• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การศึกษาระบบ-ระเบียบการจัดซื้อยาของโรงพยาบาลรัฐบาล ระยะเวลา : กรกฎาคม 2549-สิงหาคม 2550

เสาวคนธ์ รัตนวิจิตราศิลป์; ศนิตา หิรัญรัศมี; จิราภรณ์ อุษณกรกุล; ภูรี อนันตโชติ; ชมภูนุช สุคนธวารี; สุธีรา เตชคุณวุฒิ;
วันที่: 2550
บทคัดย่อ
การจัดซื้อยาเป็นไปตามระเบียบจัดซื้อพัสดุซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับให้การจัดซื้อจัดหายาของโรงพยาบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ได้ยาที่มีคุณภาพดี ราคาเหมาะสม ทันเวลา และโปร่งใส ตรวจสอบได้ ในช่วงเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมา สิ่งแวดล้อมในระบบได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งในแง่ของยาใหม่ที่เข้าสู่ตลาด อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา อัตราเงินเฟ้อ ราคายา จำนวนผู้ป่วย และแนวทางการดำเนินการทางการตลาดของบริษัทยา ล้วนมีการปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง และส่งผลกระทบอย่างมากต่อการจัดซื้อยาของโรงพยาบาลรัฐ ระเบียบพัสดุพ.ศ.2535 แม้จะถูกปรับเปลี่ยนในบางจุด แต่ก็ยังคงมีข้อสังเกตบางประการซึ่งทำให้การทำงานของผู้ปฏิบัติงานเป็นไปอย่างยากลำบาก จึงเป็นที่มาของการศึกษาทบทวนระบบ ระเบียบการจัดซื้อยาเพื่อระบุปัญหา ผลกระทบ ตลอดจนระดมสมองเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงระเบียบจัดซื้อยาซึ่งเหมาะสมกับการปฏิบัติงานจริง ขณะที่เอื้อให้การจัดซื้อเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และโปร่งใส จากการทบทวนระเบียบจัดซื้อพัสดุและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อยาในประเทศไทย การประชุมระดมสมองเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อยา และการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบ สรุปได้ว่านโยบายและระเบียบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่เอื้อให้การทำงานเพื่อให้สามารถซื้อยาได้ทันกับความต้องการของผู้ป่วย ขณะที่ต้องพยายามทำตามระเบียบซึ่งวางไว้ อาจกล่าวได้ว่าปัญหาที่พบในการจัดซื้อยาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ปัญหาการนำนโยบายไปปฏิบัติ (implementation failure) และ 2) ปัญหาในเชิงกรอบแนวคิดของนโยบาย (theoretical failure) ปัญหาการนำนโยบายไปปฏิบัติเกิดจากความไม่พร้อมของกลไกรองรับ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในระบบการจัดซื้อยา ตัวอย่างของปัญหาประเภทนี้ ได้แก่ การกำหนดให้การจัดซื้อต้องอ้างอิงราคากลาง แต่ฐานข้อมูลราคากลางที่เป็นอยู่ขณะนี้ไม่ได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง และไม่ได้สะท้อนสภาวะตลาดที่แท้จริง หรือปัญหาความไม่พร้อมของกลไกการตรวจสอบ และการเผยแพร่ข้อมูลคุณภาพยาที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ สำหรับกรอบแนวคิดของนโยบาย เช่น การกำหนดสัดส่วนของเงินงบประมาณที่ให้จัดซื้อยาชื่อสามัญในบัญชียาหลัก ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ให้ประกันในระบบประกันสุขภาพ การกำหนดให้หน่วยราชการต้องจัดซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรม โครงสร้างราคากลางและการกำหนดกรอบโดยไม่สนใจธรรมชาติของการดำเนินกิจการผู้ขาย ก่อให้เกิดปัญหาได้ เนื่องจากการกำหนดนโยบาย ณ เวลาหนึ่ง ย่อมเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมแบบหนึ่ง แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป สิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง นโยบายซึ่งเคยเหมาะสมอาจจะไม่เหมาะสมอีกต่อไป จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการประเมินความเหมาะสมของนโยบาย และปรับปรุงนโยบายให้สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบัน
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1467.pdf
ขนาด: 2.021Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 0
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 220
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV