• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การวิจัยและพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิในชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนภาคใต้

อุไร หัถกิจ; Urai Hatakit;
วันที่: 2544
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในบริบทภาคใต้ของประเทศไทย พื้นที่ที่ศึกษาคือชุมชน ในอำเภอเทพา จังหวัดสงขลาและอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ศึกษาโดยการวิเคราะห์ สถานการณ์ของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในภาคใต้ สำรวจความคิดเห็น ประชุมกลุ่มและจัดเวทีระดมความคิดเห็นในกลุ่มประชาชน ผู้นำชุมชน/องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ผู้ให้บริการสุขภาพและผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้สถานการณ์ด้านสุขภาพและความต้องการด้านสุขภาพของชุมชนภาคใต้พบว่าประชาชนในพื้นที่ที่ศึกษามีปัญหาสุขภาพที่สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพของภาคใต้โดยรวม คือ การเจ็บป่วยด้วย โรคติดเชื้อ โรคเรื้อรัง การเจ็บป่วยจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ระบบสุขภาพที่ ประชาชนภาคใต้ต้องการประกอบด้วย บุคคลสุขภาพดี ชุมชนเข้มแข็ง สังคมที่เกื้อกูล ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และบริการสุขภาพของรัฐที่เท่าเทียม เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ ประชาชนมีความคิดเห็นว่าระบบบริการสุขภาพในปัจจุบันไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนได้ โดยเฉพาะบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิในชนบทที่จัดโดยรัฐ เช่น ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนและสถานีอนามัย เพราะบริการไม่ครอบคลุมความต้องการของชุมชน อุปกรณ์การแพทย์ไม่ เพียงพอ ขาดแคลนงบประมาณ ขาดแคลนบุคลากรด้านสุขภาพ สมรรถนะของผู้ให้บริการมีความจำกัด ขาดการประสานงานที่ดี ประชาชนขาดความศรัทธาในบริการ ทำให้มีการข้ามขั้นไปใช้บริการในโรงพยาบาล 2. รูปแบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่ประชาชนภาคใต้ต้องการ ควรเป็นบริการใกล้บ้านและเป็นที่พึ่งของประชาชนได้จัดให้มีครอบคลุมทุกชุมชนตามสัดส่วนของประชาชนบริการโดย หน่วยงานอิสระบริหารงานโดยคณะกรรมการที่มีองค์ประกอบเป็นพหุภาคี ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในขั้นตอนต่างๆ ของการจัดบริการสุขภาพ ร่วมเป็นเจ้าของกิจการบริการสุขภาพ โดยมีกองทุนสุขภาพชุมชนเป็นแหล่งงบประมาณสำคัญ ให้บริการครอบคลุมบริการพื้นฐานในทุกมิติ โดยเน้นงาน สร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยมากกว่าการรักษาการเจ็บป่วย ผู้ให้บริการประกอบด้วย สหวิชาชีพ โดยมีพยาบาลวิชาชีพ เจ้าพนักงานสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขและแพทย์แผนไทยเป็นบุคลากรหลัก ส่วนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกรและนักโภชนาการจะหมุนเวียนมาให้บริการที่ศูนย์ดูแลสุขภาพระดับต้น ตามความต้องการด้านสุขภาพของชุมชน 3. ข้อเสนอรูปแบบการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิที่สอดคล้องกับบริบทภาคใต้ในอนาคต 4. บทบาทและสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการปฏิบัติงานระดับปฐมภูมิ 5. ข้อเสนอต่อการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ 5.1 รัฐต้องจัดให้มีมาตรการด้านกฎหมายเพื่อให้เกิดระบบบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิที่พึง 5.2 สภาการพยาบาล กำหนดขอบเขตบทบาทและสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพทุกระดับ (ตรี โท และเอก) เพื่อปฏิบัติภารกิจในการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิอย่างชัดเจน 5.3 สถาบันการศึกษาต้องผลิตพยาบาลให้มีทักษะในการปฏิบัติงานในระดับปฐมภูมิได้ สอดคล้องกับความต้องการบริการสุขภาพในอนาคต
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0989.pdf
ขนาด: 3.624Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 8
ปีพุทธศักราชนี้: 5
รวมทั้งหมด: 573
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV