บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าใช้จ่าย และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ และปัจจัยที่มีอิทธิพล เพื่อประมาณความสูญเสียทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่สูญเสียไปของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ วิธีการศึกษา: ศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (analytic cross-sectional study) ใน 5 พื้นที่ของประเทศไทย คือภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดขอนแก่น ภาคตะวันออกที่จังหวัดชลบุรี ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา กรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑล ประชากรที่ศึกษาเป็นผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหลอดเลือดหัวใจ ทั้งเพศชายและหญิง และมีประวัติสูบบุหรี่ติดต่อกันมาอย่างน้อย 5 ปี (กรณีศึกษาโรคหลอดเลือดหัวใจ) หรือ 10 ปี (กรณีศึกษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง) ซึ่งมาติดตามการรักษาในโรงพยาบาลที่ทำการศึกษา (ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน) ในช่วงเวลาที่ทำการรวบรวมข้อมูล กลุ่มอ้างอิงเป็นคนปกติทั่วไปที่มาโรงพยาบาลในฐานะญาติผู้ป่วย ทั้งเพศชายและหญิงที่มีสุขภาพแข็งแรงไม่มีโรคเรื้อรัง ไม่พิการ และไม่เจ็บป่วยด้วยโรคใดๆ ในระยะสองสัปดาห์ก่อนรวบรวมข้อมูล มีอายุใกล้เคียงกับกลุ่มผู้ป่วย และมีภูมิลำเนา (ภาค) เดียวกับกลุ่มผู้ป่วย รวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายน ถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2541 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึก ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลลักษณะประชากร เศรษฐกิจและสังคม การสูบบุหรี่และการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ศึกษา ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งได้แก่ ค่าใช้จ่ายทางตรงที่เกี่ยวกับการแพทย์ ค่าใช้จ่ายทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์ และค่าใช้จ่ายทางอ้อม ใช้แบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization Quality of Life BREF: WHOQOL-BREF) ในการรวบรวมข้อมูลคุณภาพชีวิต นำเสนอข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง (กลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มอ้างอิง) โดยใช้ chi-squared test หรือ exact probability test, t-test, one-way ANOVA, two-way ANOVA, Mann-Whitney-U test หรือ Kruskall-Wallis test วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและคุณภาพชีวิตที่สูญเสียไปจากการเจ็บป่วย เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายของกลุ่มอ้างอิง โดยใช้ t-test สำหรับการวิเคราะห์ตัวแปรเดี่ยว และ multiple regression สำหรับการวิเคราะห์ตัวแปรพหุเพื่อปรับความแตกต่างของตัวแปรภายนอก ผลการศึกษา: ค่าใช้จ่ายรวมของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเฉลี่ย 7,656.72 บาทต่อปี มีแนวโน้มคงที่ตลอดการเจ็บป่วย ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายตามอายุที่เพิ่มขึ้น ระยะเวลาการเจ็บป่วยที่นานขึ้น หรือเมื่อโรคมีระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้น ภายหลังปรับความแตกต่างของเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้แล้ว ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ากลุ่มอ้างอิง เฉลี่ยปีละ 7,520.65 บาท หรือเป็น 431 เท่าของกลุ่มอ้างอิง ค่าใช้จ่ายที่ผู้ป่วยสูญเสียไปจากการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังทั่วประเทศ เป็นเงิน 4,114 ล้านบาทต่อปี เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายในส่วนที่รัฐต้องเสียไปในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยอีก 8,297 ล้านบาทต่อปี เป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งสิ้น 12,411 ล้านบาทต่อปี หรือเท่ากับร้อยละ 0.27 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือเท่ากับร้อยละ 4.40 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งหมดของประเทศในปี พ.ศ. 2541 ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง คุณภาพชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยต่ำกว่ากลุ่มอ้างอิงทุกด้าน ยกเว้นด้านสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมีแนวโน้มลดลงเมื่อระดับความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไม่เปลี่ยนแปลงไปตามอายุ และระยะเวลาการเจ็บป่วย ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เริ่มเป็นโรคในช่วงอายุน้อยกว่า 50 ปี สูญเสียจำนวนปีของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีสะสมเฉลี่ย 11.07 ปี ค่าใช้จ่ายรวมของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉลี่ย 17,746.44 บาทต่อปี มีแนวโน้มลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น และเมื่อระยะเวลาการเจ็บป่วยนานขึ้น แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อระดับความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจวายมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ากลุ่มอาการอื่นๆ ภายหลังปรับความแตกต่างของเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้แล้ว ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ากลุ่มอ้างอิง เฉลี่ยปีละ 14,767.06 บาท หรือเป็น 164 เท่าของกลุ่มอ้างอิง ค่าใช้จ่ายที่ผู้ป่วยสูญเสียไปจากการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจทั่วประเทศ เป็นเงิน 840 ล้านบาทต่อปี เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายในส่วนที่รัฐต้องเสียไปในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยอีก 14,060 ล้านบาทต่อปี เป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งสิ้น 14,900 ล้านบาทต่อปี หรือเท่ากับร้อยละ 0.32 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือเท่ากับร้อยละ 5.28 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งหมดของประเทศในปี พ.ศ. 2541 ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดีและปานกลาง คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยต่ำกว่ากลุ่มอ้างอิงทุกด้าน ยกเว้นด้านสิ่งแวดล้อมรายข้อเกี่ยวกับความเพียงพอด้านการเงิน การได้รับข้อมูลข่าวสาร การได้รับการบริการด้านสุขภาพและความสะดวกในการเดินทาง คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมีแนวโน้มลดลงเมื่อระดับความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น แต่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลาการเจ็บป่วย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่เริ่มเป็นโรคในช่วงอายุน้อยกว่า 50 ปี สูญเสียจำนวนปีของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีสะสมเฉลี่ย 9.19 ปี วิจารณ์และข้อเสนอแนะ: ค่าใช้จ่ายทางตรงที่เกี่ยวกับการแพทย์ เป็นค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด การลดค่าบริการทางการแพทย์อาจช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายโดยรวมของผู้ป่วยลงได้ ค่าใช้จ่ายบางส่วนเกิดจากการเดินทางไปรับการตรวจรักษาในสถานพยาบาลที่ห่างไกลภูมิลำเนา การเพิ่มศักยภาพของโรงพยาบาลท้องถิ่น ให้สามารถวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคหลอดเลือดหัวใจให้มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของผู้ป่วยมากขึ้น อาจช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเดินทางมารับการตรวจและรักษาในโรงพยาบาลใหญ่ๆ หรือในกรุงเทพมหานครได้ ค่าใช้จ่ายทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์ส่วนใหญ่เป็นค่าเดินทาง ค่าอาหาร และค่าสูญเสียรายได้จากการทำงานของญาติผู้ป่วย จึงควรพิจารณาระบบการส่งต่อผู้ป่วยกลับไปดูแลรักษายังโรงพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลง เนื่องจากคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลงตามความรุนแรงของโรคที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นเพื่อชะลอการลดลงของคุณภาพชีวิต จึงควรพิจารณาจัดหาโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพของปอด หัวใจ และหลอดเลือดให้ผู้ป่วย ที่สามารถกลับไปทำต่อเนื่องได้ที่บ้าน
บทคัดย่อ
Expenditure and Quality of Life Lost Due to Diseases Caused by Smoking Objective: To evaluate the expense and quality of life of patients with obstructive pulmonary disease and coronary heart disease, their associated factors, and to estimate the economic and quality of life lost among these patients. Methods: Analytic cross-sectional study was conducted in 5 regions all over Thailand, Chiang Mai representing the northern region, Khonkaen the north-eastern, Chonburi the eastern region, Songkhla the southern region, and Bangkok including the outer skirt. The study population included male and female patients with clinical diagnoses of obstructive pulmonary disease or coronary heart disease, who self reportedly had smoked for at least 5 years (in the case of coronary heart disease) or 10 years (in the case of obstructive pulmonary disease), and who attended the hospitals as the out-patients or being admitted as the in-patients during the study period. The comparison group comprised of the general people or persons who accompanied patients to hospitals, who did not have any chronic diseases or disabilities. They were matched with the patients according to gender, age and place of residency. Data were collected between June and December 1998, by using a standard questionnaire and a record form containing questions on personal and sociodemographic characteristics, history of smoking and of the disease, direct and indirect medical costs and indirect costs. The WHOQOL-BREF quality of life assessing instrument was used to measure the subject’s quality of life. Data were presented with descriptive statistics. The patient’s expense and the quality of life lost compared to the compariron group were analysed by chi-squared test, exact probability test, t-test, one-way ANOVA, two-way ANOVA, Mann-Whitney-U test or Kruskall-Wallis test for univariable analysis. The multiple regression was used in the multivariable analysis to adjust for extraneous variables. Results: The total expenditure of treatment associated with chronic obstructive pulmonary disease were estimated to be 7,656.72 Baht per year per patient. There were no trends of change according to age, duration of illness, or disease severity. After adjusting for gender, age, education, occupation and income differences, patients with chronic obstructive pulmonary disease were paying 7,520.65 Baht per year more than the comparison subjects, or 431 times as much. The costs were estimated to be 4,114 million Baht per year for the patients all over the country. When added to 8,297 million Baht per year paid by the civil sectors, the total costs were 12,411 million Baht per year, which approximated 0.27% of the gross national product, or 4.40% of the national expenditure on health in 1998. The quality of life among patients with chronic obstructive pulmonary diease scored fair, and was poorer than that of the comparison subjects in every way, except for the environmental domain. The quality of life worsened according to the disease severity, but was unchanged according to age and the duration of illness. Patients who became ill at the age of below 50 years were estimated to loss 11.07 years of quality adjusted life throughout their illness. The total expenditure of treatment associated with coronary heart disease were estimated to be 17,746.44 Baht per year per patient. There were trends of decreasing according to age and the duration of illness, but increasing according to the disease severity, and in patients classified as having a heart failure. After adjusting for gender, age, education, occupation and income differences, patients with chronic obstructive pulmonary disease were paying 14,767.06 Baht per year more than the comparison subjects, or 164 times as much. The costs were estimated to be 840 million Baht per year for the patients all over the country. When added to 14,060 million Baht per year paid by the civil sectors, the total costs were 14,900 million Baht per year, which approximated 0.32% of the gross national product, or 5.28% of the national expenditure on health in 1998. The quality of life among patients with coronary heart disease scored good and fair, and was poorer than that of the comparison subjects in every way, except for the environmental domain, in particular items related to income adequacy, extense of information and health service received, and travel convenience. The quality of life worsened according to the disease severity, but improved according to age, and was unchanged according to the duration of illness. Patients who became ill at the age of below 50 years were estimated to loss 9.19 years of quality adjusted life throughout their illness. Discussion: The direct medical costs of treatment were the major component of the total expenditure. Decreasing the cost of medical service should therefore, lessen the economic burden of these patients. Some of the expense were used for travelling in the seek of treatment in distant localities. Increasing the diagnostic and treatment capacity of the local hospitals to meet with the standard and with the patients’ acceptance should reduce this portion of expense, through the decrease in the number of patients seeking health care in hospitals located in large cities, including Bangkok. The direct non medical costs mostly comprised of travelling and food expenditure and the lost of income of persons accompanying the patients. By referring patients back to their local hospitals, these cost should be reducible. The patient’s quality of life worsened according to the disease severity. Rehabilitation programme which has an impact on the patients’ cardiac, pulmonary and vascular function, and which is manageable at domestic level, should be considered in order to decelerate the above mentioned worsening quality of life.