• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ความสัมพันธ์ระหว่างประสาทส่วนรอบเสื่อมกับการเกิดแผลที่เท้าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รักษาที่โรงพยาบาลวิเชียรบุรี ศูนย์สุขภาพชุมชนพุเตย และศูนย์สุขภาพชุมชนโคกปรง ในปีงบประมาณ 2549

วิสัน เทียนรุ่งโรจน์; Vison Thienrungroj;
วันที่: 2551
บทคัดย่อ
ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของโรคเบาหวานคือ เส้นประสาทส่วนรอบเสื่อม ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดแผลที่เท้าจนเป็นเหตุให้ต้องตัดเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน การหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะประสาทส่วนรอบเสื่อมกับการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานเพื่อเป็นข้อมูลที่จะพัฒนาการดูแลเท้าเชิงป้องกันของผู้ป่วยในคลินิคเบาหวาน โดยการศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนและแบบประเมินสภาพเท้าผู้ป่วยเบาหวานในคลินิคเบาหวาน โรงพยาบาลวิเชียรบุรี 1,029 ราย ศูนย์สุขภาพชุมชนพุเตย 297 ราย และศูนย์สุขภาพชุมชนโคกปรง 308 รายในช่วงเดือนตุลาคม 2548 ถึงกันยายน 2549 เป็นผู้ป่วยชายร้อยละ 31.51 หญิงร้อยละ 68.59 อายุ 35 - มากกว่า 75 ปี พบผู้ป่วยชาเท้า 404 คน (ร้อยละ 24.72) ผู้ป่วยที่ชาเท้ามีแผลที่เท้า 60 คน (ร้อยละ 14.85) ผู้ป่วยไม่ชาเท้ามีแผลที่เท้า 47 คน (ร้อยละ 3.82). ในผู้ป่วยชาเท้ามีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า 7.92 เท่าของผู้ป่วยไม่ชาเท้า ผู้ป่วยที่เป็นแผลที่เท้ามีระดับน้ำตาลสูง 79 คน (ร้อยละ 73.82) และระดับน้ำตาลที่พบ 125-179 มก./ดล. และพบว่าผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลตั้งแต่ 125 มก./ดล. และสูงกว่าผู้ที่มีน้ำตาลปรกติ 4.39 เท่า ฉะนั้นการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลสูงในเลือด และอาการชาเท้าที่เกิดจากเส้นประสาทส่วนรอบเสื่อม การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการดูแลสุขภาพเท้าในผู้ที่มีเท้าชาป้องกันการเกิดแผลที่เท้าได้

บทคัดย่อ
The increasing incidence of diabetes mellitus (DM) every year has resulted in multiple complications of DM. Diabetic neuropathy is one of the most important complications; it causes diabetic foot and leads to amputation of the legs. In a rural hospital, the relationship between neuropathy and foot ulcer provides important information for the development of a preventive foot-care program in a DM clinic. A retrospective study was performed from medical records and diabetic foot evaluations from October 2005 to September 2006; a total of 1,029 diabetic patients from Wichianburi Hospital, 247 from the Putaey primary care unit and 308 from the Kokeprong primary care unit, were studied. Of the total, 31.51 percent were males and 68.49 percent females; 404 patients (24.72%) had neuropathy, 60 patients (14.85%) in this group had foot ulcer, and 47 of them (3.82%) had foot ulcer without neuropathy. The risk of foot ulcer in neuropathic patients was almost eight-fold (7.92 times) greater than that of non-neuropathic patients. Seventynine patients with foot ulcer had hyperglycemia; the mean blood glucose levels ranged between 125 and 179 mg/dl, and blood glucose levels of more than 125 mg/dl were 4.39- fold greater than the normal glucose level. Foot ulcer in diabetic patients was related to neuropathy and blood glucose levels; thus well-controlled blood glucose and good foot care in diabetic neuropathic patients is important in preventing foot ulcer.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v2n1 ...
ขนาด: 173.9Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 2
ปีงบประมาณนี้: 123
ปีพุทธศักราชนี้: 68
รวมทั้งหมด: 882
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV