• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ระบบการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

ชุติมา อรรคลีพันธุ์; วนิดา แก้วผนึกรังษี; จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์;
วันที่: 2547
บทคัดย่อ
กระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ริเริ่มพัฒนางานติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยามาตั้งแต่ พ.ศ. 2526 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมและวิเตราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและอันตรายจากการใช้ยาที่เกิดขึ้นในประเทศ บทความนี้กล่าวถึงความเป็นมา และสถานการณ์ในปัจจุบันของกิจกรรมดังกล่าว ประมวลรายงานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับ ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นอกจากศูนย์ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในส่วนกลางแล้ว ได้ขยายออกสู่ส่วนภูมิภาคโดยใน พ.ศ. 2535 จัดตั้งศูนย์เครือข่ายขึ้นในโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 22 แห่งทั่วประเทศ ทำหน้าที่ติดตามอาการข้างเคียงจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพทุกชนิด ทั้งนี้ใช้ระบบ Voluntary Spontaneous Reporting System (SRS) และ Safety Monitoring Program (SMP) ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จำนวนรายงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ใน พ.ศ. 2541-2542 พบว่า sulfamethoxazole+trimethoprim เป็นตัวยาที่มีการรายงานมากที่สุด ในขณะที่กลุ่มยาที่ทำให้เกิดปัญหามากที่สุด ได้แก่ กลุ่ม systemic general antiinfective และส่วนใหญ่เป็นอาการที่เกิดกับผิวหนัง จากการทบทวนงานวิจัยในประเทศ พบว่า อุบัติการณ์ของอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.7 ถึง 22.6 ซึ่งขึ้นกับหลายปัจจัย ได้แก่ วิธีการศึกษา ลักษณะกลุ่มตัวอย่าง การจัดกลุ่มบริการของโรงพยาบาล วิธีติดตามประเมินอาการ และนิยามที่ใช้ อาการไม่พึงประสงค์เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาจากการใช้ยาที่ทำให้ผู้ป่วยต้องกลับมาโรงพยาบาล โดยพบอุบัติการณ์ร้อยละ 6.4 ถึง 23.5 นอกจากนี้ ยังเป็นเหตุให้ระยะเวลาที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลยาวนานขึ้น และค่ารักษาพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งแบบรายงานอาการและงานวิจัยจะช่วยในการพิสูจน์อันตรายจากการใช้ยาให้แน่ชัดยิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจทางกฎหมาย การตัดสินใจเลือกยา และลำดับความสำคัญของปัญหาจากการใช้ยาแต่ละชนิดเพื่อเฝ้าระวังควบคุมอย่างไกล้ชิด
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: 2004_DMJ50_ระบบกา ...
ขนาด: 2.819Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 4
ปีงบประมาณนี้: 187
ปีพุทธศักราชนี้: 115
รวมทั้งหมด: 2,007
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ [161]

    International Health Policy Program Foundation (IHPP)


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV