บทคัดย่อ
ข้อมูลทางวิชาการการแจ้งส่วนประกอบผลิตภัณฑ์บุหรี่ซิกาแรตตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตรวจสอบส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ยาสูบที่จะสามารถใช้ปกป้องสุขภาพประชาชนโดย 1) ควบคุมชนิดและปริมาณสารเคมีที่อันตรายที่ผสมปนอยู่ในผลิตภัณฑ์ยาสูบ 2) ป้องกันมิให้มีการเพิ่มจำนวนสารเคมีที่มีอันตรายใหม่ ๆ ผสมปนในผลิตภัณฑ์ยาสูบ โดยการกำหนดไว้เป็นกฏกระทรวงตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการบริโภคยาสูบ พ.ศ.2535 กฏกระทรวงนี้ช่วยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธราณสุขสามารถกำหนดปรับมาตรฐานบุหรี่ได้เป็นระยะ ๆ เป็นการตัดรายการส่วนประกอบที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งออกไปได้จำนวนมากในระยะยาวมาตรการควรกำหนดเป็นกฏกระทรวงได้แก่มาตรการที่สามารถให้กระทรวงสาธารณสุข ตรวจสอบ ทดสอบและควบคุมสารพิษและส่วนประกอบที่เป็นอันตรายได้ ในทางปฏิบัติวิธีการแจ้งสมควรให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าแจังรายการส่วนประกอบ แยกเป็น สารพิษจากการเผาไหม้ ได้แก่ ทาร์นิโคติน และคาร์บอนมอนอกไซด์ สารปรุงแต่งกลิ่นรส โดยทั้งสองส่วนแยกแจ้งเป็นรายการของผลิตภัณฑ์แต่ละยี่ห้อ ข้อเสนอนี้ได้เสนอทางเลือกสามทางสำหรับการกำหนดระดับรายละเอียดของข้อมูล สารปรุงแต่งกลิ่นรสที่ต้องแจ้ง เมื่อได้รับแจ้งแล้วกระทรวงสาธารณสุขสมควรเปิดเผยข้อมูลส่วนประกอบทั้งหมดแก่นักวิทยาศาสตร์และสาธาณชน การแจ้งนี้กำหนดเฉพาะบุหรี่ซิกาแรตอันเป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบส่วนใหญ่ที่จำหน่าย อยู่ในท้องตลาด การแจ้งส่วนประกอบมีความจำเป็นเนื่องจากผลิตภัณฑ์ยาสูบมีสารต่าง ๆ ประกอบอยู่ไม่น้อยกว่า 4,000 ชนิด สารบางชนิดมีฤทธิ์ทำลายหัวใจ ปอด หลอดลม ตับ ตับอ่อน สมอง เส้นโลหิต ฯลฯ ในจำนวนนี้นับเป็นสารก่อมะเร็ง (Carcinogens)ถึงกว่า 40 สาร อีกทั้งยังมีสารเคมีจำนวนมากที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถศึกษาถึงความปลอดภัยสารเคมีทั้งหมดนี้สามารถก่ออันตรายแก่ทั้งผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่ที่อยู่ใกล้เคียง การแจ้งส่วนประกอบตามหลักเกณฑ์ที่เสนอนี้ถือได้ว่าสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เพื่อเปิดเผยภัยอันตรายจากผลิตภัณฑ์ ยาสูบและสอดคล้องกับแนวโน้มการปรับปรุงกฏหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบนานาชาติ รวมทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งส่งออกยาสูบจำนวนมากและธุรกิจยาสูบ เคยมี อิทธิพลอย่างสูง รัฐสภาและรัฐบาลสหรัฐฯ ก็กำลังปรับปรุงมาตรการควบคุมส่วนประกอบในแนวทางเดียวกับข้อเสนอฉบับนี้