บทคัดย่อ
การสำรวจราคายา 40 รายการโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจัดซื้อในปี 2539 การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นถ้ามีการ แก้ไข ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ 2535 ข้อ 61โดยการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบราคายาที่องค์การ เภสัชกรรมผลิตหรือมีจำหน่ายเปรียบเทียบกับราคายารายการเดียวกันที่บริษัท เอกชนมีจำหน่าย โดยทำการศึกษาราคายาตัวอย่าง 40 รายการใน รพ.สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นสัดส่วนตามจำนวน รพ.แต่ละระดับ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่มีรายงานการจัดซื้อยารวมในปี 2539 จำนวน 12 แห่ง การศึกษานี้ได้ใช้แบบสอบถามส่งไปยัง รพ.และสำนักงานสาธารณสุขเป้าหมายโดยถามบริษัทและราคายาที่จัดซื้อในปี 2539 อัตราการตอบกลับโดยเฉลี่ยทุกกลุ่มโรงพยาบาล คือ ร้อยละ 51 ในขณะที่อัตราตอบกลับของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเท่ากับ ร้อยละ 83 ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่า 1.จากการสำรวจพบว่า ราคายาตัวอย่าง 40 รายการที่บริษัทเอกชนจำหน่ายนั้นมีพิสียของราคากว้างมาก ในขณะที่ราคายาขององค์การเภสัชกรรมมีเพียงรายการเดียว 2.เมื่อเปรียบเทียบกับราคากลาง พบว่ายาขององค์การเภสัชกรรม และยาเลียนแบบมีราคาเฉลี่ยประมาณ 0.8 เมื่อเทียบกับราคากลาง ในขณะที่ยาต้นแบบมีราคาเฉลี่ยสูงกว่าราคากลางประมาณร้อยละห้าสิบ ส่วนราคายาจากการซื้อยาด้วยวิธีการต่อรองราคาร่วมกันมีค่าต่ำสุดคือ มีค่า ประมาณร้อยละ 60 ของราคากลาง 3.เมื่อเปรียบเทียบราคายาขององค์การเภสัชกรรมและราคายาของบริษัทเอกชน พบว่ารายการยาครึ่งหนึ่ง รายการที่ราคายาขององค์การเภสัชกรรมนั้นอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับยาของเอกชน มีอีกครึ่งหนึ่งที่ราคายาขององค์การเภสัชกรรมอยู่ในเกณฑ์ต่ำถึงปานกลางเมื่อ เทียบกับยาที่บริษัทเอกชนจำหน่าย 4.ในขณะที่ราคายาขององค์การเภสัชกรรมเป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะขายให้ส่วนราชการใดแต่ราคายาของบริษัทเอกชนส่วนใหญ่กลับมีความ ยืดหยุ่นสูง ราคายารายการเดียวกันจากบริษัทเดียวกันสามารถเพิ่ม/ลดได้มาก ตามปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง5.พบว่าแม้ว่าโดยเฉลี่ยการซื้อยาโดยวิธีการต่อรองราคาร่วมกันสามารถซื้อได้ ราคาต่ำกว่าการซื้อโดยวิธีปกติ แต่การซื้อโดยวิธีการต่อรองราคาร่วมกันในบางจังหวัดได้ราคายาสูงกว่าการซื้อ โดยวิธีปกติ 6.ผู้วิจัยเสนอว่าการจัดและพัฒนาระบบฐานข้อมูลราคายาจะเป็นประโยชน์ คือ เพื่อให้โรงพยาบาลมีข้อมูลมากขึ้นในการตัดสินใจซื้อยา และยังสามารถพัฒนาเป็นระบบการกำกับการจัดซื้อยาของโรงพยาบาลต่าง ๆ และพฤติกรรมการกำหนดราคายาของแต่ละบริษัท โดยใช้ดัชนีการวิเคราะห์ อย่างง่าย ๆ