บทคัดย่อ
การศึกษา ”โครงการการพัฒนาแนวทางและวิธีการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการลงทุนและพัฒนาขนาดใหญ่ และนโยบายของรัฐโดยภาคประชาชน : กรณีศึกษาการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางสุขภาพของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำมูนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์และประเมินผลกระทบทางสุขภาพในครั้งนี้ ได้ใช้กรอบคิดการประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ โดยคัดเลือก 4 ชุมชน คือ บ้านหัวเหว่ บ้านท่าแพ บ้านวังสะแบงใต้ อำเภอโขงเจียม และบ้านหนองโพธิ์ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกชุมชนดังนี้ (1) คัดเลือกจากที่ตั้งของชุมชน คือ ชุมชนท้ายเขื่อน ชุมชนหัวงาน และชุมชนเหนืออ่างเก็บน้ำ (2) คัดเลือกจากลักษณะของผลกระทบ คือ ชุมชนที่สูญเสียอาชีพประมงอย่างเดียว ชุมชนที่ถูกอพยพโยกย้าย สูญเสียที่ดินทำกิน และสูญเสียอาชีพประมง ผลการศึกษาพบว่า ชาวบ้านได้ให้ความหมายด้านสุขภาพดี คือ การมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข และพบว่าปัจจัยที่กำหนดสุขภาพตามความหมายของชาวบ้าน มี 5 ปัจจัย คือ (1) ด้านความมั่นคงของทรัพยากรธรรมชาติ (2) ความมั่นคงด้านอาหาร (3) ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (4) ความมั่นคงด้านสภาพแวดล้อม (5) ความมั่นคงทางสังคม จากการศึกษาจะพบว่าเขื่อนปากมูลเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่กำหนดสุขภาพ เพราะทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตของชาวบ้านบางส่วนได้ถูกทำลายและเสื่อมโทรมลงจากการสร้างเขื่อน เป็นผลให้ชาวบ้านได้สูญเสียความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางสังคมและวัฒนธรรม และความสงบสุขในชีวิต แต่เมื่อมีการทดลองเปิดประตูน้ำเขื่อนปากมูล ปัจจัยที่กำหนดสุขภาพของชาวบ้าน ได้ฟื้นคืนมาอย่างรวดเร็วในทุกด้าน แต่สภาพยังไม่เท่ากับช่วงก่อนสร้างเขื่อน ซึ่งได้ส่งผลทำให้สุขภาพตามความหมายของชาวบ้านได้ดีขึ้นกว่าช่วงปิดประตูน้ำเขื่อน ผลการศึกษาด้านการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล พบว่าการสร้างเขื่อนปากมูลได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางกาย ทางจิตใจ สุขภาพทางสังคมและทางจิตวิญญาณ ซึ่งสุขภาพทางกาย ทำให้ชาวบ้านบางส่วนเกิดโรค คือ โรคคัน ระบบการหายใจ ความเครียด แต่ในช่วงการเปิดประตูระบายน้ำทำให้บางโรคได้เริ่มหายไป คือ โรคคัน เพราะแม่น้ำมูนได้มีการถ่ายเทระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขง และมีโรคที่เป็นข้อห่วงใยของชาวบ้าน เช่น โรคเอดส์ โรคเบาหวาน โรคตับ โรคกระเพาะ เป็นต้น ด้านสุขภาพทางจิต พบว่าการสร้างเขื่อนเป็นปัจจัยหนึ่งทำให้ชาวบ้านเกิดความเครียดเพราะวิตกกังวลกับการทำมาหากิน และเครียดกับเพื่อนบ้าน หรือญาติที่มีแนวความคิดไม่เห็นด้วยกับการสร้างเขื่อนทำให้เกิดความขัดแย้งภายในครอบครัวหรือภายในชุมชน และสาธารณะ และสภาพจิตใจของชาวบ้านได้ผ่อนคลายในระดับหนึ่งเพราะมีการเปิดประตูเขื่อนทำให้ชาวบ้านสามารถหาปลาได้มากกว่าช่วงปิดเขื่อน แต่เกิดความรู้สึกไม่มั่นคงในการลงทุนทำการประมงหรือเกษตรเพราะไม่แน่ใจในระยะเวลาของการเปิดเขื่อน สุขภาพทางสังคม พบว่า การสร้างเขื่อนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวลดลงเพราะสมาชิกภายในครอบครัวได้อพยพไปทำงานนอกชุมชน การทำกิจกรรมร่วมกันได้ลดลง ชุมชนอยู่ในสภาพต่างคนต่างอยู่เพราะต้องดิ้นรนทำมาหากิน ทำให้การแบ่งปันการดูแลซึ่งกันและกันได้ลดลง และส่งผลต่อความร่วมมือในกิจกรรมงานพัฒนาต่างๆ ลดลง ทำให้ความคิด ความเชื่อ ภูมิปัญญาเกี่ยวกับแม่น้ำมูนได้ลดความสำคัญลง แต่ในช่วงเปิดประตูระบายน้ำ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนคือ ชุมชนเริ่มมีการทำกิจกรรมเกี่ยวกับแม่น้ำมูนคือ งานบุญเนาแก่ง งานส่าวลวงมอง รวมทั้งการไปหาปลาร่วมกันของครอบครัวและชุมชน สุขภาพทางจิตวิญญาณ พบว่าเขื่อนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตที่เอื้ออำนวยต่อสุขภาพจิตวิญญาณของชาวบ้านปากมูน ทำให้ขาดการมีวิถีที่พึ่งพาธรรมชาติ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมลดลง ขาดความเอื้ออาทร เกื้อกูล แบ่งปันซึ่งกันและกัน ขาดความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว ชุมชน ขาดการสืบทอดภูมิปัญญาจากพ่อแม่สู่ลูกหลาน ขาดการมีพื้นที่ที่ใช้ร่วมกัน เช่น วัด เกาะแก่งในแม่น้ำมูน หรือขาดการมีกิจกรรมร่วมกัน เช่น งานบุญ การพักผ่อน พัฒนาชุมชน และขาดการมีชีวิตอยู่อย่างสงบร่มเย็น และเป็นสุข ส่งผลให้สุขภาพจิตวิญญาณระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสาธารณะอยู่ในสภาวะที่มีชีวิตอยู่อย่างดิ้นรน มีความหวาดวิตก ท่ามกลางความขัดแย้ง ไม่มีความสงบสุขและมีชีวิตอยู่อย่างไม่เป็นสุข ผลการศึกษาจะเห็นได้ว่าเขื่อนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพ ซึ่งหมายถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านและชุมชน ดังนั้น ในการจัดทำโครงการงานพัฒนาด้านต่างๆ จะต้องมีการประเมินผลกระทบทางด้านสุขภาพทั้งก่อนทำโครงการ ระหว่างดำเนินกิจกรรมและหลังโครงการ โดยต้องมีแนวคิดและมุมมองเรื่องสุขภาพแบบองค์รวมและเชื่อมความสัมพันธ์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
บทคัดย่อ
The objective of this study which was on “The Development of People Sector’s Guidelines & Method of Assessment on the Health Impact from Government’s Large Investment & Development and Policy: Case-study of Assessment on Health Impact from the Pak Moon Dam Hydroelectric Power Plant Project” was to study about the impact on the health of the communities lying along the bank of the Moon River that had been affected by the Pak Moon Dam Hydroelectric Power Plant Project. The data was analyzed and used for the health impact assessment. In this study, the health impact assessment frame was used to build up a public policy on health. Four communities i.e. Ban Hua Weh, Ban Tha Phae and Ban Wang Sabaeng Tai of Khong Jiam district, and Ban Nong Pho of Phibun Mangsahan, Ubon Ratchathani province were selected as sites of the study. The criteria for community-selection were: (1) Location of community: dam-downstream community, headwork community and dam-upstream community, (2) Nature of impacts: community that lost fishing profession only; transferred community that lost both occupational land and fishing profession. Findings of the study: The villagers defined good health as, “a happy living”. By villagers’ definition, 5 factors that determined health were: (1) Natural resource stability, (2) Food stability, (3) Economic stability, (4) Environmental stability, and (5) Social stability. The study discovered that Pak Moon Dam was an important factor for the change of the factor that determined health. This was because natural resources which were the base of some portion of villagers’ production had been destroyed and become deteriorated by the construction of the dam. As a result, the villagers lost food stability, economic stability, Social culture stability and life happiness. But, when a trial was made for the lifting of the Pak Moon Dam water-gate, the factors that determined all aspects of villagers’ health rapidly returned. However, the condition was not as good as when the dam was not yet constructed. As a result of the trial, health, by villagers’ definition, became better than when the water - gate was closed.The study on the assessment of health impacts from Pak Moon Dam hydroelectric power plant found out that the Pak Moon Dam construction had impacts on physical, mental, social and spiritual health of the villagers. Regarding physical health, some sicknesses related to itchiness, respiratory system and stress occurred to the villagers. But during the water-gate lifting period, some sicknesses i.e. itchiness started to disappear. This was because the water from the Moon River had been drained to the Mae Khong River. Besides, concerning physical health, there were some other sicknesses which were of villagers’ concern such as AIDS, diabetes, liver-related sicknesses, stomach-related sicknesses, etc. Regarding mental health, it was found out that the dam construction was a factor for the villagers’ stressfulness. The villagers became worried about livelihood. They were stressed with neighbors & relatives who disagreed with the dam construction. Conflicts occurred within family, community and the public. Due to water-gate lifting, the mental condition of the villagers became, to certain extent, more relaxed. The villagers were able to catch more fish than when the dam was closed. However, they felt not secure yet for investment on fishing or agriculture because they were not sure of the dam-opening period.Regarding social health, it was found out that dam construction was a factor of change. It decreased relationships among family-members because family members had migrated to work outside communities; joint activities decreased. Communities were in a situation where people just lived for themselves because they had to struggle for their own livelihood. As a result, sharing & caring for one another decreased; cooperation in development activities also decreased. Ideas, belief and wisdom on Moon River became less important. But, during the period of water-gate lifting for water to flow, a clear change occurred i.e. communities started to practice Moon River-related activities i.e. “Boon Nao Kaeng” and “Sao Luang Mong” festivals; families & communities together went for fishing.Regarding health in the spiritual aspect, it was found out that the dam was a factor for the change in the way of life that used to be favorable to the spiritual health of the Pak Moon villagers. They became lack of a way of life that relied on nature. Cultural diversity decreased. Generosity, caring and sharing with one another decreased. Good relationships within family and community became lacking. Transference of wisdom from parents to children became lacking. Areas for communal use such as temples and islets in Moon River became lacking. Communal activities such as religious festivals, recreation, community development became lacking. And, serene, peaceful and happy life became lacking. Consequentially, with regard to spiritual health, individuals, families, communities and the public were living in a state of craving. They were shaken & worried amidst conflicts. They did not have peace and live unhappily.This study revealed that the dam was an important factor for a change in the health aspect which represented the villagers’ and communities’ way of life. Therefore, before, during and after implementation, development projects of different aspects need to assess their impacts on health. It is necessary to have a holistic concept and view on health and to foster environmental and social relationships.