บทคัดย่อ
ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภาษีสรรพสามิตบุหรี่ งานวิจัยนี้ วิเคราะห์พฤติกรรม ของผู้บริโภคสิ่งเสพติดต่างๆ โดยแยกผู้บริโภคออกเป็น 12 กลุ่ม วิเคราะห์อุปสงค์ของสินค้า 4 ประเภทคือ อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ และ สินค้าอื่นๆโดยมุ่งทำการประมาณค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายจ่ายรวมเพื่อการบริโภค ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าแต่ละชนิดและค่าความยืดหยุ่นไขว้ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น ทำการประมาณค่าอัตราการทดแทนกัน ระหว่างผลิตภัณฑ์ยาสูบถูกกฎหมาย และบุหรี่นำเข้าหนีภาษี ทำการวิเคราะห์ผลกระทบ ต่อรายได้จากภาษีสรรพสามิต และอัตราภาษีที่จะให้รายได้จากภาษีสูงสุด แนวทางสำหรับการบริหารรายได้จากภาษีสรรพสามิตบุหรี่ ประเด็นอื่นๆ อีกหลายประเด็น ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินนโยบายราคาบุหรี่ และที่สำคัญ ได้เสนอแนวคิดและทำการประมาณค่าความยืดหยุ่นของการเป็นผู้สูบบุหรี่ขึ้นมา ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ในภาพรวมแล้วสิ่งเสพติดต่างๆ มีค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค และความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาในระดับที่ต่ำมาก ซึ่งแสดงว่า การขึ้นราคาโดยผ่านทางอัตราภาษีสรรพสามิตบุหรี่ จะทำให้ปริมาณการสูบบุหรี่ลดลงเพียงเล็กน้อยและรายได้ที่รัฐจะได้จากภาษีสรรพสามิตบุหรี่เพิ่มขึ้น การขึ้นอัตราภาษีแม้จะทำให้ผู้บริโภคบางรายหันไปซื้อบุหรี่นอกหนีภาษีมาสูบเป็นการทดแทนกัน แต่อัตราการทดแทนก็อยู่ในระดับที่ต่ำมาก ซึ่งแสดงว่าการขึ้นราคาโดยผ่านทางอัตราภาษีสรรพสามิตบุหรี่ จะให้ปริมาณการสูบบุหรี่ลดลงเพียงเล็กน้อยและรายได้ที่รัฐจะได้จากภาษีสรรพสามิตบุหรี่เพิ่มขึ้น การขึ้นอัตราภาษี นี้แม้จะทำให้ผู้บริโภคบางราย หันไปซื้อบุหรี่นอกหนีภาษีมาสูบเป็นการทดแทนกัน แต่อัตราการทดแทนก็อยู่ในระดับที่ต่ำมากและเนื่องจากผลกระทบต่ออุปสงค์มีอยู่ในระดับที่ต่ำดังกล่าวมาแล้ว ผลกระทบต่อเนื่องต่อการจ้างงาน และภาคการผลิตใบยาสูบ และผลิตภัณฑ์ยาสูบจึงไม่รุนแรง โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากความจริงที่ว่า ภาคการผลิตดังกล่าวเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของระบบเศรษฐกิจเท่านั้น รัฐจงน่าจะสามารถนำเอานโยบายราคามาควบคุมปริมาณการสูบบุหรี่ได้ต่อไป