• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดระบบบริการสุขภาพของชุมชน ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา

ฉัตรวรัญ องคสิงห์; Chawarun Ongsing;
วันที่: 2549
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดระบบบริการสุขภาพของชุมชนตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี จ.นครราชสีมา เกิดขึ้นเนื่องมาจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ให้ความสนใจกับการพัฒนารูปแบบระบบบริการสุขภาพของชุมชน และมีแนวคิดอย่างเปิดใจกว้างโดยไม่ยึดกรอบการจัดบริการสุขภาพในระดับต่างๆ ตามโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพของรัฐ แต่ให้โอกาสในการศึกษาถึงความต้องการจากฐานรากของชุมชนในรูปแบบระบบบริการสุขภาพที่มาจากความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง โครงการ ฯ นี้ได้ออกแบบเป็นโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ และแบ่งระยะการศึกษาและปฏิบัติการออกเป็น 3 ระยะ ในระยะที่ 1 เป็นการศึกษาวิจัยในพื้นที่เพื่อนำข้อมูลมาสังเคราะห์และประมวลเป็น “ตัวแบบ” (Model) ของการจัดระบบบริการสุขภาพ ในระยะที่ 2 คณะนักวิจัยและผู้เกี่ยวข้องจะนำตัวแบบนั้นมาทดลองดำเนินการ พร้อมกับมีการประเมิน แก้ไข ปรับเปลี่ยน จนกระทั่งถึงระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะที่วางแผนไว้สำหรับการประเมินผลและการพัฒนา สำหรับโครงการฯ ที่นำเสนอในครั้งนี้ เป็นผลงานจากการเสร็จสิ้นในระยะที่ 1 แบบแผนของระบบบริการสุขภาพชุมชน ที่หลายเวทีช่วยกันสังเคราะห์ออกมานั้น มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้ (1) ทุนทางสังคม ที่ถือเป็นบริบทเกี่ยวกระหวัดร้อยผู้คนเข้าไว้ด้วยกัน โดยชุมชนให้ความสำคัญกับคนที่มีใจ มีจุดมุ่งหมาย อุดมการณ์ร่วมกัน มีจิตสำนึกร่วมโดยเน้นไปที่ผู้นำและภาวะที่จะสามารถดูแลบริหารระบบบริการสุขภาพชุมชนนี้ได้ ที่น่าสนใจคือในทุนทางสังคมนี้ ได้รวมเรื่องห่วงโซ่ของอาหารในชุมชนเข้าไว้ด้วย (2) แบบแผนความสัมพันธ์ ทุนทางสังคมจะเกิดขึ้นและเกี่ยวร้อยกับองค์ประกอบอื่นๆ นั้นจะต้องมีแบบแผนความสัมพันธ์ที่ชุมชนประยุกต์ขึ้นมาโดยยังเรียกร้องแบบแผนในรูปแบบสังคมดั้งเดิมอยู่ แบบแผนความสัมพันธ์เหล่านั้นได้แก่ การพึ่งพาอาศัยกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การมีส่วนร่วม การอบรมศึกษาและดูงาน การบริหารจัดการ (3) การสนับสนุนการบริการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคนในชุมชนให้ความสำคัญกับหน่วยงานสาธารณสุขภาครัฐที่ ได้แก่ สาธารณสุขจังหวัด อำเภอ สถานีอนามัย, โรงพยาบาลชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล วัดและบทบาทของพระสงฆ์ สถาบันการศึกษาในท้องถิ่น และวิทยุชุมชน (4) บุคลากรในระบบที่ชุมชนเห็นว่าจำเป็นในระบบบริการได้แก่ แพทย์ พยาบาล อาสาสมัครสาธารณสุข และ หมอพื้นบ้าน โดยองค์ประกอบเหล่านี้จะต้องเชื่อมโยงกันด้วย (5) ระบบความรู้ที่ชุมชนปรารถนาเป็นผู้รับและค่อยๆ เรียนรู้การแลกเปลี่ยน การทบทวนและการสังเคราะห์ โดยระบบความรู้ที่เป็นความคิดของชุมชนควรจะประกอบด้วย คน ความรู้ ทรัพยากรในชุมชน เงินสนับสนุน วัฒนธรรมและความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยเฉพาะการจัดสร้างชุมชนไว้ในระบบความรู้ด้วย เนื่องจากคนในชุมชนเห็นว่า เยาวชนจะเป็นที่พึ่งของชุมชนและสังคม จึงเป็นทั้งผู้รับการถ่ายทอดและผู้ถ่ายทอดในรุ่นต่อๆ ไป
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1320.pdf
ขนาด: 1.102Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 1
ปีงบประมาณนี้: 10
ปีพุทธศักราชนี้: 4
รวมทั้งหมด: 417
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • ระบบบริการสุขภาพในภาวะฉุกเฉินในประเทศพัฒนา 

    อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์; Adisak Plitponkarnpim; กิ่งแก้ว อุดมชัยกุล; จิราวรรณ กล่อมเมฆ (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2544)
    ระบบบริการสุขภาพในภาวะฉุกเฉินในประเทศที่พัฒนาแล้ว มักมีจุดเริ่มต้นจากความพยายามที่ต้องการลดการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน จากนั้นการพัฒนาได้ขยายการครอบคลุมไปจนถึงการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่อยู่ภาวะฉุกเฉิน ...
  • การสังเคราะห์บทบาท และโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในบริบทของ วิชาชีพ และลักษณะของสถานบริการสุขภาพ : กรณีศึกษา ร้านส่งเสริมเภสัช 

    วราวุธ เสริมสินสิริ; Warawut Sermsinsiri (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2545)
    ร้านส่งเสริมเภสัช ตั้งอยู่เลขที่ 255/47 ถนนพหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บริเวณตลาดสดสี่มุมเมือง มีผู้คนสัญจรไปมาคับคั่ง ร้านส่งเสริมเภสัชเป็นร้านขายยาเอกชน เจ้าของรายเดียว เวลาทำการ 7.30 - 20.00 ...
  • การออกแบบระบบบริการสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้สถานการณ์ Covid-19 : กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี 

    มูหาหมัดอาลี กระโด; Muhamadalee Krado; รอซาลี สีเดะ; Rozalee Saredea; วรรณี ปาทาน; Wannee Patan (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2564-10)
    โครงการวิจัยการออกแบบระบบบริการสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้สถานการณ์ Covid-19 : กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี มีความมุ่งหวังให้บุคลากรเห็นความสำคัญของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิและสามารถปรับวิธีการทำงาน ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV