บทคัดย่อ
ภาวะแทรกซ้อนทางตารุนแรงพบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะจอตาเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารักษาที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2550 จำนวน 763 ราย (ร้อยละ 86.31 ของผู้ป่วยทั้งหมด) โดยการตรวจถ่ายภาพจอตา และแปลผลภาพโดยจักษุแพทย์เชี่ยวชาญด้านจอตา และทำการตรวจเพิ่มเติมในกรณีที่ไม่สามารถวินิจฉัยจากภาพถ่ายได้ต้องพบจักษุแพทย์ 87 ราย (ร้อยละ 11.40) เพื่อตรวจเพิ่มเติม จากการตรวจพบผู้ป่วยภาวะจอตาเสื่อมเหตุเบาหวานชนิดไม่งอกเจริญ 121 ราย (ร้อยละ 15.89) ชนิดงอกเจริญ 7 ราย (ร้อยละ 0.92) ต้อหิน 15 ราย (ร้อยละ 1397) ต้อกระจกคนอายุน้อย 44 ราย (ร้อยละ 5.77) และต้อกระจกผู้สูงอายุ 156 ราย (ร้อยละ 20.45) จากการศึกษาได้พบภาวะจอตาเสื่อมเหตุเบาหวานในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตั้งแต่ปีแรกๆ ของการวินิจฉัย และจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับจำนวนปีที่เพิ่มขึ้นของการเป็นโรคเบาหวานและการควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี เนื่องจากการถ่ายภาพจอตาด้วยกล้องถ่ายภาพก้นตา สามารถทำได้ที่โรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาลที่ไม่มีจักษุแพทย์ ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางตามากขึ้นเพราะสะดวกกว่าการส่องตรวจด้วยกล้องจักษุทรรศน์โดยตรง ที่ไม่ต้องส่งผู้ป่วยไปตรวจกับจักษุแพทย์ แต่ส่งภาพถ่ายไปแทน จึงสามารถลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องส่งให้จักษุแพทย์ประเมิน
บทคัดย่อ
Serious complications of the eyes often occur in diabetic patients. This research was
aimed at studying diabetes retinopathy (DR) in type 2 diabetes patients who were registered
with the diabetic clinic of Thaluang Hospital, Lop Buri Province, using pictures
from a fundus camera. All pictures from this camera were interpreted by an ophthalmologist.
In addition, if some cases could not be diagnosed by the pictures taken, these
cases were examined by the ophthalmologist directly. Out of 763 type 2 diabetic patients
(86.31% of all the diabetic patients), 87 patients (11.40%) had to be examined by the ophthalmologist.
The results of this examination revealed that there were 121 cases of non-proliferative
diabetic retinopathy (15.89%); seven cases of proliferative diabetic retinophathy (0.92%); 15 cases of glaucoma (1.97%); 44 cases of presenile cataract (5.77%); and 156 cases
of senile cataract (20.45%).
The results of this study showed that DR could be found in the early years of diagnosis
as type 2 diabetic patients. The percentage of DR increased in relation to the number
of years after the patients were diagnosed as diabetic. Screening DR by examining pictures
from a fundus camera is appropriate for community hospitals and hospitals that
have no ophthalmologist because it could be performed in these hospitals and sent to the
ophthalmologist for diagnosing later. Therefore, using pictures from the fundus camera
to search for DR in diabetic patients would decrease a large number of patients who
should be examined directly by ophthalmologists.