• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การพัฒนาระบบบริการให้คำปรึกษาโรคเอชไอวีในคลินิกฝากครรภ์ของเครือข่ายสุขภาพอำเภอปง จังหวัดพะเยา

สุกิจ ทิพทิพากร; Sukit Thipthiphagon; สุจิรา บรรจง; Sujira Bunjong; ขวัญตา วงค์ลังกา; Kaunta Wonglungka; กัลยานา สุขสำราญ; Kunrayana Suksomrang; มัลลิกา ลือยศ; Mullika Rauyous;
วันที่: 2551
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบบริการให้คำปรึกษาโรคเอชไอวีในคลินิกฝากครรภ์ของเครือข่ายสุขภาพอำเภอปง จังหวัดพะเยา ในช่วงเดือนตุลาคม 2548 - กันยายน 2550 มีการดำเนินการ 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 พ.ศ. 2547 วิเคราะห์สถนการณ์และประเมินผลการดำเนินงานเพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหา ขั้นตอนที่ ๒ พ.ศ. 2548 พัฒนาระบบบริการให้คำปรึกษาโรคเอชไอวีแก่คู่สามีภรรยาในคลินิกฝากครรภ์ ประชาสัมพันธ์โครงการฯ และเตรียมความพร้อมบุคลากรสาธารณสุขในการให้คำปรึกษา และทดลองใช้ระบบบริการให้คำปรึกษาในสถานีอนามัย 1 แห่ง ขั้นตอนที่ 3 พ.ศ. 2549 นำระบบบริการให้คำปรึกษาที่พัฒนาขึ้นมาดำเนินการเต็มพื้นที่ และประเมินผลประสิทธิผลของระบบ ขั้นตอนที่ 4 พ.ศ. 2550 ปรับปรุงแก้ไขระบบบริการให้คำปรึกษาโรคเอชไอวีแก่คู่สามีภรรยาให้เหมาะสม พร้อมที่จะนำไปสร้างเสริมความตระหนักถึงความสำคัญของการบริการให้คำปรึกษาโรคเอชไอวี สำหรับผู้มารับบริการที่คลินิกฝากครรภ์ของสถานบริการสาธารณสุข. เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบวัดความตระหนักถึงความสำคัญของการบริการให้คำปรึกษาโรคเอชไอวี แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้มารับบริการให้คำปรึกษาโรคเอซไอวีแก่คู่สามีภรรยาในคลินิกฝากครรภ์ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้มารับบริการต่อระบบบริการให้คำปรึกษาโรคเอชไอวีแก่คู่สามีกรรยา การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา จากการวิจัยพบว่าหลังการอบรม กลุ่มตัวอย่างมีความตระหนักถึงความสำคัญของการบริการให้คำปรึกษาโรคเอชไอวีสูงกว่าก่อนการใช้ระบบบริการให้คำปรึกษาโรคเอชไอวี และประสบผลสำเร็จในการสร้างเครือข่ายเชื่อมต่อการบริการให้คำปรึกษาโรคเอชไอวีแก่คู่สามีภรรยา ในสถานบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ที่อยู่ในเขตอำเภอปง จังหวัดพะเยา คือสามารถพัฒนาให้สถานีอนามัยทุกแห่งมีระบบบริการให้คำปรึกษาเรื่องเอชไอวีแก่คู่สามีภรรยาได้ร้อยละ 100 เพิ่มอัตราความครอบคลุมการให้คำปรึกษาเรื่องเอชไอวีแก่คู่สามีกรรยาเพื่อตรวจเลือดโดยสมัครใจในคลินิกฝากครรภ์ได้มากกว่าร้อยละ 80 ใน พ.ศ. 2550 และค้นหาคู่สามีกรรยาที่มีผลเลือดแตกต่างกันจำนวน 1 คู่ โดยสามารถป้องกันการติดเชื้อระหว่างกันได้ 1 คู่ หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อทุกรายสมัครเข้าโครงการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอซไอวีจากแม่สู่ลูก และป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกได้มากกว่าร้อยละ 80

บทคัดย่อ
This research was conducted from October 2005 to September 2007 with the aim of developing a counseling system and determining the efficiency of HIV counseling in preventing the maternal transmission of HIV at the antenatal care unit in Pong District, Phayao Province. The first step was undertaken in 2004, namely a situation analysis and result evaluation for planning. The second step in 2005 developed the couple HIV counseling system, promoted project and personnel preparation, and tried a one-stop health center approach. The third step in 2006 implemented the system, while the fourth step in 2007 adjusted and further developed it. The device for collecting data was evaluated, i.e. an awareness form for HIV counseling and gathering general data for that purpose in the antenatal care unit. Analysis was by mean, percentage and standard deviation. The result of the study showed that after counseling the mean awareness of the couples was higher than before counseling and that success had been achieved in developing the couple HIV counseling system in the health center of Pong District. Coverage was more 100 percent of health centers and more than 80 percent of all such couples in 2007 in the antenatal unit; now all health centers have a couple HIV counseling system. There was no instance of one mate infecting another and in more than 80 percent of the pregnancies of an HIV-infected mother there was no transmission of the virus to the child.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v2n3 ...
ขนาด: 236.0Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 1
เดือนนี้: 4
ปีงบประมาณนี้: 191
ปีพุทธศักราชนี้: 99
รวมทั้งหมด: 1,458
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV