บทคัดย่อ
ค่าใช้จ่ายสุขภาพของประเทศที่เพิ่มขึ้น เกินกว่าอัตราที่งบประมาณที่มีอยู่จะเพียงพอให้การสนับสนุน ทำให้เริ่มเกิดคำถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมจ่ายค่าบริการสุขภาพ รายงานนี้เป็นการนำเสนอผลการสังเคราะห์ประสบการณ์ต่างประเทศ ที่มีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Coverage) หรือระบบสวัสดิการอื่นที่น่าสนใจ และมีการร่วมจ่ายค่าบริการสุขภาพ ณ จุดที่ใช้บริการ (Cost Sharing / Copayment) ซึ่งได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ฟินแลนด์ เยอรมัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา จำนวน 10 ประเทศ
วิธีการศึกษาประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1. การทบทวนเอกสารทางวิชาการ (Literature Review) เพื่อตอบประเด็นเกี่ยวกับข้อมูลเบี้องต้นที่เกี่ยวข้องกับระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศ ที่ทำการศึกษาหลักการ/แนวคิด เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการกำหนดส่วนร่วมจ่ายในประเทศที่ทำการศึกษา, รูปแบบส่วนร่วมจ่ายและอัตราที่กำหนดสำหรับบริการประเภทต่างๆ ในประเทศที่ศึกษา, กลไกในการปกป้องประชาชนที่ไม่สามารถจ่ายส่วนร่วมที่กำหนด ให้สามารถเข้าถึงและได้รับบริการที่จำเป็น, บทเรียนข้อเสนอแนะ และข้อพึงระวังสำหรับการพัฒนาระบบส่วนร่วมจ่ายสำหรับประเทศไทย และ 2. การทบทวนอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) เพื่อตอบประเด็นเกี่ยวกับสัมฤทธิ์ผลเชิงนโยบายและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากส่วนร่วมจ่ายต่อการเข้าถึง/ใช้บริการ และภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย/ครัวเรือน ผลต่อภาระค่าใช้จ่ายของกองทุน ผลต่อการลดหรือเพิ่มการใช้บริการบางประเภท/ชนิด ผลต่อคุณภาพบริการ และผลต่อต้นทุนในการบริหารจัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
บทคัดย่อ
The rising health care cost has reached the point where cost sharing from patients might be essential to sustain the health system. This report is aimed to synthesize lessons on cost sharing policies in 10 countries; namely, Australia, Canada, Finland, Germany, Japan, Singapore, south Korea, Taiwan, R.O.C. United Kingdom, and United States of America.
The study comprises two components. The first is literature review general information of each country on its current health insurance systems, basic principles for cost sharing, approaches and rates used for cost sharing, mechanisms to protect the disadvantaged population, as well key concerns about implementing cost sharing policy.