• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ความเหมาะสมในการลงทุนเพื่อนำเครื่องฉายรังสีโปรตอนมาใช้รักษาโรคมะเร็งในประเทศไทย

ภูษิต ประคองสาย; ศรีเพ็ญ ตันติเวสส; วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร;
วันที่: 2545
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประโยชน์และความเหมาะสมในการนำเครื่องมือฉายรังสีโปรตอนมาใช้สำหรับการรักษาโรคมะเร็งในประเทศไทย คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2543 โดยใช้การทบทวนเอกสารวิชาการและประสบการณ์ของการใช้รังสีโปรตอนในต่างประเทศ การสำมะโนสถานการณ์ของหน่วยรังสีรักษาและความคิดเห็นของแพทย์รังสีรักษาทั่วประเทศ พบว่า ไม่มีรายงานการศึกษาทางคลินิกที่แสดงว่า รังสีโปรตอนมีประสิทธิผลในการรักษาโรคมะเร็งเหนือกว่าวิธีการของรังสีรักษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ในขณะที่การนำเครื่องฉายรังสีโปรตอนมาใช้ ประเทศไทยจะต้องมีความพร้อมของเงินทุน บุคลากรด้านรีังสีรักษาและด้านฟิสิกส์เป็นจำนวนมากเพื่อใช้ในการลงทุน การบำรุงรักษาและดำเนินการในระยะยาว เมื่อศึกษาความต้องการด้านรังสีรักษาพบว่าเครื่องมือด้านรังสีรักษาและวิธีการรักษาทีมีอยู่ในปัจจุบันสามารถให้การรักษาโรคมะเร็งส่วนใหญ่ได้เกือบทั้งหมด ในขณะที่ข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี พบผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อาจจะมีความจำเป็นในการใช้รังสีโปรตอนจำนวนน้อยมาก ในด้านทรัพยากรของหน่วยรังสีรักษาพบว่ายังมีความขาดแคลนบุคลากรและเครื่องมือพื้นฐานในการให้บริการกับประชาชน ซึ่งการนำงบประมาณไปใช้ในการลงทุนกับเครื่องมือพื้นฐานในการให้บริการกับประชาชน ซึ่งการนำงบประมาณไปใช้ในการลงทุนกับเครื่องมือที่มีราคาแพงโดยละเลยการแก้ไขปัญหาความขาดแคลนพื้นฐานเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้ มีความเป็นไปได้น้อยมากที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งจะสามารถขำระค่าบริการของรังสีโปรตอนได้ การศึกษาครั้งนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของการประเมินเทคโนโลยีสุขภาพและเชื่อมโยงผลการศึกษาทางวิชาการไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบาย ซึ่ี่งในที่สุดกระทรวงสาธารณสุขได้มีมติระงับการจัดซื้อเครื่องฉายรังสีโปรตอนเพื่อนำมาใช้รักษาโรคมะเร็งในประเทศไทย ข้อเสนอแนะที่สำคัญของการศึกษานี้คือ การแก้ไขปัญหางานด้านรังสีรักษา การวางแผนที่ชัดเจนสำหรับการลงทุนเครื่องมือแพทย์ที่มีราคาแพงตามความจำเป็นของประเทศ และควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการประเมินเทคโนโลยีทางสุขภาพอย่างเร่งด่วนในอนาคต
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: 2002_DMJ21_ความเห ...
ขนาด: 814.0Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 1
เดือนนี้: 3
ปีงบประมาณนี้: 174
ปีพุทธศักราชนี้: 104
รวมทั้งหมด: 1,384
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ [161]

    International Health Policy Program Foundation (IHPP)


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV