dc.contributor.author | ดวงพร คำนูณวัฒน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Duangporn Kumnoonwan | en_US |
dc.contributor.author | นิยะนันท์ สำเภาเงิน | th_TH |
dc.contributor.author | สุนิดา ศิวปฐมชัย | th_TH |
dc.contributor.author | Niyanan Sampao-ngern | en_US |
dc.contributor.author | Sunida Siwapathomchai | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:22:29Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:48:27Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:22:29Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:48:27Z | |
dc.date.issued | 2550 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1830 | en_US |
dc.description | ชื่อหน้าปก: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยและพัฒนาการสื่อสารสุขภาพของท้องถิ่นและพัฒนาการสื่อสารสุขภาพของท้องถิ่น | en_US |
dc.description.abstract | สุขภาพเกี่ยวโยงกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่และมีลักษณะเฉพาะเมื่อพิจารณาในมิติของพื้นที่ การสื่อสารสุขภาพที่ได้ผลควรเป็นการสื่อสารที่มีลักษณะเฉพาะ(พื้นที่)เช่นกัน โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาและศึกษาผู้สนใจหรือผู้มีศักยภาพเป็นนักสื่อสารสุขภาพ หรือ นสส. เสริมสร้างศักยภาพการทำงานสื่อสารสุขภาพ และศึกษาแนวทางดำเนินงานสื่อสารสุขภาพของท้องถิ่น โดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย รวบรวมข้อมูลผู้ปฏิบัติงานสื่อสารสุขภาพ คัดกรองผู้ต้องการเป็น นสส. เสริมศักยภาพให้แก่ นสส. ติดตามการปฏิบัติงาน และการสร้างแนวทางการดำเนินงานสื่อสารสุขภาพของจังหวัด ตลอดจนสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในงานของกลุ่มผู้ให้การสนับสนุนงานสื่อสารสุขภาพ ดำเนินงานวิจัยในจังหวัดแพร่และกาญจนบุรี ผลการวิจัย นสส. มาจากภาคสื่อมวลชน หน่วยงานสุขภาพ สถาบันการศึกษา และประชาคมสุขภาพ จำนวน 100 คน (แพร่ 54 คน และ กาญจนบุรี 46 คน) เป็นชายและหญิงจำนวนใกล้เคียงกัน อายุระหว่าง 35-54 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่มาจากสายประชาสังคม ทำงานสื่อสารสุขภาพเป็นงานรอง ส่วนใหญ่สื่อสารผ่านสื่อเสียง ได้แก่ หอกระจายข่าว/เสียงตามสาย และ วิทยุชุมชน สนใจประเด็นสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมาก นิยมใช้ข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ รองลงมาคือ แหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคล ปัญหาในการทำงานคือ ความไม่พร้อมด้านความรู้/ทักษะการสื่อสาร ข้อมูล และแหล่งข้อมูล สำหรับกลุ่มผู้สนับสนุนการสื่อสารสุขภาพ ประกอบด้วยผู้บริหารและผู้นำจาก 3 ภาคส่วน ได้แก่ องค์กรสุขภาพ (ทั้งภาครัฐและเอกชน) องค์กรสื่อมวลชนท้องถิ่นและแกนนำประชาสังคมสุขภาพ มีจำนวนทั้งสิ้น 181 คน (แพร่ 81 คน และ กาญจนบุรี 100 คน) รับรู้ ร่วมให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการกำหนดแนวทางการดำเนินงานสื่อสารสุขภาพของจังหวัด ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของนสส. ทำให้ได้กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพ (จังหวัดละ 5 กิจกรรม) ที่ตรงกับปัญหาและความต้องการ รวมทั้งนสส. ยังได้เรียนรู้วิธีการพัฒนางานร่วมกัน ตั้งแต่การสำรวจ วิเคราะห์ และกำหนดวิธีการแก้ปัญหา นสส. มีความต้องการเสริมศักยภาพจำนวนมากและหลากหลาย สะท้อนถึงความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเอง กิจกรรมที่ได้รับความสนใจสูงคือ การเสริมศักยภาพด้านการพูด ซึ่งเป็นการพูดผ่านสื่อเสียงและการพูดในที่สาธารณะ สำหรับแนวทางดำเนินงานสื่อสารสุขภาพของท้องถิ่นแบ่งออกเป็น นสส. และกลไกสนับสนุน โดย นสส. ควรมีบทบาทร่วมสร้างเสริม เฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ปัญหาสุขภาพของคนในท้องถิ่น เป็นสื่อกลางข้อมูลสุขภาพที่คนท้องถิ่นสามารถเข้าถึงได้สะดวกและหนุนเสริมงานของภาครัฐ นสส.ควรมีใจรัก ทัศนคติที่ดีต่องานและชุมชน จิตสาธารณะ มนุษยสัมพันธ์ เชื่อมั่นในตนเอง ไหวพริบ ความคิดริเริ่ม สามารถจัดระบบความคิด ทักษะการสื่อสาร พัฒนาตนเองตลอดเวลา และปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างด้านสุขภาพ ทำงานด้วยการสำรวจวิเคราะห์ข้อมูล วางแผน และจัดกิจกรรมโดยใช้นวัตกรรม ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ มุ่งมั่น และมีจริยธรรม สำหรับกลไกสนับสนุน หน่วยงานและบุคคลผู้เกี่ยวข้องจากหน่วยงานสุขภาพ สื่อมวลชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ร้านค้า ประชาชน และแหล่งทุนจากส่วนกลาง สนับสนุน นสส. ให้มีความรู้ทั้งในด้านการสื่อสารและสุขภาพอย่างจริงจังและต่อเนื่อง สนับสนุนข้อมูลด้านสุขภาพรวมถึงภูมิปัญญาด้านสุขภาพของท้องถิ่นที่เชื่อถือได้และทันเหตุการณ์ มีระบบการจัดเก็บและการให้บริการข้อมูล สนับสนุนให้มีโอกาสและพื้นที่การสื่อสารสู่ท้องถิ่นอยู่เสมอ มีการจัดตั้งเครือข่าย ประกอบด้วย นสส. ที่มีลักษณะหลากหลาย มีการจัดการเครือข่ายอย่างเป็นระบบ มีคณะทำงาน มีการติดต่อสื่อสารอย่างต่อเนื่อง สร้างแรงจูงใจในการทำงาน จัดให้มีการเสริมความรู้ให้แก่กันแบบพี่สอนน้อง มีแผนการขับเคลื่อนงานที่ชัดเจน มีการขยายเครือข่าย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายอื่น รวมทั้งได้รับการสนับสนุนสถานที่ทำงานและงบประมาณ การที่ นสส. มีจิตเป็นสาธารณะ มีทัศนคติที่ดี เป็นคนในพื้นที่และมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง ทำให้พื้นที่ศึกษาทั้งสองมีต้นทุนที่ดีในการดำเนินงานสื่อสารสุขภาพ การรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง การได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสม และการได้รับการยอมรับจากคนในพื้นที่จะเสริมพลังให้แก่ นสส. ได้ ประการสำคัญ นสส. ควรปฏิบัติงานโดยให้คนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม อีกทั้งสื่อสารโดยมีคนท้องถิ่นเป็นกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับท้องถิ่น และ รูปแบบการนำเสนอสอดคล้องกับความถนัด ความต้องการและวิถีการดำเนินชีวิตของคนท้องถิ่น | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.description.sponsorship | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Health Communication Systems | en_US |
dc.subject | Health Behavior | en_US |
dc.subject | ระบบสื่อสารสุขภาพ | en_US |
dc.subject | กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) | th_TH |
dc.title | วิจัยและพัฒนาการสื่อสารสุขภาพของท้องถิ่น | th_TH |
dc.title.alternative | Research and development project on local health communication | en_US |
dc.identifier.callno | WA590 ด211ว 2550 | en_US |
dc.identifier.contactno | 48ข049-1 | en_US |
dc.subject.keyword | Health Communication | en_US |
dc.subject.keyword | Local | en_US |
dc.subject.keyword | Healthcare Community | en_US |
dc.subject.keyword | การสื่อสารสุขภาพ | en_US |
dc.subject.keyword | ท้องถิ่น | en_US |
dc.subject.keyword | นักสื่อสารสุขภาพ | en_US |
.custom.citation | ดวงพร คำนูณวัฒน์, Duangporn Kumnoonwan, นิยะนันท์ สำเภาเงิน, สุนิดา ศิวปฐมชัย, Niyanan Sampao-ngern and Sunida Siwapathomchai. "วิจัยและพัฒนาการสื่อสารสุขภาพของท้องถิ่น." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1830">http://hdl.handle.net/11228/1830</a>. | |
.custom.total_download | 230 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 10 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |