บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องตัวชี้วัดคุณภาพจากข้อมูลผู้ป่วยในกับคุณลักษณะของโรงพยาบาล เป็นการศึกษาถึงตัวชี้วัดทางคุณภาพของหน่วยบริการจากข้อมูลผู้ป่วยใน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบตัวชี้วัดซึ่งมีการใช้ในการประเมินคุณภาพของหน่วยบริการในประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 45 ตัวชี้วัด ว่าสามารถจะนำมาใช้กับข้อมูลที่มีอยู่ของข้อมูลผู้ป่วยในในประเทศไทยได้หรือไม่ ข้อมูลมีความพร้อมมากน้อยเพียงใด และหากสามารถนำมาใช้ได้ จะมีตัวชี้วัดกี่ตัวที่จะสามารถนำมาใช้ได้ และสามารถใช้ในการเปรียบเทียบผลการให้บริการในมุมมองต่างๆ ได้แก่ มุมมองด้านระยะเวลาว่าแต่ละปีสามารถเปรียบเทียบกันได้หรือไม่ ผลของตัวชี้วัดในแต่ละภูมิภาคสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้หรือไม่ หรือจะสามารถเปรียบเทียบกันได้ในระดับแค่ไหน และมีความเป็นไปได้ในการที่จะนำตัวชี้วัดบางตัวมาใช้ในการติดตามคุณภาพการให้บริการในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ในอนาคตหรือไม่ วิธีการศึกษาแบ่งการศึกษาออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนแรกเป็นการประเมินความเหมาะสมของข้อมูลที่นำมาใช้โดยการสุ่มข้อมูลจากโรงพยาบาลเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ส่งเข้ามาในส่วนกลางเพื่อใช้ในการเบิกค่าใช้จ่าย โดยใช้ข้อมูลผู้ป่วยในของปี 2544 และส่วนที่สองใช้วิธีการใช้ข้อมูลทุติยภูมิของข้อมูลผู้ป่วยในที่ส่งจากโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อทดลองตัวชี้วัดคุณภาพ โดยใช้ข้อมูลผู้ป่วยใน 3 ปีมาทดลองคือ ปี 2543 ถึง 2545 โดยใช้ตัวชี้วัด HCUP (Healthcare cost and utilization project) quality indicator 45 ตัว ที่มีการปรับให้เหมาะสมกับข้อมูลในประเทศไทย โดยตัวชี้วัดดังกล่าวแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่เป็นตัวชี้วัดการให้บริการของผู้ให้บริการ (Provider level) และกลุ่มตัวชี้วัดการให้บริการเปรียบเทียบกับประชากรในพื้นที่ (Area level) โดยตัวชี้วัดการให้บริการของผู้ให้บริการประกอบด้วยกลุ่มต่างๆ คือ ตัวชี้วัดหัตถการ (Volume indicator) 6 ตัว, ตัวชี้วัดอัตราการใช้บริการ (Utilization indicator) 5 ตัว, ตัวชี้วัดอัตราตายด้วยสภาวะต่างๆ ในโรงพยาบาล (Mortality indicator for inpatient condition) 6 ตัว, ตัวชี้วัดอัตราตายของผู้ป่วยที่มีการทำหัตถการ (Mortality indicator for inpatient procedure) 7 ตัว ส่วนตัวชี้วัดการให้บริการเปรียบเทียบกับประชากรในพื้นที่ประกอบด้วย ตัวชี้วัดการใช้บริการ (Utilization indicator) 4 ตัว, ตัวชี้วัดที่แสดงภาวะที่หลีกเลี่ยงการต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ (Avoidablehospitalizations and Ambulatory care sensitive condition (ACSC) ) 16 ตัว และได้มีการเปรียบเทียบคุณลักษณะต่างๆ กับตัวชี้วัดที่นำมาใช้ในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่าข้อมูลที่นำมาใช้มีความถูกต้องของรหัสโรคสามารถนำมาใช้ได้ ร้อยละ 70 และความถูกต้องของการลงรหัสหัตถการร้อยละ 62 ความถูกต้องดังกล่าวสามารถนำมาวิเคราะห์ผลของตัวชี้วัดได้ระดับพอใช้ โดยตัวชี้วัดบางกลุ่มต้องใช้ข้อมูลทั้งสามปีมาวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์ตัวชี้วัดตามรายกลุ่มพบว่า ตัวชื้วัดหัตถการไม่สามารถนำมาใช้ได้ เนื่องจากหัตถการดังกล่าวมีการทำน้อยในประเทศไทย และมีผลทำให้ไม่สามารถใช้ตัวชี้วัดอัตราตายของผู้ป่วยที่มีการทำหัตถการนั้นๆ ด้วย ตัวชี้วัดอัตราการใช้บริการสามารถนำมาใช้ได้ 1 ตัวคือ Ceasarean section rate ส่วนอีก 2 ตัว คือ Incidental appendectomy among elderly และ Laparoscopic cholecystectomy ต้องใช้ข้อมูลหลายปีรวมกันจึงสามารถนำมาใช้ได้เนื่องจากจำนวนข้อมูลน้อย ตัวชี้วัดอัตราตายของผู้ป่วยที่ทำหัตถการสามารถนำมาใช้ได้ 1 ตัวคือ Craniotomy mortality โดยต้องนำข้อมูลหลายปีมารวมกัน ตัวชี้วัดอัตราตายด้วยสภาวะต่างๆ ในโรงพยาบาลพบว่าสามารถนำมาใช้ได้โดยใช้ข้อมูลของแต่ละปี 4 ตัวคือ Acute myocardial infarction mortality,Congestive heart failure mortality,Pneumonia mortality,Stroke mortality ส่วนตัวชี้วัดอีก 2 ตัว คือ Hip fracture mortality และ GI hemorhage mortality ต้องใช้ข้อมูลหลายปีรวมกันในการประเมิน ตัวชี้วัดการใช้บริการเปรียบเทียบในพื้นที่ พบว่า อัตราการใช้บริการ Hysterectomy และ Laminectomy สามารถนำมาใช้ได้ ส่วน CABG และ PTCA ไม่สามารถนำมาใช้ได้เนื่องจากข้อมูลมีจำนวนไม่เพียงพอ ตัวชี้วัดที่แสดงภาวะที่หลีกเลี่ยงการตัองเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ สามารถนำมาใช้ได้ทุกตัวยกเว้น Uncontrolled diabetes mellitus ที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้เนื่องจากไม่มีรหัสใน ICD 10 ให้ลง อย่างไรก็ตามการเปรียบเทียบผลของตัวชี้วัดระดับพื้นที่ดังกล่าวมีหลายจังหวัดมีข้อมูลที่ส่งเข้ามาเมื่อเทียบกับประชากรที่รับผิดชอบน้อยมากทำให้ไม่สามารถนำตัวชี้วัดนั้นมาเปรียบเทียบผลการให้บริการในระดับจังหวัดได้
บทคัดย่อ
The study of quality indicators of administrative data and hospital characteristic aims to test the 45 indicators of quality assessment of the administrative data in the US whether they can be applied with the existing administrative data in Thailand.Can they use and compare the result of the services in various aspects such as year,region comparison. Will they be possibility of using some indicators to monitor the quality of services in Universal Coverage of health care scheme (UC) in the future? The methodology is cross sectional study of reimbusement data from 2000-2003.It is two parts of analysis.First,the data is assesed by sampling from year 2001 hospital data to audit the chart with central data.Second,administrative data of three years are test with 45 HCUP(Health care cost and utilization project) indicators.There are two groups of those indicators provider level and area level indicaor.The provider level consist of 6 Volume, 5 Utilization, 6 inpatient condition mortality and 7 inhospital procidural mortality indicators. While the area level consist of 4 Utilization and 16 Avoidable hospitalizations and Ambulatory care sensitive condition (ACSC) indicators.The comparison between the various characteristics are studied in this research. The result of this study showed that the 70% of data was corrected in diagnosis and 62% in procedural coding.The data can rather use for analysis of indicator.For the volume indicator,it can not be evaluated from data because those operations are less in Thailand,Thus,the mortality form them can not be compared as well. The utilization indicator which can be analysed in this study was Caesarean section rate while incidental appendectomy among elderly and Laparoscopic cholecystectomy can be used by combining data from three years due to the small number of cases.The useful inpatient condition mortality were Acute myocardial infarction mortality,Congestive heart failure mortality,Pneumonia mortality and Stroke mortality while another two indicators, Hip fracture mortality and GI hemorhage mortality were required to use the total data of several years for assessment. For the area level indicators, the service rate of Hysterectomy and Laminectomy can be used while CABG and PTCA cannot because of the inadequacy of data. Most of the Avoidable hospitalizations and Ambulatory care sensitive condition indicators can be used except for uncontrolled diabetes mellitus since there is no coding in ICD 10. However,some provinces had few data compare to area population so the indicators cannot be evaluated. Because they are no composite index of indicator,each of them can be applied separately,Using various years of data makes the reliable result of assessment especially mortality indicators. Some of indicators are main indicators for presenting the result of hospital services for example; Caesarean section rate because there were adequate data in each year and such result of services can be used for comparison. For the area level indicators, this study showed that some provincial area might have less population so the reliability of the indicators might be questionable. This can be solved by expanding area into regional area. Applying these indicators in Universal Coverage scheme presently is not likely to be possible because of two factors;the correctness of data and the suitability of the indicators in Thailand data.Moreover, there are many factors involved. For example, cause of illness, treatment or operation and health service system between Thailand and other countries are different. In order to tell which province or which hospital is good quality in inpatient services providing, there must be the development of indicators for Thailand, particularly, the standard of selection of indicators using statistic method. Besides, low standard of care caused by the monitoring organization would make the result of indicator assessment for comparison more meaningful.