• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การศึกษาความชุกของการขาดวิตามินบี1 และวิตามินบี1 ที่ได้รับจากการบริโภคอาหารใน 1 วัน ในกลุ่มอายุ 15-50 ปี หมู่บ้านชูชาติ ตำบลลือ อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

สมฤกษ์ จึงสมาน; Somroek Juengsamarn;
วันที่: 2545
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการขาดวิตามินบี1 และปริมาณวิตามินบี1 ที่ได้รับจากการบริโภคอาหารใน 1 วัน ในกลุ่มตัวอย่างอายุ 15-50 ปี จำนวน 157 คน บ้านชูชาติ ตำบลลือ อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยคัดเลือกจากประชากรในหมู่บ้านชูชาติ 274 คนโดยเรียงรายชื่อประชากรกลุ่มตัวอย่าง 15-50 ปี แล้วสุ่มแบบมีระบบ(Systematic Random Sampling) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 153 คน แต่จากการเก็บรวบรวมข้อมูลมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการเพิ่ม 14 คน ดังนั้นได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 157 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้เป็นแบบสัมภาษณ์ ซึ่งได้มีการพัฒนาจากแบบสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่ขาดวิตามินบี1 ของกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกการตรวจร่างกายโดยแพทย์ แบบบันทึกผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แบบสัมภาษณ์การบริโภคอาหารในรอบ 24 ชั่วโมง และแบบสัมภาษณ์ลักษณะการปรุงอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการหาค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า หมู่บ้านชูชาติ ตำบลลือ อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ มีความชุกของการขาดวิตามิน บี1 คิดเป็นร้อยละ 73.90 จำแนกระดับ ETAK พบระดับ Low risk ร้อยละ 34.40 ระดับ Deficiency ร้อยละ 3.20 จำแนกระดับ TPPE พบระดับ Low risk ร้อยละ 21.00 ระดับ Deficiency ร้อยละ 52.90 ข้อค้นพบจากการตรวจร่างกายโดยแพทย์พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ขาดวิตามิน บี1 จะไม่แสดงอาการผิดปกติของผู้ขาดวิตามิน บี1 ทุกอาการ ปริมาณวิตามิน บี1 ที่ได้รับจากการบริโภคอาหารใน 1 วันพบว่า กลุ่มตัวอย่างได้รับวิตามิน บี1 ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย คิดเป็นร้อยละ 93.34 ข้อค้นพบจากลักษณะทางโภชนาการ พบว่า คนอ้วนก็ขาดวิตามิน บี1 ได้ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ขาดวิตามิน บี1 มีดัชนีมวลกายในระดับเสี่ยงต่อโรคอ้วน และอ้วนระดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 19.83 และ 18.10 มีสัดส่วนของการบริโภคสารอาหาร โปรตีน : ไขมัน : คาร์โบไฮเดรต เฉลี่ยต่อวัน คือ 12.03 : 8.02 : 81.00 ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมการบริโภคอาการที่ไม่ถูกสัดส่วน โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรต จำพวกข้าวที่ผ่านการขัดสีจนขาวและผ่านการแช่น้ำข้ามคืน (ร้อยละ 63.70) หรือมีการหุงแบบเช็ดน้ำ (ร้อยละ 15.30) รวมทั้งการรับประทานปลาร้าดิบทุกวัน โดยไม่ผ่านวิธีการทำให้สุก (ร้อยละ 63.70) และรับประทานผักที่มีสารต้าน/ทำลายวิตามิน บี1 จำพวกกระถิน ผักเม็ก ผักติ้ว อีกทั้งการทำงานหนัก (เกษตรกรรม ร้อยละ 95.50) ก็จะเพิ่มการใช้ไธอะมิน เป็นโคเอนไซม์ในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตเพื่อใช้เป็นพลังงานมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการขาดวิตามิน บี1

บทคัดย่อ
The purpose of this study are to study prevalence of vitamin B1 deficiency and vitamin B1 intake from diets. Samples were between 15-50 year’s old, 157 persons from Ban Choochat, Tambon Lue, Prathumratchawongsa District, Amnatcharoen Province. The samples were selected from the population in Ban Choochat 274 persons by list from the person between 15-50 years old, the sample increased 4 persons so the total samples were 157 persons. The researcher collected data using questionnaires. Questionnaires was interview which developed from interview format of the person who had vitamin B1, deficiency by The Nutrition Division, The Ministry of Public Health. It was divided into 6 parts:- personal data interview; body checklist record; laboratory’s examine record; food eating interview in 24 hour’s interview; and cooking food’s situation interview. The data were analyzed and interpreted statistical by frequency, percentage, means(x) and standard deviation(S.D.). The results of the study, it was found that, Ban Choochat, Tambon Lue, Pratoonrachawondgsa district, Amnatcharoen province had vitamin B1 deficiency 73.90%, divided by ETKA found Low risk level 34.40 and deficiency level 3.20, divided by TPPE found Low risk level 21.00%, and deficiency level 52.90%. From physical examination found that the sample of vitamin B1 deficiency were not show all clinical symptoms in every person. The amount of vitamin B1 from diets each day, that was under normal requirement (1.2 mg/day), was found in 93.34% of the samples and the nutritional status was found that obesity samples could deficient in vitamin B1 also. The samples which vitamin B1 deficiency had the risk to be obesity and obesity level 1 about 19.83% and 18.10% and proportion in dietary:- protein : fat : carbohydrate each day=12.03 : 8.02 : 81.10% and proportion in dietary:- protein : fat : carbohydrate each day = 12.03 : 8.02 : 81.00. It was indicated that the habit in eating food is not balance, especially in Carbohydrate which the kind of whiten rice, took in water a night (63.70%) or cooked by water’s change(15.30%), eat raw preserved fish every day (63.70%), eat vegetable which spoiled vitamin B1 and worked hard (agriculture 95.50%). It should increase using Thiamine to be coenzyme to metabolize carbohydrate for energy and lead to risk from vitamin B1 deficiency.Keywords : Vitamin B1 Deficiency Vitamin B1 Volume intake
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1045.pdf
ขนาด: 886.4Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 4
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 102
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV