• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ภาระงานของบุคลากรและประสิทธิภาพการใช้เตียงโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลจังหวัด ปี 2543

วลัยพร พัชรนฤมล; วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร;
วันที่: 2544
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปริมาณงานรักษาของบุคลาการ 3 สายงานได้แก่ แพทย์ เภสัชกร และพยาบาลวิชาชีพ งบประมาณ 2543 ของโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลจังหวัดทุกแห่งในประเทศไทยทำการศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม – มิถุนายน 2544 โดยใช้ข้อมูลจำนวนครั้งผู้ป่วยนอกและจำนวนรายผู้ป่วยในจาก 0110 รง.5 ของโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่งในประเทศไทยและข้อมูลจำนวนแพทย์, เภสัชกร และพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานจริงจากกองโรงพยาบาลภูมิภาคและกองสาธารณสุขภูมิภาค ปีงบประมาณ 2543 ยกเว้นพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลชุมชนเป็นจำนวนตามบัญชีถือจ่ายเงินเดือน (จ.18) ถ่วงน้ำหนักจำนวนผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปด้วยร้อยละความต้องการแพทย์เฉพาะทางของแต่ละแผนกตรวจด้วยน้ำหนัก 2 และถ่วงน้ำหนักผู้ป่วยในทุกโรงพยาบาลด้วยค่าเฉลี่ยน้ำหนักสัมพันธ์ของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG/RW), วันนอน และสัดส่วนต้นทุนดำเนินการต่อวันผู้ป่วยใน/ครั้งผู้ป่วยนอก (unit cost IP day/OP visit) นำผลรวมของผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว มาหารด้วยจำนวนบุคลากรแต่ละสายงาน จะได้ภาระงานต่อบุคลากร 1 คน วิเคราะห์ดัชนีความแตกต่าง (discrepancy index) เพื่อเปรียบเทียบปริมาณงานรักษาต่อบุคลากรระหว่างโรงพยาบาลทุกแห่งภายในจังหวัด เปรียบเทียบระหว่างจังหวัดภายในเขตเดียวกัน และเปรียบเทียบเขตต่างๆ ทั้ง 12 เขตของประเทศไทย พบว่า ภาคอีสานเป็นภาคที่มีดัชนีภาระงานทั้ง 3 สายงาน สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ และเป็นค่าสูงสุด แสดงว่ามีภาระงานต่อบุคลากร 1 คนมากที่สุด ส่วนภาคตะวันออกเป็นภาคที่มีดัชนีภาระงานของแพทย์และพยาบาลวิชาชีพต่ำสุด ภาคใต้มีดัชนีภาระงานของเภสัชกรต่ำที่สุด แสดงว่าแพทย์และพยาบาลวิชาชีพในภาคตะวันออกมีภาระงานน้อยที่สุด เภสัชกรในภาคใต้มีภาระงานที่น้อยที่สุด ค่าเฉลี่ยอัตราการครองเตียงและอัตราการใช้เตียงของประเทศไทยเท่ากับ 88% และ 82 คนต่อเตียงต่อปี ตามลำดับ ภาคอีสานเป็นภาคที่มีอัตราการครองเตียงและการใช้เตียงสูงสุดของประเทศไทยเท่ากับ 95% และ 100 คนต่อเตียงต่อปี ตามลำดับ ดัชนีความแตกต่าง เป็นเครื่องมือที่ชี้ให้เห็นถึงความหนักเบาของภาระงานต่อบุคลากร 1 คน สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ในสายงานเดียวกัน แต่ไม่สามารถเปรียบเทียบต่างสายงานกันได้ เนื่องจากแต่ละสายงานมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่ไม่เหมือนกัน
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: 2001_DMJ14_ภาระงา ...
ขนาด: 888.8Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 18
ปีงบประมาณนี้: 1,209
ปีพุทธศักราชนี้: 758
รวมทั้งหมด: 3,854
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ [161]

    International Health Policy Program Foundation (IHPP)


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV