บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลปากคาด จังหวัดหนองคาย ซึ่งปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา หาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาแสดงว่าเจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 148.76) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทุกด้านเจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ด้านนโยบายและการบริหารงาน (ค่าเฉลี่ย = 23.93) ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ (ค่าเฉลี่ย = 20.9) ด้านการให้บริการ (ค่าเฉลี่ย = 17.26) ด้านความเป็นอิสระในการทำงาน (ค่าเฉลี่ย = 13.03) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและหน่วยงาน (ค่าเฉลี่ย = 18.05) ด้านภาระหน้าที่รับผิดชอบ (ค่าเฉลี่ย = 20.83) ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่ง (ค่าเฉลี่ย = 14.98) ด้านสภาพการทำงาน (ค่าเฉลี่ย = 19.75) ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาในครั้งนี้ คือ ควรให้ความสำคัญในการให้ค่าตอบแทนและการจัดสวัสดิการเพื่อเพิ่มขวัญกำลังใจและสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้กับบุคลากร ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรได้มีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเพิ่มวิทยฐานะและพัฒนาบุคลากรในองค์กร
บทคัดย่อ
The purpose of this research was to study the levels of job satisfaction of Pakkhad
Hospital staff, Nongkhai Province, with the policy on universal coverage of health insurance.
The population comprised 80 staff who had been working at least one year. The
data were collected by questionnaires. Descriptive statistics (percentage, mean, standard
deviation) were used in data analysis. The result showed that the job satisfaction of the
staff, with regard to the universal coverage of health insurance policy, was at a moderate
level. Job satisfaction with regard to responsibility in work, satisfaction with policy and
admi-nistration, compensation and fringe benefits, working freedom in health services,
interpersonal relations, position advancement and working conditions was at a moderate
level.
Based on this research, it is suggested that the compensation and fringe benefits of
staff should be improved and health personnel should be supported in continuing their
studies so as to improve their academic status. For this, they could be better equipped and
become a greater help as human resources of the department for the development of the
organization.