บทคัดย่อ
โครงการศึกษาสรุปบทเรียน และติดตามผลการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปองค์การบริหารส่วนตําบล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจ กระบวนการการจัดตั้งกลไก และการดําเนินงานถ่ายโอนที่เกิดขึ้นจริง เทียบกับหลักการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขสําคัญที่มีการกําหนดไว้ วิเคราะห์และสรุปบทเรียนที่ได้รับจากการถ่ายโอนเพื่อจัดทําข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กลไกโครงสร้าง เงื่อนไข และองค์ประกอบการถ่ายโอนฯ พื้นที่ตําบลเทพนิมิตร กิ่งอําเภอบึงสามัคคี จังหวัดกําแพงเพชร เป็นหนึ่งที่ขอเสนอเป็นพื้นที่นําร่องในการถ่ายโอนสถานีอนามัยมาอยู่ในการดูแลขององค์การบริหารส่วนตําบล การศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีการที่หลากหลาย (Multi-instrumental Methods) ด้วยการผสมผสานการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Quantitative and Qualitative Study) เพื่อใช้เป็นกระบวนการในการตอบคําถามให้ครอบคลุมทุกประเด็นและถูกต้องสมบูรณ์ ซึ่งได้ผลการศึกษาดังนี้ คือ การดําเนินการถ่ายโอนภารกิจงานด้านสาธารณสุขให้มาอยู่ในการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปตาม พรบ. กําหนดแผนขั้นตอนการกระจายอํานาจให้กับ อบต. ปี 2542 บัญญัติขึ้นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งมีการกําหนดให้ท้องถิ่นเป็นผู้มีส่วนในการจัดการด้านสาธารณสุขของชุมชน ซึ่งก่อนที่จะมีการถ่ายโอนสถานีอนามัย ก่อนที่จะมีการถ่ายโอนภารกิจมาให้ อบต. ดูแล ได้มีการสํารวจความคิดเห็นของประชาชนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบถึงความต้องการที่จะให้ทาง อบต. เป็นผู้ที่จะดูแลงานในส่วนของสถานีอนามัยหรือไม่ ซึ่งจากการออกแบบสํารวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ ต้องการที่จะให้ทางสถานีสถานีอนามัยที่ถ่ายโอนเข้ามาอยู่กับทางอบต. เพื่อที่จะให้ทางอบต. ปรับปรุงด้านสถานที่สําหรับให้การบริการ ด้านงบประมาณ เมื่อโอนงานมาอยู่กับ อปท. จากการศึกษาพบว่า ทางคณะกรรมการถ่ายโอนของจังหวัดกําแพงเพชรใช้เกณฑ์ประเมินองค์การบริหารส่วนตําบลเทพนิมิตรใน 10 ตัวชี้วัด เพื่อพิจารณาถึงความพร้อมและความสามารถขององค์การบริหารส่วนตําบลเทพนิมิตร มีบางตัวชี้วัดที่ยังได้ค่าน้ำหนักน้อย คือองค์ประกอบของประสบการณ์ขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดหรือมีส่วนร่วมจัดการด้านสาธารณสุข ตัวชี้วัดที่ 1 ได้แก่ ระยะเวลาที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดหรือมีส่วนร่วมหรือส่งเสริมสนับสนุนการจัดการด้านสาธารณสุขจนถึงปีที่ประเมิน และตัวชี้วัดที่ 4 เรื่องการส่งเสริมสนับสนุนสถานีอนามัยก่อนขอรับโอน เช่น ด้านทรัพยสิน ด้านวิชาการ ด้านบริการ และกิจกรรมด้านอื่นๆ ได้ค่าระดับเท่ากับ 1 องค์ประกอบเรื่องของวิธีการบริหารและการจัดการด้านสาธารณสุข ตัวชี้วัดที่ 6 เรื่อง รูปแบบวิธีการบริหารและการจัดการด้านสาธารณสุข ได้ค่าระดับ (ค) เท่ากับ 1 และองค์ประกอบที่ 4 เรื่องการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดบริการด้านสาธารณสุข ตัวชี้วัดที่ 7 เรื่อง สัดส่วนการใช้รายได้ (รวมเงินอุดหนุนทั้งไปแต่ไม่รวมเงินอุดหนุนเฉพาะกิจจากรัฐ) เพื่อการสาธารณสุขเฉลี่ย 3 ปีงบประมาณย้อนหลัง (ไม่รวมปีงบประมาณที่ประเมิน) ได้ค่าระดับเท่ากับ 2 จะเห็นได้ว่องค์การบริหารส่วนตําบลเทพนิมิตรมีเกณฑ์ที่ได้รับการประเมินค่อนข้างน้อยเนื่องจากเป็นความพร้อม และวิธีการในการบริหารจัดการงานด้านสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนตําบลเทพนิมิตรเอง ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลักของการถ่ายโอน อันส่งผลให้การถ่ายโอนไม่ประสบความสําเร็จเท่าที่ควรทั้งสองสถานีอนามัยจุดด้อยของการกระจายอํานาจด้านสุขภาพ เห็นว่ามีความไม่ชัดเจนในช่วงแรกโดยเฉพาะการสื่อสาร การประสานงานระหว่างส่วนกลางลงมาในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่นซึ่งส่งผลให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยส่วนใหญ่มีความลังเลไม่กล้าที่จะถ่ายโอนมาอยู่กับท้องถิ่น ควรมีการศึกษาและทําความเข้าใจให้ตรงกันทั้งในระดับกระทรวง และในหน่วยงานระดับพื้นที่ และในระดับบุคลากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุภารกิจงานของการกระจายอํานาจ คงจะใช้เวลาสักประมาณ 1 - 2 ปีข้างหน้าเพื่อที่จะให้เข้าระบบมากขึ้น ทั้งนี้สังคมไทยจะต้องปรับเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนระบบการทํางานโดยเฉพาะงานสาธารณสุขที่ต้องดูแลเกี่ยวกับสุขภาพจะให้ส่วนกลางดูแลคงไม่ทั่วถึง และไม่ทันสถานการณ์ จําเป็นต้องกระจายให้กับหน่วยงานอื่นเข้ามามีส่วนร่วม