2544
บทคัดย่อ
ศึกษาการกระจาย การใช้ และการเข้าถึงบริการเครื่องมือแพทย์ราคาแพงในประเทศไทย ในระหว่างปี 2537-2542 ได้แก่ เครื่องสลายนิ่ว (ESWL) เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scanner) เครื่องตรวจอวัยวะภายในด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเครื่องเอ็มอาร์ไอ (MRI) และเครื่องตรวจมะเร็งเต้านม (Mammography) เพื่อนำไปสู่การจัดการทรัพยากรสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพทั้งในด้านเทคนิคและการจัดสรรทรัพยากร รวมทั้งให้ตระหนักความคุ้มค่าในการลงทุนและความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการ การกระจายเครื่องมือแพทย์ราคาแพง กระจุกตัวอยู่ในสถานพยาบาลภาคเอกชน ยกเว้นเครื่องสลายนิ่วที่มีการติดตั้งในรัฐบาลมากกว่าภาคเอกชน การเพิ่มจำนวนเครื่องมือแพทย์ราคาแพงจะสัมพันธ์กับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มช้าลงหรือลดลงเมื่อเกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งสืบเนื่องมาจากความอ่อนแอของภาครัฐในการควบคุมทั้งจำนวนการกระจายเครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม และความเป็นธรรมในการบริการ การใช้ประโยชน์จากเครื่องมือแพทย์ราคาแพงยังไม่เต็มประสิทธิภาพในภาครัฐและภาคเอกชน เนื่องจากการลงทุนค่าเครื่องมือสูงมาก กอรปกับค่าดูแลรักษาเครื่อง ค่าสถานที่ ค่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษในการใช้เครื่อง ฯลฯ ดังนั้น เพื่อความคุ้มทุนในระยะสั้นสำหรับเครื่องมือบางชนิด ได้ใช้กลไกการตลาดเพื่อเพิ่มจำนวนบริการ ซึ่งก่อให้เกิดข้อทักท้วงด้านจริยธรรมทางการแพทย์และเพิ่มค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่มีรายได้น้อยและไม่มีหลักประกันสุขภาพเข้าถึงบริการด้วยเครื่องมือแพทย์ราคาแพงน้อยกว่าผู้มีรายไดสูงและมีหลักประกันสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาบ ควรมีการพัฒนาฐานข้อมูลจำนวนเครื่องมือแพทย์และปริมาณการใช้บริการของผู้ป่วยเพื่อใช้ในการพัฒนานยาบายการวางแผน การจัดสรรให้เหมาะสมกับปัญหา ควรปรับปรุงกฏหมายควบคุมเครื่องมือแพทย์ให้แก้ปัญหาเชิงรุกในภาพรวมของทั้งประเทศเพื่อการกระจายและการใช้อย่างเหมาะสม ควรปฏิรูประบบสุขภาพให้ระบบประกันสุขภาพครอบคลุมประชาชนคนไทย ควรคำนึงถึงบริการด้วยเครื่องมือแพทย์ราคาแพงสำหรับประชาชนทุกคนที่จำเป็นและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ตามข้อบ่งชี้ที่สมควร เพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: 2001_DMJ11_เครื่อ ...
ขนาด: 796.2Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 1
เดือนนี้: 5
ปีงบประมาณนี้: 222
ปีพุทธศักราชนี้: 142
รวมทั้งหมด: 1,362
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ [161]

    International Health Policy Program Foundation (IHPP)


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV