• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การทบทวนเอกสารวิชาการ บทเรียนการแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยาในประเทศต่างๆ

นิธิมา สุ่มประดิษฐ์;
วันที่: 2552-04
บทคัดย่อ
การควบคุมหรือแก้ไขปัญหาเรื่องเชื้อดื้อยาได้มีการหารือในระดับนานาชาติ เช่น ในการประชุม World Health Assembly (WHA) ในปี 1998 ที่ประชุมได้มี resolution กระตุ้นให้ประเทศสมาชิกดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องเชื้อดื้อยา ในปี 2000 องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ได้ขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันปกป้องความหายนะด้านสุขภาพในอนาคต (health care catastrophe of tomorrow) และได้จัดทำและออกหนังสือชื่อ A global strategy for the containment of antimicrobial resistance ซึ่งวิธีการที่ระบุในหนังสือนี้อาศัยการทำงานร่วมกันแบบสหสาขา (multidisciplinary and coordinated approach) อย่างไรก็ตามข้อเสนอที่จัดทำโดย WHO ไม่ได้รับการตอบรับในการนำไปใช้ใน กลุ่มประเทศสมาชิกเนื่องจากว่าไม่มีการจัดสรรทรัพยากรด้านบุคคลและงบประมาณที่เพียงพอในปี 2005 WHA ขอให้มีการเพิ่มบทบาทการเป็นผู้นำของ WHO ในการควบคุมและแก้ไขปัญหาเรื่องเชื้อดื้อยา และขอให้ WHO ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ที่จัดทำโดย WHO (A global strategy for the containment of antimicrobial resistance resolution) ไม่ค่อยถูกนำไปใช้และมักไม่ได้รับการยอมรับจากผู้กำหนดนโยบายจากประเทศต่างๆเนื่องจากมีความยากในการปฏิบัติเพราะแต่ละประเทศมีปัจจัยที่แตกต่างกัน ในประเทศที่พัฒนาแล้ว แม้จะมีระบบการควบคุมการกระจายยาที่ดีแต่ก็ยังมีปัญหาด้านการประสานความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งพบว่ามีประเทศในยุโรปบางแห่งที่ยาปฏิชีวนะหาซื้อได้ง่ายโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์หรือมีการเก็บยาปฏิชีวนะที่กินไม่หมดไว้ใช้ในคราวต่อไป สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาการควบคุมหรือการแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยามีความยากกว่า เพราะประเทศในกลุ่มนี้มักมีระบบดูแลสุขภาพที่ไม่ดี มีปัญหาความยากจน และการไม่มีประสิทธิภาพในการประสานกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา ดังนั้น แต่ละประเทศจึงมีการดำเนินการในการควบคุมหรือแกไขปัญหาเรื่องเชื้อดื้อยากันเอง แต่จะแตกต่างในระดับความเข้มข้นของการดำเนินการ การดำเนินการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะสำเร็จมากน้อยเพียงใดขึ้นกับขนาดของประเทศและความจริงจังของของภาครัฐในการแก้ปัญหาดังกล่าว ประเทศที่มีจำนวนใบสั่งยาและปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะในคนไข้นอกลดลงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ ทวีปยุโรป (ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม สเปน เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสวีเดน) ทวีปเอเชีย-แปซิฟิค (เกาหลีใต้ ไต้หวัน และออสเตรเลีย) และทวีปอเมริกา (สหรัฐอเมริกาแคนนาดา และชิลี) ซึ่งในรายงานนี้จะนำเสนอเฉพาะในบางประเทศ คือ เกาหลีใต้ ใต้หวัน ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม สวีเดน ชิลี และสหรัฐอเมริกา
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1554.pdf
ขนาด: 290.3Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 3
ปีพุทธศักราชนี้: 2
รวมทั้งหมด: 413
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV