• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

สถานการณ์ปัญหาและการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิผู้บริโภค จากการประกันสุขภาพเอกชน และปัญหาการได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค; Foundation for Consumers;
วันที่: 2542
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยสถานการณ์ปัญหาและการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิผู้บริโภค จากการประกันสุขภาพเอกชนและปัญหาการได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถการศึกษาสถานการณ์ปัญหาการละเมิดสิทธิผู้บริโภคจากการทำประกันสุขภาพเอกชนและการประกันสุขภาพตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ดำเนินการโดยการสืบค้นปัญหาจากผู้บริโภคจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดจนสัมภาษณ์เชิงลึกกรณีศึกษาจำนวน 30 กรณี ผลการศึกษาในส่วนการละเมิดสิทธิผู้บริโภคจากการทำประกันสุขภาพเอกชน พบว่าผู้บริโภคประสบปัญหา บริษัทประกันภัยปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนมากที่สุด ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากตัวแทนประกันที่ไม่มีจรรยาบรรณ แนวทางการแก้ปัญหาของผู้บริโภค คือ เรียกร้องสิทธิเพื่อให้ชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นมากที่สุด รองลงมาคือ การใช้พลังผู้บริโภคในการเลิกใช้บริการด้วยการบอกเลิกกรมธรรม์ในการทำประกันสุขภาพและฟ้องศาลเป็นมาตรการสุดท้ายถ้ากระบวนการอื่นไม่ได้ผล ข้อเสนอแนะควรมีการจัดทำบัญชีดำหรือจัดลำดับบริษัทประกันสุขภาพที่น่าเชื่อถือจัดทำราคากลางมาตรฐานในการทำประกันสุขภาพเพื่อเป็นเกณฑ์ให้ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อประกันภัย พัฒนาตัวแทนขายประกันให้มีความรับผิดชอบต่อจรรยาบรรณ ปรับปรุงสัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบในปัจจุบัน และควรมีการนำกรมธรรม์ประกันสุขภาพระยะยาวมาพิจารณา ตลอกจนมาตรการไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อพิพาทของกรมการประกันภัยให้ขยายขอบเขตไปถึงการพิจารณาลงโทษต่อบริษัทประกันหรือตัวแทนขายประกันอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้เมื่อมีการละเมิดสิทธิผู้บริโภคซ้ำซาก ในเรื่องกรมการประกันภัยควรมีการสร้างฐานข้อมูลทางด้านประกันสุขภาพเอกชนขึ้นเพื่อจะได้ติดตามความรุนแรงของปัญหาการละเมิดสิทธิได้ และสุดท้ายต้องมีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการทำประกันสุขภาพเอกชนให้กับประชาชนการศึกษาเรื่องการละเมิดสิทธิจากการประกันสุขภาพตามพระราชบัญญติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถนั้น พบว่าผู้บริโภคประสบปัญหาเรื่องบริษัทประกันภัยบ่ายเบี่ยงการจ่ายค่าเสียหายมากที่สุด โดยการขอเอกสารมากกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ซึ่งสร้างความลำบากในการปฏิบัติกับผู้เอาประกันภัยและผู้ประสบภัยเป็นอย่างมาก สาเหตุหลักคือความไม่เข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติตามพระราชบัญญติ ลำดับถัดมาคือ ประสบปัญหาการใช้บริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลซึ่งไม่ได้รับความสะดวก ทั้งเรื่องการรักษาพยาบาลและการรับโอนสิทธิจากผู้ประสบภัยเพื่อเบิกค่าเสียหาย นอกจากนี้ยังพบปัญหาช่องว่างของกฎหมายที่เปิดโอกาสให้เกิดการละเมิดสิทธิ และเช่นเดียวกับการประกันสุขภาพภาคเอกชน กลไกในการคุ้มครองสิทธิไม่มีประสิทธิภาพ สร้างภาระให้กับผู้ประสบภัย ซึ่งบางรายต้องใช้ระยะเวลาในการเรียกร้องค่าเสียหายนานถึง 12 เดือน แนวทางการแก้ไขปัญหาพบว่า กรณีศึกษาดำเนินการเรียกร้องสิทธิโดยส่วนใหญ่ต้องติดต่อเรียกร้องค่าเสียหายกับบริษัทประกันภัยหลายครั้งจึงได้รับค่าเสียหาย ถ้าไม่ประสบความสำเร็จจึงร้องเรียนต่อไปยังกรมการประกันภัยหรือประกันภัยจังหวัด แนวทางอื่นๆ ได้แก่ หลีกเลี่ยงการใช้สิทธิเปลี่ยนบริษัทประกันภัยข้อเสนอแนะ กรมการประกันภัยควรมีมาตรการที่เข้มงวดในการติดต่อตรวจสอบให้บริษัท ประกันภัยปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดและห้ามมิให้เรียกเอกสารมากกว่าที่ระบุในกฎหมาย สนับสนุนให้โรงพยาบาลมีการดำเนินการที่คล่องตัวในการเบิกค่าเสียหายแทนผู้บริโภคหรือกองทุน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งทำประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ ให้ผู้บริโภคได้รับสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติและวิธีการในการปฏิบัติตนเมื่อประสบภัยจากรถ สำหรับแนวทางในระยะยาวน่าจะต้องมีการทบทวนเพิ่มสิทธิที่นอกเหนือจากค่าเสียหาย เช่น ค่าชดเชยต่างๆ ซึ่งแม้กฎหมายมิได้ปิดโอกาสในการฟ้องร้องทางแพ่ง แต่จำนวนเงินที่จะไปเรียกร้องทางแพ่งอาจไม่คุ้มครองการดำเนินการจึงควรมีวงเงินสำหรับการชดเชยที่นอกเหนือจากค่าเสียหายที่กำหนดไว้ในกฎหมายและรัฐต้องทบทวนระบบการประกันสุขภาพสำหรับผู้ประสบภัยจากรถให้เอกชนมีส่วนช่วยเฉลี่ยความรับผิดชอบหรือไม่ ตลอดจนพัฒนาให้มีกลไกในการตรวจสอบการเสียชีวิตของผู้ประสบภัยจากรถ และการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ จากผู้ประสบภัยจากรถ บริษัทประกันภัย กรมการประกันภัยและหน่วยงานที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ได้แก่ ตำรวจ กรมการขนส่งทางบก และสถานพยาบาล
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0636.PDF
ขนาด: 3.918Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 3
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 135
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV