• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.)
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.)
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

แนวทางการขึ้นภาษีสุราเพื่อลดการบริโภคโดยรวม

บัณฑิต ศรไพศาล;
วันที่: 2547-09
บทคัดย่อ
อันที่จริงการปรับภาษีสุรามีมาโดยตลอดตามการพัฒนาของประเทศ แต่เป็นไปเพื่อการสร้างรายได้ให้กับรัฐคือมีการปรับอัตราขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ การพูดคุยเรื่องการขึ้นภาษีสุราเพื่อลดการบริโภคเพื่อสุขภาพของประชาชนและสังคมโดยรวมมีความพยายามพูดกันมากขึ้นในช่วงสองสามปีหลังมานี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการมีองค์กร สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) ซึ่งได้เงินงบประมาณจากภาษีบุหรี่และสุรา จำนวน 2% เพื่อดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากบุหรี่ และสุรา ทำให้สสส. มีภารกิจโดยตรงที่ต้องสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาอันสืบเนื่องจากการบริโภคบุหรี่และสุรา แต่พลันเมื่อวันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม 2548 ในรายการนายกทักษิณคุยกับประชาชนที่ ฯพณฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงเรื่องการขึ้นภาษีสุราของไทยที่อาจจะผิดวิธี เป็นผลให้ปริมาณการบริโภคสุราไม่ได้ลดลง แต่เป็นเพียงแค่เปลี่ยนจากการบริโภคสุรากลุ่มราคาแพงมาเป็นสุรากลุ่มราคาถูก ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องแนวทางการขึ้นภาษีเพื่อลดปริมาณการบริโภคสุราทั่วไปในสังคม ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดี ต้องชื่นชมนายกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่นายกกล่าวว่าต้องปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตในด้านสุราครั้งใหญ่ เพราะวัตถุประสงค์ของการขึ้นภาษีสรรพสามิตไม่ใช่ตัวเงินเป็นตัวนำ แต่เพื่อนำไปสู่วัตถุประสงค์ของการขึ้นภาษีสุราเพื่อลดการบริโภคโดยรวมและลดการบริโภคสุราที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แนวคิดของ ฯพณฯ นายกทักษิณ ถือเป็นการส่งสัญญาณต่อสังคมชัดเจนว่า การขึ้นภาษีต้องคำนึงถึงประโยชน์ด้านสุขภาพของประชาชนและสังคมโดยรวมมากกว่าเม็ดเงินภาษีที่เป็นรายได้ของรัฐ ซึ่งแท้จริงแล้วหากสามารถคำนวณผลกระทบจากการดื่มสุราเป็นตัวเลขเชิงเศรษฐศาสตร์และครอบคลุมผลกระทบได้อย่างรอบด้าน ทั้งที่เกิดกับผู้บริโภคสุราเอง และผู้อื่นที่ได้รับผลกระทบ ทั้งด้านอุบัติเหตุ การทะเลาะวิวาท ความรุ่นแรงต่างๆ รวมทั้งปัญหาสุขภาพ จะพบว่ารายได้ของรัฐจากภาษีสุราไม่คุ้มรายจ่ายเพื่อแก้ไขผลกระทบของการบริโภคสุรา ในกรณีนี้มีประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจ ดังนี้ (1) ระบบการจัดเก็บภาษีเกี่ยวกับสุราของประเทศไทย (2) การเก็บภาษีตมระบบสองเลือกหนึ่งเป็นการคิดภาษีมากกว่า หรือเท่ากับการเก็บตามปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ (3) วิเคราะห์อัตราภาษีปัจจุบันและวิวัฒนาการของการขึ้นอัตราภาษี (4) มาตรการลดการบริโภคสุราปนเปื้อน (5) มาตรการเสริมทางกฎหมายอื่นๆ เพื่อลดการบริโภคสุราโดยรวม (6) ข้อพึงระวัง (7) สรุปข้อเสนอแนะ
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1557.pdf
ขนาด: 3.562Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 2
เดือนนี้: 2
ปีงบประมาณนี้: 362
ปีพุทธศักราชนี้: 306
รวมทั้งหมด: 2,656
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) [22]

    Center for Alcohol Studies


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV