บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การกระจายทันตาภิบาล และภาระงานที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน พ.ศ. 2549 การวิเคราะห์การกระจายทันตาภิบาล พ.ศ. 2549 ใช้ฐานข้อมูลทันตบุคลากรที่รวบรวมโดยกองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ร่วมกับการศึกษาโดยการสำรวจด้วยแบบสอบถามที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้น ในเรื่องภาระงานทันตาภิบาลได้รับมอบหมายทั้งหมด คิดเป็นเวลารวมกันใน 1 สัปดาห์ สุ่มเก็บข้อมูลจากเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข (ทันตาภิบาล) ที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน 450 แห่ง กระจายอยู่ใน 75 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 40 ของศูนย์สุขภาพชุมชนทั้งหมดที่มีทันตาภิบาลปฏิบัติงานประจำปี พ.ศ. 2549 อัตราตอบกลับ ร้อยละ 94.9 (427 ราย) ของที่สุ่ม ผลการศึกษาแสดงว่าทันตาภิบาลไทย พ.ศ. 2549 ร้อยละ 97 สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และร้อยละ 95.9 ปฏิบัติงานในหน่วยบริการส่วนภูมิภาค สัดส่วนทันตาภิบาลต่อประชากรดีขึ้นเป็นลำดับจากสัดส่วนทันตาภิบาล 1 คน ต่อประชากร 21,331 คน ใน พ.ศ. 2545 ลดเหลือ 16,883 คนใน พ.ศ. 2549 โดยแต่ละภาคมีสัดส่วนทันตาภิบาลต่อประชากรใกล้เคียงกันประมาณ 1:15,500 ยกเว้นในกรุงเทพมหานคร ทันตาภิบาลร้อยละ 55.7 ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน และร้อยละ 32.5 ปฏิบัติงานประจำในศูนย์สุขภาพชุมชน ภาระงานของทันตาภิบาลที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน คิดหน่วยเป๋นระยะเวลา พบสัดส่วนเวลาบริการทันตกรรมต่องานด้านอื่นเท่ากับ 3:1 ในส่วนที่ให้บริการทันตกรรมคิดเป็นสัดส่วนระยะเวลาในการให้บริการด้านทันตกรรม : บริการส่งเสริมป้องกัน : บริการเชิงรุก เท่ากับ 3:1:1 ศักยภาพของทันตาภิบาลที่ต้องเร่งพัฒนา ได้แก่ 1) การส่งเสริมสุขภาพช่องปากและการทำงานเชิงรุก 2) การป้องกันและควบคุมโรคในช่องปาก 3) การสื่อสารและให้ความรู้ 4) การจัดทำโครงการ การวางแผนแก้ปัญหาพื้นที่และการประเมินผลโครงการ และ 5) ทักษะการดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น
บทคัดย่อ
This study was aimed at surveying the distribution of dental hygienists and their job identification
in a primary care unit (PCU) in 2006. Also, a dental health workforce database of the Division of Dental
Health, Department of Health, was updated for 2006, using a questionnaire survey on the working status of dental nurses dispatched to 450 PCUs in Thailand’s 75 provinces. Almost all (94.9%) responded to the
questionnaire. The analysis revealed that 97 percent of the dental nurses in Thailand in 2006 were working
under the Ministry of Public Health and 95.9 percent of their workplaces were outside Bangkok. These
included 55.7 percent working in community hospitals and 32.5 percent in PCUs. The ratio nationwide of
dental nurses increased from 1:21,331 in 2002 to 1:16,883 in 2006, excluding Bangkok. Among those working
in PCUs, the workload of those involved in oral health care to other types of care was 3:1 in terms of
time sharing. The proportion of jobs in curative care, promotion and prevention, and proactive services
was cited as 3:1:1. With regard to workforce in capacity-building, training is required in (1) oral health
promotion and proactive activities, (2) oral health prevention and disease control, (3) health literacy and
communication, (4) project planning, management and evaluation according to local priorities, and (5)
first-aid treatment.