• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ประเมินผลศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร

สุพัตรา ศรีวณิชชากร; Supattra Srivanichakorn; ดวงพร เฮงบุณยพันธ์; เพ็ญจันทร์ ประดับมุข; วิไลลักษณ์ วิสาสะ; พินทุสร เหมพิสุทธิ์;
วันที่: 2538
บทคัดย่อ
โครงการศึกษาประเมินผลศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานครการศึกษาประเมินผลศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานครนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการพัฒนาศูนย์บริการสาธารณสุขในระยะต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อประเมินกระบวนการ คุณภาพ และประสิทธิภาพการบริการสาธารณสุขของศูนย์บริการสาธารณสุข 5 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชน 2 แห่ง ศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน ประเมินสภาพการเงิน ต้นทุนการให้บริการและประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการของศูนย์บริการสาธารณสุข รวมทั้งประเมินการกระจายของศูนย์ฯ ความร่วมมือและการประสานงานกับโรงพยาบาลที่ใกล้เคียง การศึกษานี้ประกอบด้วยการศึกษา ประเมินผลในมุมมองของผู้ให้บริการ มุมมองของประชาชน และต้นทุนการให้บริการ วิธีการศึกษาประกอบด้วย การศึกษาจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การประชุมผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง การเก็บข้อมูลผลงานและความคิดเห็นด้วยแบบสอบถามจากศูนย์ฯทั้ง 61 แห่ง และการสังเกตการปฏิบัติงานจริงที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชน 1 แห่ง ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบลึก และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ช่วงระยะเวลาที่ศึกษา คือ ตุลาคม 2537-กันยายน 2538 ผลการศึกษา พบว่า ศูนย์บริการสาธารณสุขเป็นสถานพยาบาลขนาดเล็กที่กระจายอย่างกว้างขวาง ช่วยให้ประชาชนกลุ่มผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงบริการ และใช้บริการได้สะดวก มีบริการที่ค่อนข้างครบถ้วน มีบุคลากรระดับวิชาชีพหลากหลายและจำนวนมากพอที่จะให้บริการที่มีคุณภาพดี ไม่มีปัญหาด้านความขาดแคลนงบประมาณ ผลงานให้บริการของศูนย์บริการสาธารณสุขเป็นที่ยอมรับต้องการ และเป็นที่พึ่งของประชาชนกลุ่มผู้ด้อยโอกาสอย่างมาก บริการที่มีการใช้บริการมาก คือ บริการรักษาพยาบาล และการให้วัคซีนแก่เด็ก แต่ยังให้บริการได้ความครอบคลุมไม่สูง ทั้งนี้เพราะประชากรในขอบเขตการดูแลของศูนย์ฯกว้างขวางมาก และวิธีการวางแผน การบริหารงานของศูนย์ฯ ปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพพอ กระบวนการบริหารจัดการไม่คล่องตัว ไม่เอื้อต่อการเสริมให้บุคลากรมีแรงจูงใจในการพัฒนางานของศูนย์ฯให้ ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน มาตรฐานงานและกระบวนการให้บริการประเภทต่าง ๆ เป็นลักษณะที่เน้นให้บริการแก่ผู้มารับบริการจำนวนมากพร้อม ๆ กันมากกว่าประเด็นคุณภาพงาน เน้นที่ระเบียบรายงาน และขั้นตอนกิจกรรมค่อนข้างมาก ต้นทุนการให้บริการประเภทต่าง ๆ ค่อนข้างสูง โดยที่มีค่าใช้จ่ายหลักเป็นค่าแรง (ร้อยละ 70) ในขณะที่ผลงานบริการถูกจำกัดด้วยระยะเวลาและวิธีการจัดบริการ ศูนย์บริการบางกลุ่มมีผลงานต่ำมาก เพราะตั้งในสถานที่ไม่เหมาะสม เดินทางไม่สะดวก เวลาเปิดบริการไม่สอดคล้องกับเวลาสะดวกของประชาชน และประชาชนมีทางเลือกสถานพยาบาลอื่นมาก พื้นที่ที่ยังขาดสถานพยาบาลมาก คือ เขตคลองเตย ดอนเมือง จตุจักร บางซื่อ และเขตรอบนอก คือ ลาดกระบัง หนองจอก บางขุนเทียน มีนบุรี ภาษีเจริญ ในด้านการประสานการส่งต่อกับโรงพยาบาลใกล้เคียงส่วนใหญ่ยังไม่ราบรื่น แม้มีการจัดระบบเครือข่ายการส่งต่อ แต่ศูนย์ที่ใช้เครือข่ายการส่งต่อได้ตามกำหนดมีเพียง 9 แห่ง ข้อเสนอต่อการพัฒนาบริการสาธารณสุขพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร คือ การโยกย้ายบุคลากรจากศูนย์ที่มีผลงานต่ำไปยังศูนย์ที่มีผลงานมาก ย้ายสถานที่ตั้งศูนย์ให้เหมาะสม ยกระดับศูนย์สาขาบางแห่งที่มีผลงานมาก ขยายศูนย์ในพื้นที่รอบนอก และเขตที่มีสถานพยาบาลน้อย พัฒนาบริการต่าง ๆ ของศูนย์ฯให้สอดคล้องกับเงื่อนไขความต้องการของประชาชนมากขึ้น และจัดระบบบริหารจัดการบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ เสริมระบบการสร้างขวัญ กำลังใจในการปฏิบัติงาน รวมทั้งสร้างรูปแบบการบริการแบบใหม่ที่อาศัยการบริหารจัดการที่ยืดหยุ่น และการประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน หรือองค์กรรัฐในหน่วยงานอื่นที่มีความพร้อม เพื่อขยายบริการให้ครอบคลุมประชากรกลุ่มต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นโดยไม่ต้องเพิ่มกำลังคนของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โครงสร้างของศูนย์ภาคควรได้รับการสนับสนุนปรับให้เป็นโครงสร้างการบริหาร ที่ชัดเจน มีกรอบอัตรากำลัง และงบประมาณรองรับที่แน่นอนระบบข้อมูลและการติดตามนิเทศงานควรได้รับการพัฒนาให้เป็นระบบประเมินผลงานภายในองค์กร และนำไปสู่การแก้ปัญหากระบวนการให้บริการอย่างจริงจัง ประเด็นที่เสนอนี้เป็นเพียงประเด็นหลักและแนวทางการพัฒนา บางประเด็นต้องมีการศึกษาและหาข้อมูลในรายละเอียดเพื่อการวางแผน การปฏิบัติงานจริงต่อไป
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0024.pdf
ขนาด: 3.191Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 3
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 163
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2471]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [159]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1283]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV