บทคัดย่อ
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่นักสื่อสารสุขภาพ หรือ นสส.ที่ปฏิบัติงานสื่อสารสุขภาพในพื้นที่จังหวัดแพร่และกาญจนบุรีซึ่งเป็นผลจากงานวิจัยช่วงแรก ให้สามารถดำเนินงานได้ด้วยตนเอง สนับสนุน นสส. เป็นวิทยากรกระบวนการเพื่อสามารถสร้างนสส.รุ่นใหม่ ขยายแนวคิดการสื่อสารสุขภาพท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดใกล้เคียง และวิเคราะห์จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดำเนินงานวิจัยด้วยหลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) จากการดำเนินงานหนึ่งปีก่อเกิดการจัดตั้งเป็นชมรมนสส. มีการจัดการภายในกลุ่มโดยคณะกรรมการที่ผ่านการคัดเลือก ให้ความสำคัญต่อการทำความเข้าใจในเป้าหมายของการทำงาน สร้างช่องทางการสื่อสาร จัดประชุมรวมทั้งมีการพบปะอย่างไม่เป็นทางการกันอย่างสม่ำเสมอ และจัดทำทำเนียบ ทำให้นสส.สามารถทำงานร่วมกัน มีการจัดงานเปิดตัวเพื่อให้นสส.เป็นที่รู้จักและเป็นการขยายเครือข่ายนสส.ในพื้นที่ นสส.จำนวนหนึ่งที่มีศักยภาพได้รับการเสริมความรู้เพื่อเป็นนสส.วิทยากรกระบวนการ ซึ่งนสส.กลุ่มนี้สามารถสร้างนสส.รุ่นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่แนวคิดและผลงานสื่อสารสุขภาพท้องถิ่นด้วยการจัดทำสื่อสปอตเสียง แผ่นพับ วีดิทัศน์ และจัดประชุมผู้เกี่ยวข้องจากจังหวัดใกล้เคียง 8 จังหวัด คือ น่าน ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ พะเยา นครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี ซึ่งได้รับความสนใจและมีการประสานการดำเนินงานระหว่างพื้นที่ในเวลาต่อมา ผลจากการดำเนินงานทำให้เห็นว่างานสื่อสารสุขภาพท้องถิ่นมีคุณลักษณะ 1) ประกอบด้วย นสส.ที่มีความตั้งใจจริงและมีจิตสาธารณะ มีความหลากหลายช่วยเสริมเติมเต็มซึ่งกันและกัน และสามารถเชื่อมโยงเข้ากับงานประจำของตน 2) การรวมกลุ่ม นสส. เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนงาน 3) ข้อมูลและความรู้เรื่องสุขภาพมีความสำคัญ 4) ช่องทางการสื่อสาร คือ สื่อบุคคลและสื่อท้องถิ่นมีความหลากหลาย และ5) ได้รับการสนับสนุนจากสังคมโดยเฉพาะในระดับจังหวัด เพื่อให้มีการสื่อสารสุขภาพท้องถิ่นในสังคมไทย จึงควรกำหนดให้นสส.ท้องถิ่น และงานสื่อสารสุขภาพท้องถิ่นปรากฏในระบบสุขภาพ สร้างกลไกเสริมสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นนสส. เป็นที่ยอมรับมีโอกาสแสดงผลงาน มีกลไกสร้างความยั่งยืนด้วยเครือข่ายและสร้างกลไกสนับสนุนจากสังคมทั้งในระดับท้องถิ่นและประเทศ
บทคัดย่อ
The objectives of this project were to empower “Health Communicators” (NorSorSor) who communicate information on health in Phrae and Kanchanaburi Provinces as well as to enable NSS groups to operate independently. Additional objectives were to train some NSS members as “facilitators” in order to establish a new generation of NSS, to extend the principles of local health communication to people in nearby provinces, and to analyze results in preparation for policy recommendations. This research was conducted under the principle of Participatory Action Research.
As part of a one-year operation establishing the NorSorSor Clubs, both in Phrae and Kanchanaburi provinces, the selected committees managed the groups by focusing on understanding the objectives of the work, providing communication channels, holding meetings, conducting regular unofficial meetings, and providing the lists of NSS members. From these initiatives, the NSS members were able to work together. In addition, an opening ceremony was held to introduce the NSS group and to extend the communicator networks in the area. Some potential health communicators were additionally trained to become facilitators which will enable this group to successfully establish a new generation of NorSorSor. In addition, they disseminated their ideas and local work experiences through various media such as an advertising spot, a brochure, a video and a special meeting with relevant persons from 8 nearby provinces; Nan, Lamphun, Lampang, Uttaradit, Phayao, Nakhon Pathom, Rachaburi, and Phetchaburi. This meeting attracted much interest and encouraged coordinated expansion into other areas.
The result from the operation shows that the features of local health communication work consist of 1) Health Communicators (NorSorSor) who pay attention and possess a sense of public spirit, including abilities to support and co-operate together and link this work with their everyday responsibilities; 2) integration of NorSorSor as a significant working force in the community; 3) information and knowledge about health; 4) communication channels through personal and local media; and 5) the support of society at large, especially at a provincial level.
In order to communicate local health communication in Thai society, the need for local health communicators and local health communication must be recognized and established as a part of health management system. In addition, mechanism should be created to enhance the pride of health communicators by offering a chance to show their results, to provide sustainable networks which are supported by society of both local and national levels.