บทคัดย่อ
การศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนที่อยู่ในตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี และรับบริการที่โรงพยาบาลหนองจิก ในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 12 ตุลาคม 2550 จำนวน 79 ราย (ปรับการใช้ยา 41 ราย และไม่ได้ปรับการใช้ยา 38 ราย) โดยเปรียบเทียบอุบัติการณ์ภาวะแทรกซ้อนและระดับน้ำตาลในเลือดก่อนเดือนรอมฎอนและในช่วงรอมฎอน จากข้อมูลบันทึกในเวชระเบียน สมุดบันทึกระดับน้ำตาลในเลือด และแบบบันทึกการติดตามผลการใช้ยาในช่วงเดือนรอมฎอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีเพศ อายุ โรคร่วม การได้รับยาหลัก และระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยไม่แตกต่างกันมากนัก กลุ่มผู้ป่วยที่มีการปรับการใช้ยาในช่วงเดือนรอมฎอน 41 ราย ไม่พบภาวะแทรกซ้อน ในขณะที่กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้ปรับการใช้ยา 38 รายพบภาวะแทรกซ้อน 5 ราย (ร้อยละ 13.16) เป็นภาวะเลือดมีน้ำตาลมากเกิน 3 ราย และภาวะเลือดพร่องน้ำตาล 2 ราย. ในช่วงรอมฎอน กลุ่มผู้ป่วยที่มีการปรับการใช้ยามีระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่มีการปรับการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผู้ป่วยที่มีการปรับการใช้ยาสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น โดยมีผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดที่พึงประสงค์ (70-130 มก./ดล.) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปว่าการเตรียมผู้ป่วยเบาหวานที่จะเข้าถือศีลอดในช่วงรอมฎอนและการปรับการใช้ยาในช่วงรอมฎอนเป็นสิ่งจำเป็น ผู้ป่วยควรได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การปรับการใช้ยาเบาหวาน และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นพร้อมกับแนวทางป้องกันและแก้ไข
บทคัดย่อ
The objective of this study was to determine the effects of diabetic drug adjustment during the Ramadan
period among fasting diabetic residents of Tuyong subdistrict, Nongjik district, Pattani Province, who had received
treatment in Nongjik Hospital during the period from October 1, 2006 to October 12, 2007. Diabetic
complications and changes in glucose levels before and during the Ramadan period were detected among 41
patients with diabetic drug adjustment, compared with 38 patients without drug adjustment. Data on their
blood glucose levels were obtained from OPD cards and from monitoring chart records during the Ramadan
period. SPSS for Windows was used to analyze the data.
The distributions of sex, age, co-morbidity and diabetic drug use were comparable between both groups.
Diabetic complications were found only in patients without diabetic drug adjustment. There were three cases
with hyperglycemia and two with hypoglycemia. Before the Ramadan period, both groups had comparable
mean glucose levels. During the Ramadan period, the mean glucose level was significantly lower in the patients
with diabetic drug adjustment than those without drug adjustment. Patients with drug adjustment were significantly
more likely to control their blood glucose levels than the other group.
Diabetic drug adjustment is useful during the Ramadan period. Before the Ramadan period, good health
education about food intake, diabetic complications, and the benefits of drug adjustment should be given to
diabetic Muslim patients.