บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหารกับระดับฮีโมโกลบินเอวันซี และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับระดับ HbA1c ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่รับบริการในคลินิกเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2550 จำนวน 100 คน โดยใช้แบบบันทึกข้อมูล ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ เพศ อายุ เส้นรอบเอว ดัชนีมวลกาย ระยะเวลาการเป็นโรคเบาหวาน การได้รับยาเมตเฟอร์มิน ระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหาร และระดับ HbA1c เก็บข้อมูลน้ำตาลในเลือดครั้งที่ 1 2 3 และระดับ HbA1c ในผู้ป่วยเบาหวานคนเดียวกันไปวิเคราะห์หาสถิติความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ของตัวแปรกับระดับ HbA1c ใช้ Odds ratio และค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ผลการศึกษาแสดงว่ากลุ่มศึกษาที่ได้รับยาเมตเฟอร์มิน และกลุ่มที่มีระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย 3 เดือนต่ำกว่า 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร มีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c ต่ำกว่าร้อยละ 7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของระดับน้ำตาลในเลือด 3 ครั้งในช่วง 3 เดือนย้อนหลังกับระดับ HbA1c จะเห็นว่าเป็นไปในทางเดียวกันกับระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย 3 เดือน ผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย 3 เดือนได้ต่ำกว่า 130 มก./ดล. มีร้อยละ 30 และผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด 3 ครั้งในช่วง 3 เดือนได้ต่ำกว่า 130 มก./ดล. ทั้ง 3 ครั้ง มีร้อยละ 15 ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่มีระดับ HbA1c สูงเกินร้อยละ 7 ร้อยละ 56.7 และ 46.7 ตามลำดับ ดังนั้นการพิจารณาระดับน้ำตาลในเลือดเพียงอย่างเดียวอาจเป็นผลลวงแก่แพทย์ผู้ดูแลรักษา การวัดระดับ HbA1c น่าจะเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดและติดตามระดับน้ำตาลในเลือดระยะยาวได้ดีกว่าการใช้ระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งจะช่วยประเมินว่าผู้ป่วยควบคุมเบาหวานได้ดีหรือไม่ และพยากรณ์การเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานได้ จึงควรตรวจระดับ HbA1c ร่วมด้วย เพื่อการรักษาโรคที่ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างแท้จริง
บทคัดย่อ
The objective of this descriptive study was to determine the relationship between
fasting plasma glucose (FPG) levels, as well as a few other factors, with HbA1c in 100 patients with type 2 diabetes who were receving treatment at Ladlumkaew Hospital. The
data were collected during the period May-July 2007. The variables were sex, age, waist
circumference, body mass index, duration of illness, administration of metformin, and
fasting plasma glucose. The relationship between variables and HbA1c was assessed using
percentage, and odds ratio test.
The results of the study showed that patients who received treatment with metformin
had a mean level of FPG for three months equal to or less than 130 mg/dl related significantly
with an HbA1c level of less than 7 percent. When considering the results, 30 percent
of the patients had a mean level of FPG equal to or less than 130 mg/dl and 15
percent of the patients had FPG levels three times in three months that were equal to or
less than 130 mg/dl; these patients had HbA1c levels above 7 percent at 56.7 and 46.7
percent, respectively. Such findings denoted that the FPG level reflected the short period
of the preceding plasma glucose level; making an evaluation of hyperglycemic control by
FPG level would be misleading in the management of diabetes patients. The HbA1c level
was a better indicator for evaluating the achievement of glycemic control over the preceding
2-3 months. The HbA1c level could predict the complications of diabetes patients.
Therefore, for the goal of glycemic control, the HbA1c test shoud be employed in conjunction
with the FPG test.