• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การจัดระบบการรับภารกิจการกระจายอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระบบบริการสาธารณสุขของเทศบาลตำบลปากแพรก ทุ่งสง

ปริวรรต อุดมศักดิ์; Pariwat Udomsak;
วันที่: 2544
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาในเชิงคุณภาพโดยการประชาพิจารณ์กลุ่ม (Group Think) เพื่อระดมความคิดเห็นจากกลุ่มต่างๆ จำนวน 6 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 1,350 คน ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 ผู้เกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณสุข อ.ทุ่งสง จำนวน 100 คน ครั้งที่ 2 ประชาชนนอกเขตเทศบาลตำบลปากแพรก จำนวน 500 คน ครั้งที่ 3 ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลปากแพรก จำนวน 200 คน ครั้งที่ 4 ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลปากแพรก จำนวน 250 คน ครั้งที่ 5 อาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลตำบลปากแพรก จำนวน 150 คน ครั้งที่ 6 ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ชมรม สมาคม สถาบันการศึกษา จำนวน 150 คน โดยใช้วิธีการจดบันทึกความคิดจากการระดมความคิดลงบนแผนที่ความคิด (Mind Map) และจากการศึกษาในเชิงปริมาณเพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนในเขตและนอกเขตเทศบาลในเรื่องการจัดระบบบริการสาธารณสุขโดยใช้รูปแบบกองทุนประกันสุขภาพ จำนวน 87 คน (จากแบบสอบถามจำนวน 100 ชุด รับคืน 87 ชุด คิดเป็น 87%) ผลการศึกษาพบว่า ผลการประชาพิจารณ์กลุ่มระดมความคิดเห็น (Group Think) ทั้ง 6 ครั้ง มีความเห็นสอดคล้องกันทุกกลุ่ม คือการรับภารกิจการบริการด้านสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเน้นให้เครือข่ายส่วนท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ประชาสังคมและรัฐส่วนภูมิภาค บริหารจัดการระบบบริการสาธารณสุขทั้งระบบร่วมกัน โดยใช้กลไกกองทุนประกันสุขภาพเป็นเครื่องมือในการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนทุกคน และการจ่ายให้กองทุนฯ ตามอัตภาพ เช่น มี 100 บาทรักษาได้ทุกโรค หรือไม่มีเลยก็สามารถรักษาได้ทุกโรคเช่นกัน ในส่วนของบุคลากรทางสาธารณสุขมีความเห็นว่า ส่วนท้องถิ่นควรเน้นการให้บริการเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการส่งต่อผู้ป่วยไปก่อน ส่วนการรักษาพยาบาลให้คงระบบเดิมไว้ โดยบริหารจัดการด้วยกรรมการบริหารของกองทุนประกันสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย พหุภาคีภาพ ซึ่งผลการศึกษาความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องกองทุนประกันสุขภาพทั้งในเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม และเชิงคุณภาพโดยใช้การประชาพิจารณ์กลุ่มระดมความคิด (Group Think) ผลการศึกษาออกมาสอดคล้องกันว่า เห็นด้วยกับการใช้กองทุนประกันสุขภาพเป็นกลไกเครื่องมือในการดำเนินการ แต่ยังไม่มั่นใจในหลักเกณฑ์มาตรฐานของกองทุนประกันสุขภาพ ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการกองทุนที่มีประสิทธิภาพ ต้องการให้มีการปฏิบัติในพื้นที่จริง ข้อเสนอแนะ 1. การกระจายอำนาจระบบการบริการสาธารณสุข ต้องดำเนินการถ่ายโอนภารกิจและทรัพยากรต่างๆ ได้ทันที
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0808.pdf
ขนาด: 874.4Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 1
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 88
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2483]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV