บทคัดย่อ
แบบแผนการระบาดของโรคเอดส์ในประเทศไทยที่การแพร่กระจายของโรคเป็นไปโดยผ่านการร่วมเพศ/มีเพศสัมพันธ์ ทำให้แนวนโยบายเอดส์เกี่ยวข้องกับการจัดการเรื่องเพศของคนในสังคม ซึ่งมาตรการหลักที่กระทำอย่างต่อเนื่องเป็นเรื่องของการพยายามทำให้คนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้อยู่ในกรอบเรื่องเพศ พฤติกรรมและวิถีทางเพศที่ถูกต้องเหมาะสม โดยจำกัดอยู่ในความสัมพันธ์ชายหญิงในสถาบันการแต่งงานแบบผัวเดียวเมียเดียวถูกมองว่าเป็นรูปแบบสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ แม้ว่าการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับเอดส์จะทำให้คนในสังคมตระหนักและหวาดกลัวภัยอันตรายของโรคเอดส์ และมีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ถูกจัดว่าเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แต่รูปแบบของเรื่องเพศนอกสถาบันการแต่งงานก็ยังคงอยู่และได้มีการเปลี่ยนลักษณะไป กลุ่มคนที่ถูกจัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงก็เปลี่ยนไปด้วย นโยบายเอดส์ของรัฐไทยได้เป็นส่วนหนึ่งของการเมืองเรื่องเพศที่สะท้อนความหลากหลายและไม่เท่าเทียมกัน และกระทบกับความสามารถของคนในการควบคุมหรือเลือกวิถีทางเพศของตน รวมทั้งการป้องกันตนเองจากรูปแบบเรื่องเพศที่ไม่ต้องการหรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ในขณะเดียวกันประเด็นเอดส์ก็ได้เป็นเวทีสำหรับการโต้เถียงต่อรองเรื่องเพศของคนเหลายกลุ่มไปด้วยพร้อมกัน มิติเรื่องเพศของเอดส์ทำให้ได้มีการไตร่ตรอง การวิพากษ์และการเสนอแนวทางที่ นโยบายเรื่องเอดส์จึงน่าจะสะท้อนและเป็นเวทีของการต่อรองของกรอบที่หลากหลาย ยืดหยุ่นต่อความแตกต่างและเปิดต่อความเห็นและวิถีที่ขัดแย้ง รวมทั้งการใคร่ครวญถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมเพื่อจัดการกับความอยุติธรรมที่สะท้อนในแบบแผนการระบาดของเอดส์
บทคัดย่อ
The spread of AIDS epidemic in Thai society through some forms of sexual contact led to the policy that has been focusing on changing sexual behavior of people. Certain forms of behavior, such as teen and commercial sex, have been classified as highly risky. The policy relies on the measures to convince or force people to contain their sexual conduct in monogamous marriage. Although such measures succeeded in raising public awareness about AIDS, sex outside marriage has continued and new high-risk groups emerged. People in Thai society seem to resist the attempt of the state to discipline their sexual behavior. Based firmly on dominant system of belief about sexuality, policy on AIDS reflects and perpetuates sexual and gender inequality which has been accounting for social vulnerability to contact the HIV virus of various groups of people. The policy has been a mechanism to control sexual practices of the people. The policy process on AIDS issue has also been a site of contestation of many groups with different sexual beliefs. Policy on AIDS has been affected, as well as a part of, sexual politics that people negotiate and resist the dominant version of sexuality in Thai society.