dc.contributor.author | สุวารี เทพดารา | th_TH |
dc.contributor.author | Suwaree Thapdara | en_US |
dc.contributor.author | อาคม อารยาวิชานนท์ | th_TH |
dc.contributor.author | ลักขณา ทองมี | th_TH |
dc.contributor.author | นิจกานต์ ตันอุ่นเดช | th_TH |
dc.contributor.author | ปิยพร ไชยกุล | th_TH |
dc.contributor.author | สุภาพร ศิริบูรณ์พิพัฒนา | th_TH |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:21:47Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:42:28Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:21:47Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:42:28Z | |
dc.date.issued | 2544 | en_US |
dc.identifier.other | hs0874 | en-EN |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1742 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาระบบการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อการพัฒนารูปแบบการให้ความร่วมมือของผู้ป่วย ครอบครัวหรือญาติในการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาศัยรูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) และศึกษากลุ่มตัวอย่างในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมิน Barthel Index(BI) แนวทางในการสัมภาษณ์และประเด็นในการทำสนทนากลุ่ม การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลแยกเป็น 2 ประเภท คือข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่าง 20 คน เป็นชายมากกว่าหญิง อายุเฉลี่ยเท่ากับ 65 ปี ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรและมีที่อยู่นอกเขตอำเภอเมือง ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาเรื่องผู้ดูแล ผู้ดูแลเป็นหญิงมากกว่าชาย ค่า BI เฉลี่ยก่อนถูกจำหน่ายกลับเท่ากับ 4.8 ค่า BI เฉลี่ยเมื่อกลับมาติดตามผลการรักษาภายหลังถูกจำหน่าย 3 เดือน เท่ากับ 12.2 สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้ พบว่าปัญหาของการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพแบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ ปัญหาเรื่องระบบ ปัญหาจากการขาดบุคลากร ปัญหาเรื่องการประสานงานและปัญหาด้านผู้ป่วย ญาติ หรือผู้ดูแล จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่ารูปแบบของการบริการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองค่อนข้างเหมาะสมกับสถานการณ์ แต่ยังต้องมีการพัฒนาด้านการประสานงานและขั้นตอนการบริการให้มีความชัดเจนและเป็นระบบมากขึ้นโดยความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ควรจะได้นำญาติหรือผู้ดูแลเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพตั้งแต่แรกเริ่มจนกระทั่งถูกจำหน่ายกลับอย่างต่อเนื่องจึงจะทำให้ผู้ป่วยเพิ่มความสามารถในการช่วยเหลือตนเองให้ดีขึ้น | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 335893 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Stroke | en_US |
dc.subject | Rehabitation | en_US |
dc.subject | โรคหลอดเลือดสมอง | en_US |
dc.subject | การฟื้นฟูสมรรถภาพ | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | การพัฒนาระบบการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างต่อเนื่องโดยความร่วมมือของผู้ป่วยและญาติ | th_TH |
dc.title.alternative | Improvement the continuity of hospital to home-based rehabilitation for stroke patients at Sappasittiprasong Hospital | en_US |
dc.description.abstractalternative | Improvement the continuity of hospital to home-based rehabilitation for stroke patients at Sappasittiprasong HospitalBackground and PurposeStroke management is aimed at facilitating functional independence and community reintegration. Therefore, It would be logical that the sooner the patient can be returned home following stroke, the sooner the reintegration process can commence. The purpose of this study was to improve the continuity of hospital to home-based rehabilitation for stroke patients.MethodsAction research devised to 3 phases. This study was Phase 1 what showed situation analysis to identify problem. Prospective study collected data of patients and patients’ family who referred to Physical Therapy Department at Sappasitthiprasong Hospital. The data was collected by interview, indepth-interview, observation and focus group. The main outcome measure was Barthel Index (BI) for assessment activities daily living (ADL).ResultsThe problems were identify to problem of co-ordination in interdisciplinary team, problem of home visit service from home health care system, problem in lack of authority and problem of patients and caregiver. The most of patients were in rural area. There were 8 subjects who came to follow up from 20 subjects. Barthel Index score showed improvement when comparison of hospitalization period and 3 months followed up period (4.8, 12.2, respectively).Conclusion The continuity of rehabilitation system could improvement by the patient’s family member or other caregiver participated in rehabilitation from beginning and improved the co-ordination in interdisciplinary team. | en_US |
dc.identifier.callno | WB320 ส878ก 2544 | en_US |
dc.identifier.contactno | 44ค018 | en_US |
dc.subject.keyword | Action Research | en_US |
dc.subject.keyword | การวิจัยเชิงปฏิบัติการ | en_US |
.custom.citation | สุวารี เทพดารา, Suwaree Thapdara, อาคม อารยาวิชานนท์, ลักขณา ทองมี, นิจกานต์ ตันอุ่นเดช, ปิยพร ไชยกุล and สุภาพร ศิริบูรณ์พิพัฒนา. "การพัฒนาระบบการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างต่อเนื่องโดยความร่วมมือของผู้ป่วยและญาติ." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1742">http://hdl.handle.net/11228/1742</a>. | |
.custom.total_download | 611 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 27 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 8 | |