• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • หน่วยงานเครือข่าย สวรส. - HSRI Alliance
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

อนามัยและสวัสดิการของคนไทยหลังหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตอนที่ 1 เรื่องการเจ็บป่วย การใช้บริการสุขภาพ และการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพของคนไทย

จิตปราณี วาศวิท; วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร; กัญจนา ติษยาธิคม; วลัยพร พัชรนฤมล; นวรัตน์ โอปนพันธ์;
วันที่: 2547
บทคัดย่อ
ข้อมูลด้านอนามัยและสวัสดิการที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการประเมินผลโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นสิ่งสำคัญ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ขอความร่วมมือจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ให้ดำเนินการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในด้วนความครอบคลุมของประชากร ภาวะการเจ็บป่วยของประชากรไทยก่อนและหลังมีนโยบายสุขภาพถ้วนหน้า แบบแผนการเลือกใช้บริการรักษาพยาบาล และอัตราการใช้สิทธิในโครงการฯ ตลอดจนบักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ไม่มีสวัสดิการใดๆ ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา วิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ.๒๕๔๖ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งได้สุ่มครวเรือนตัวอย่างจากทุกจังหวัดเพื่อเป็นตัวแทนของประชากรทั้งประเทศได้ครัวเรือนตัวอย่าง ๒๖,๕๒๐ ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๔๖ ข้อมูลจากการสำรวจสามารถนำมาคำนวณและประมาณค่าเพื่อเป็นตัวแทนของประชากรทั้งประเทศได้โดยการถ่วงน้ำหนักตามระเบียบวิธีทางสถิติ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ภายหลังการดำเนินนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สามารถครอบคลุมประชากร ๔๗.๗ ล้านคนหรือร้อยละ ๗๔.๗ ของประชากรทั้งประเทศ ให้มีหลักประกันการรักษาพยาบาลแต่ยังมีผู้ไม่มีหลักประกันสุขภาพ ๓.๒ ล้านคน (ร้อยละ๕) อัตราการเจ็บป่วยของประชากรในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปี ๒๕๔๖ กรณีผู้ป่วยนอก เท่ากับ ๔.๙๓ ครั้ง/คน/ปี เพิ่มขึ้นจาก ๔.๑๐ ครั้ง/คน/ปี ในปี ๒๕๔๔ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐.๑ อัตราการนอนโรงพยาบาลเท่ากับ๐.๐๗๖ ครั้ง/คน/ปี ในปี ๒๕๔๔ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๘.๘ แบบแผนการเลือกใช้บริการรักษาของประชากรในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเปลี่ยนแปลงพอสมควร โดยเปลี่ยนไปใช้บริการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลปฐมภูมิและโรงพยาบาลชุมชนมากขึ้น การใช้บริการในโรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลศูนย์ ลดลง แสดงถึงความสำเร็จของโครงการฯ การใช้สิทธิรักษาพยาบาล กรณีผู้ป่วยนอกมีการใช้สิทธิบัตรทองร้อยละ ๕๖.๖ กรณีผู้ป่วยในมีการใช้สิทธิสูงถึงร้อยละ ๘๐.๙ ข้อเสนอแนะ รัฐควรให้การสนับสนุนทรัพยากรทั้งงบประมาณและอัตรากำลังเจ้าหน้าที่อย่างเพียงพอให้สอดคล้องกับภาระงานที่เพิ่มขึ้นในสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ และโรงพยาบาลชุมชน อกทั้งควารมีมาตรการดำเนินการให้ผู้ที่ยังไม่มีหลักประกันใดๆ ได้รับสวัสดิการเช่นเดียวกับบุคคลอื่นๆ
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: 2004_DMJ52_อนามัย ...
ขนาด: 149.5Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 59
ปีพุทธศักราชนี้: 33
รวมทั้งหมด: 938
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ [161]

    International Health Policy Program Foundation (IHPP)


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV