บทคัดย่อ
การวิจัยอนาคตระบบยาของประเทศไทย วัตถุประสงค์การวิจัย: 1) เพื่อให้ได้ฉากทัศน์อนาคตของการใช้ยาในอีก 10 ปีข้างหน้าซึ่งคาดว่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นจริง (most likely scenario) 2) ภาพอนาคตของการใช้ยาที่ปารถนาให้เกิด (most desirable scenario) 3) เพื่อวิเคราะห์ภาพการเปลี่ยนแปลงของระบบยาในมุมมองต่างๆ และเสนอแผนงานหรือนโยบายที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบในปัจจุบัน ในการเปลี่ยนแปลงปัจจัยหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์จะให้เกิด และเกื้อหนุนให้สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้น ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ซึ่งใช้เทคนิคการวิจัย คือ 1) ฉากทัศน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของการใช้ยาใน 10 ปีข้างหน้า เป็นการศึกษาวิจัยอนาคต (Future Research) โดยการใช้วิธี Focus Group Meeting ร่วมกับ Ethnographic Delphi 2) ฉากทัศน์ที่ปารถนาจะให้เกิดขึ้นของการใช้ยาใน 10 ปีข้างหน้า 3) ขั้นตอนการเสนอ Policy Recommendation เป็นการประชุมร่วมระหว่างกลุ่มนักวิจัยกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนแรก เพื่อนำมากำหนดภาพสถานการณ์การใช้ยาในอนาคตของคนไทยที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก ผลการวิจัย 1) ฉากทัศน์ของระบบยาที่มีความเป็นไปได้สูงว่าจะเกิดขึ้น คือ การอยู่ในภาวะถดถอย (Decline stage) มากที่สุด และส่งผลกระทบสูงคือระบบอุตสาหกรรมยาและระบบการควบคุมโดยภาครัฐ ในส่วนของระบบการกระจายยาและระบบการใช้ยานั้น มีการพัฒนาอย่างช้า ๆ แต่ต่อเนื่อง จึงพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบอื่น ๆ จัดอยู่ในระยะของการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น 2) ฉากทัศน์ที่ปารถนาจะให้เกิดขึ้นนั้น การที่ระบบจะมีการดำเนินไปได้อย่างดีนั้น ควรจะต้องมีโครงสร้างที่ดี กล่าวคือ ควรมีการปฏิรูประบบสาธารณสุข และระบบยาไปพร้อม ๆ กัน ทั้ง 3 ระดับ คือ System, Structure และ process 3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การวิจัยได้นำเสนอประเด็นและตัวแปรต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อให้ผู้บริหารและผู้สนใจได้ใช้เป็นเครื่องมีในการติดตามสถานการณ์ โดยข้อเสนอแนะเชิงนโยบายมีเป้าหมายเพื่อเร่งให้ฉากทัศน์ที่ต้องการเกิดขึ้นจริง และทำลายไม่ให้ฉากทัศน์ที่ไม่ต้องการได้เกิดขึ้น ฉากทัศน์ที่ปรารถนา และจะเป็นไปได้จริงต้องอาศัยความจริงจัง จริงใจของรัฐบาลในการนำนโยบายต่าง ๆ ที่ได้คิดขึ้นเพื่อนำไปแก้ปัญหา ทำให้เกิดผลได้จริง เนื่องจากการปรับระบบจะเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ หลายระดับ หลายสังกัด ดังนั้นนโยบายที่จะมีขึ้นจึงต้องเป็นนโยบายยาแห่งชาติ มิใช่นโยบายยาขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง
บทคัดย่อ
Objectives: This research was carried out to illustrate the most likely and most desirable scenarios of drug system in Thailand in the next decade. This included identification and analysis of the prominent agents of change and the suggestion of strategic plans to facilitate desirable events and the elimination of undesirable events. Methodology: It took the form of a qualitative research. Focus Group meetings, Ethnographic Delphi, and Interview In-depth techniques gathered the appropriate information. Nearly one hundred experts from the pharmaceutical sphere, including manufacturers, importers, drug stores, government regulators, non-government organization workers, drug users (professional and layman) and other related fields participated in eight Focus Group meetings in which guided imaginary and cross impact analysis techniques were used to compose the most desirable scenario. Three key resource persons with high social recognition were interviewed in order to envisage the most desirable scenario. Results: Competition, systems of control, drug-use behaviors, knowledge and the mass media were identified as the main structure of drug-use system. The pricing system has a high impact on pharmaceutical manufacturing and marketing systems. The most desirable scenario was divided into two parts as: change of environment (political system, national policy, knowledge-based society, and trend of healthcare behavior) and change of the existing drug system (perspective I: production, distribution, utilization, controlling; perspective II: product, price, place, promotion, and personnel). The manufacturing and government controlling systems would be in a stage of decline in the future, while distribution and utilization systems would be transformed in order to create a more effective situation. A group discussion was initiated to reveal the picture of the Thai drug system of the future. The most desirable scenario was illustrated in the perspectives of drug use behavior and competition of pharmaceutical market. Equity in drug accessibility, preventative drug use and integrated medicine would offer the most benefit to the entire population. Evolution of healthcare and the drug system at three levels (system, structure, and process) should be performed at the same time. Thai demand of drugs should indicate the appropriate level of drug supply in order to effectively balance demand and supply in the Thai pharmaceutical market.