• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การศึกษาแบบเร่งด่วนในการถ่ายโอนสถานีอนามัยและโรงพยาบาลออกนอกระบบ

Hawkins, Loraine; Jaruayporn Srisasalux; Sutayut Osornprasop; สุทยุต โอสรประสพ; จรวยพร ศรีศศลักษณ์;
วันที่: 2552
บทคัดย่อ
การศึกษาประเมินผลการถ่ายโอนสถานีอนามัยจากกระทรวงสาธารณสุขไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และโรงพยาบาลออกนอกระบบในครั้งนี้ เป็นการศึกษาแบบเร่งด่วน ใช้เวลา 3 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม - 7 เมษายน 2552 วิธีการศึกษาประกอบด้วย การทบทวนเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) รองผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้เกี่ยวข้องในหน่วยงานส่วนกลาง คือ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมบัญชีกลาง และคณะกรรมการการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น (คกถ.) ได้ทำการศึกษาสถานีอนามัย (สอ.) ที่ถ่ายโอน 5 แห่ง และโรงพยาบาลออกนอกระบบ 1 แห่ง ในพื้นที่ 6 จังหวัดคือ จังหวัดอุดรธานี เชียงใหม่ ภูเก็ต นครศรีธรรมราช สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม เป็นการประเมินตามวัตถุประสงค์ของหลักการกระจายอำนาจ คือ มุ่งประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ด้วยระบบที่ยืดหยุ่นและมีพลวัต และเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน จากการศึกษาพบว่า สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ ด้านการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและชุมชน พบว่า สอ. ที่ถ่ายโอน มีบริการตามความต้องการของ อบต. และชุมชน และได้รับงบประมาณมากขึ้นจาก อบต. ในการเพิ่มการบริการ ด้านความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ พบว่า สอ. ถ่ายโอน 3 แห่ง สามารถตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้รวดเร็วขึ้น สามารถคิดริเริ่มได้มากขึ้น ส่วน สอ. อีก 2 แห่ง ยังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านระบบ ยังมีประเด็นเรื่องกฎหมาย กฎระเบียบ โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณการถ่ายโอนล่าช้า ยังต้องได้รับการแก้ไข ด้านการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน พบว่า นายก อบต.และสภา อบต. มีความกระตือรือร้นที่จะทราบความต้องการของชุมชน ด้านสุขภาวะและบริการสาธารณสุข ส่วนผลการศึกษาเกี่ยวกับโรงพยาบาลออกนอกระบบ พบว่า รูปแบบของโรงพยาบาลบ้านแพ้วได้รับการออกแบบมาอย่างดี มีความชัดเจน และสอดคล้องกับบริบท โรงพยาบาลประสบความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการและการเพิ่มรายได้ ความใกล้ชิดกับชุมชนเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว โรงพยาบาลสามารถใช้การมีส่วนร่วมของชุมชนช่วยพัฒนาความโปร่งใส และความรับผิดชอบต่อการดำเนินการและผลงานในการให้บริการ

บทคัดย่อ
This research was undertaken to evaluate the devolution of health centers and hospital autonomy in Thailand. The assessment team conducted literature and document review and interviews with the Provincial Health Office (PHO), District Health Office (DHO), Provincial Governor’s Office and Department of Local Administration (DLA), the Contracting Unit for Primary Care (CUP) Hospital, Tambon Administrative Organization (TAO) and health center (HC) staff in five devolved health centers and five nondevolved health centers and a hospital-owned primary care unit (PCU) in six provinces. In relation to the three stated objectives of decentralization, the team’s findings concerned changes in flexibility, responsiveness and participation following devolution of health centers to TAOs. Findings on the devolution of health centers were as follows: (1) increased management flexibility: three of the devolved health centers had positive perceptions of improvement in management flexibility, in the sense that future decision-making is expected to be faster and there should be greater scope for initiative; (2) increased responsiveness to the community and to patients: three devolved health centers could point to a number of ways in which service delivery had improved and new services had been provided in response to the needs and preferences of the community; and (3) increased participation of the community: all five TAO CEOs and Councils were active in obtaining community input on health and health service delivery. Findings on hospital autonomy were as follows: (1) the Ban Phaeo Hospital model was found to be well-designed, clear and consistent. Its performance in improving service quality and increasing its revenue had been highly successful; (2) community support for the hospital has been a major success factor but mechanisms for patient and community feedback on priorities and service delivery performance could be strengthened to improve accountability and better align service priorities with the needs and preferences of users; (3) this model should be replicable in other MOPH hospitals, except small community hospitals serving small, dispersed populations.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v3n2 ...
ขนาด: 249.7Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 10
ปีงบประมาณนี้: 241
ปีพุทธศักราชนี้: 142
รวมทั้งหมด: 1,809
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV