• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การวิเคราะห์ต้นทุนการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติของศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ

วัชรา ริ้วไพบูลย์; Watchara Riewpaiboon;
วันที่: 2544
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในปีงบประมาณ 2542 การวิเคราะห์ครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจย้อนหลัง และคิดต้นทุนแบบจากบนลงล่าง โดยการคิดค่าเสื่อมราคา ใช้วิธีคำนวณแบบเส้นตรง (Straight line method) ส่วนการจัดสรรต้นทุนทางอ้อม ใช้วิธีคำนวณแบบสมการเส้นตรง (Simultaneous equation method) ผลการวิเคราะห์พบว่าต้นทุนรวมของศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ เมื่อไม่รวมค่าเสียโอกาสที่ดิน มีมูลค่า 39.08 ล้านบาท แบ่งเป็น ต้นทุนลงทุน ต้นทุนค่าแรง และต้นทุนค่าวัสดุ เท่ากับ 11.82 ล้านบาท, 16.0 ล้านบาท และ 11.26 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยได้ดังนี้ ต้นทุนต่อครั้งของผู้ป่วยนอกเท่ากับ 562 บาท ต้นทุนต่อรายของผู้ป่วยในเท่ากับ 22,140 บาท และต้นทุนต่อวันนอนของผู้ป่วยในเท่ากับ 1,089 บาท คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยเฉพาะค่าแรงและวัสดุได้ดังนี้ ต้นทุนต่อครั้งของผู้ป่วยนอกเท่ากับ 434 บาท ต้นทุนต่อรายของผู้ป่วยในเท่ากับ 18,080 บาท และต้นทุนต่อวันนอนของผู้ป่วยในเท่ากับ 890 บาท คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยเฉพาะค่าวัสดุได้ดังนี้ ต้นทุนต่อครั้งของผู้ป่วยนอกเท่ากับ 222 บาท ต้นทุนต่อรายของผู้ป่วยในเท่ากับ 11,979 บาท และต้นทุนต่อวันนอนของผู้ป่วยในเท่ากับ 589 บาท ในกรณีวิเคราะห์การคืนทุน เมื่อคำนวณรวมทั้งผู้ป่วยนอกและใน เปรียบเทียบกับรายได้ที่ควรจะได้รับมีดังนี้ เมื่อคิดต้นทุนรวมทั้งหมดมีค่าเท่ากับร้อยละ 56.7 เมื่อคิดเฉพาะต้นทุนค่าแรงและค่าวัสดุ มีค่าเท่ากับร้อยละ 91.6 และเมื่อคิดเฉพาะต้นทุนค่าวัสดุ มีค่าเท่ากับร้อยละ 156.5 กรณีเปรียบเทียบกับรายได้ที่ได้รับจริงมีดังนี้ มีอัตราคืนทุนร้อยละ 33.0, 53.3 และ 91.2 สำหรับการคิดต้นทุนทั้งหมด คิดเฉพาะต้นทุนค่าแรงและค่าวัสดุ และการคิดเฉพาะต้นทุนค่าวัสดุ ตามลำดับ เมื่อประยุกต์ใช้ข้อมูลต้นทุนเหล่านี้ในการวิเคราะห์ต้นทุนผู้ป่วยในเฉพาะโรค พบว่าต้นทุนเฉลี่ยของผู้พิการอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมีวันนอนเฉลี่ย 43.2 วัน มีค่าเท่ากับ 47,045 บาทต่อราย ข้อมูลที่ได้เหล่านี้สามารถนำไปใช้ในการบริหารงบประมาณและการเงิน การปรับปรุงประสิทธิภาพ และพัฒนางานในความรับผิดชอบของหน่วยงานต่อไปได้ อย่างไรก็ดี เพื่อให้การคิดต้นทุนมีความชัดเจนและจำเพาะกับการรักษาผู้ป่วยโรคต่างๆ ควรมีการวิเคราะห์ต้นทุนของการบริการแต่ละชนิด จากนั้นจึงคำนวณต้นทุนในการรักษาผู้ป่วยแต่ละประเภทตามชนิดและปริมาณกิจกรรมบริการที่ได้รับจริง สำหรับในเชิงบริหารควรมีการฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ความเข้าใจในการวิเคราะห์ต้นทุนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติงานที่มุ่งเน้นความมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ควรให้ควบคู่ไปกับการพัฒนาดัชนีชี้วัดผลผลิตของหน่วยงาน ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพด้วย
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0789.pdf
ขนาด: 846.1Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 4
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 311
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2483]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV