• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การศึกษาองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างพลังผู้บริโภคในต่างประเทศ

วิไลลักษณ์ อยู่สำราญ; Wilailak Yoosamram; ณัฐจรี สุวรรณภัฎ; รุ่งนภา เทพภาพ; ชัชวาล เทียมถนอม; Natcharee Suwannaput; Rungnapa Tappap; Chatchawal Tiemthanom;
วันที่: 2549
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ รวมทั้ง แนวคิด หลักการ ปรัชญา ตลอดจนแนวทางการทำงาน เครื่องมือ เทคนิค และเงื่อนไขที่ส่งเสริม ข้อจำกัดของการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างพลังผู้บริโภคในต่างประเทศ โดยใช้แนวคิดเรื่องกระบวนการผู้บริโภค อันประกอบด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค และการเสริมสร้างพลังผู้บริโภค เป็นกรอบในการวิเคราะห์ พื้นที่ในการศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 8 ประเทศ สำหรับวิธีการที่นำมาใช้ในการศึกษา คือ เทคนิคการวิจัยจากเอกสาร ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการผู้บริโภคในทุกประเทศให้ความสำคัญใน 2 ส่วน คือ การคุ้มครองผู้บริโภค และ การเสริมสร้างพลังผู้บริโภค ในส่วนของการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น ผู้ที่มีบทบาทหลัก ได้แก่ ภาครัฐ โดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกป้องคุ้มครองผู้บริโภค ขณะที่การเสริมสร้างพลังผู้บริโภค ในหลายประเทศองค์กรภาคประชาสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น รัฐจะมีบทบาทอย่างมากในการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการเสริมสร้างพลังขึ้นในผู้บริโภค สำหรับแนวทางในการเสริมสร้างพลังผู้บริโภคจะเน้นไปที่การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ของผู้บริโภค ในกรณีของบางประเทศ เช่น อินเดีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น มีมิติของการเคลื่อนไหวเพื่อรักษาสิทธิ์และเรียกร้องให้เกิดการพิทักษ์ปกป้องสิทธิ์ของผู้บริโภคอย่างชัดเจน เมื่อวิเคราะห์เทคนิค เครื่องมือที่องค์กร/หน่วยงานต่างๆใช้ในการดำเนินการเพื่อการเสริมสร้างพลังผู้บริโภค พบว่า ในทุกประเทศให้ความสำคัญกับการให้การศึกษาเป็นลำดับต้นๆนอกจากนี้แล้วยังมีการใช้เทคนิค เครื่องมืออื่นๆด้วย เช่น การประชุม สัมมนา การอบรม การศึกษาดูงาน การทำโครงการชุมชน การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ การวิจัย เป็นต้น ในส่วนของปัจจัยที่สนับสนุน และข้อจำกัดในการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างพลังผู้บริโภคนั้นมีมากมายหลากหลาย แปรเปลี่ยนไปตามบริบทและเงื่อนไขแวดล้อมของแต่ละประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม รวมทั้งทรัพยากรต่างๆ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการเสริมสร้างพลังผู้บริโภคทั้งสิ้น
ฉบับเต็ม

ขออภัย ไม่มีไฟล์ Full Text ติดต่อ 0 2027 9701 ต่อ 9038


จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 0
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 0
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV