• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การสร้างเสริมสุขภาพตามวิถีมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้;
วันที่: 2552-04
บทคัดย่อ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สนับสนุนให้สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สวรส.ภาคใต้ มอ.) และสมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข ดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพตามวิถีมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วย 2 โครงการย่อย คือโครงการบูรณาการองค์ความรู้บทบัญญัติศาสนาอิสลามกับการสร้างสุขภาพ และโครงการทำความเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นและพัฒนาเครือข่ายการทำงานในกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขห้าจังหวัดชายแดนใต้ โครงการบูรณาการองค์ความรู้บทบัญญัติศาสนาอิสลามกับการสร้างสุขภาพเป็นการทบทวนและศึกษาองค์ความรู้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ 5 ประเด็น คือ โรคเรื้อรัง (หัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน และความดันโลหิตสูง) อาหารและโภชนาการ ทันตสุขภาพ โรคติดต่อ และสุขภาพจิต โดยศึกษาจากบัญญัติอิสลาม ซึ่งประกอบไปด้วย อัลกุรอานและหะดีษ และใช้ความรู้จากประสบการณ์ของผู้รู้หรือผู้มีประสบการณ์ นำมาวิเคราะห์ภูมิปัญญา ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ในอัลกุรอานและหะดีษ เพื่อการบูรณาการกับการแพทย์แผนปัจจุบัน นอกจากจะได้ชุดความรู้ในแต่ละประเด็นแล้ว ความคาดหวังสำคัญที่สุดคือกระบวนการของโครงการจะทำให้ผู้นำศาสนาเข้าใจและให้ความสำคัญกับการพัฒนาสุขภาพชุมชนทั้ง 5 ประเด็น และทำให้บุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเข้าร่วมในโครงการสามารถบูรณาการบทบัญญัติของศาสนากับการทำงานบริการทางการแพทย์ทั้ง 5 ประเด็น โครงการทำความเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นและพัฒนาเครือข่ายการทำงานในกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขห้าจังหวัดชายแดนใต้ เป็นการส่งเสริมให้บุคลากรสาธารณสุขมีความเข้าใจในวัฒนธรรมมลายูและวัฒนธรรมอิสลาม เพื่อนำความเข้าใจในวัฒนธรรมดังกล่าวมาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อเพิ่มความพึงพอใจให้กับประชาชน การดำเนินงานใช้การจัดให้มีพื้นที่สาธารณะ ใช้กระบวนการสุนทรียสนทนา เป็นเวทีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเครือข่ายการทำงานระหว่างบุคลากรสาธารณสุขด้วยกันและนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ ความคาดหวังที่นอกเหนือจากทำให้บุคลากรสาธารณสุขปรับวิถีการบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่แล้ว ยังคาดหวังว่าจะใช้วัฒนธรรมและสุขภาพสื่อสารให้เกิดสันติสุขภาวะขึ้นในพื้นที่ที่มีความรุนแรงอยู่
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1578.pdf
ขนาด: 754.5Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 4
ปีพุทธศักราชนี้: 2
รวมทั้งหมด: 318
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV