บทคัดย่อ
โรคมือ เท้าและปาก เป็นโรคติดเชื้อไวรัส พบมากในเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ใน พ.ศ. 2549 ในประเทศไทยพบผู้ป่วย 3,961 ราย เสียชีวิต 7 ราย และในจังหวัดนครราชสีมามีผู้ป่วย 85 ราย เสียชีวิต 3 ราย เชื้อที่เป็นสาเหตุคือ เอนเทอโรไวรัส 71 การศึกษาเชิงพรรณนาวิทยาการระบาดโรคมือ เท้าและปากในอำเภอชุมพวงในช่วงต้น พ.ศ. 2545 จนถึง 30 กันยายน 2550 จากข้อมูลการสอบสวนโรคเฉพาะราย จากเวชระเบียนผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยใน จากการวินิจฉัยของแพทย์ทุกราย และข้อมูลประชากรกลางปีจากทะเบียนราษฎร์ พบว่ามีผู้ป่วยทั้งสิ้น 47 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต เป็นผู้ป่วยชาย 31 ราย หญิง 16 ราย คิดเป็นอัตราส่วน 1.9:1 เป็นผู้ป่วยนอก 40 ราย และผู้ป่วยใน 7 ราย อาการส่วนใหญ่มีไข้ ผื่นที่ฝ่ามือฝ่าเท้า พบมากที่ตำบลชุมพวง ไม่พบผู้ป่วยที่ตำบลโนนตูม ส่วนใหญ่พบหมู่บ้านละ 1 ราย ช่วงที่พบผู้ป่วยมากคือช่วงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม จากการตรวจอุจจาระและซีรั่ม 2 ครั้ง ผู้ป่วยร้อยละ 93.62 ตรวจพบเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 จากอุจจาระใน พ.ศ. 2549 และ 2550 ปีละ 2 รายเท่ากัน ระบบเฝ้าระวังควรมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่สถานบริการปฐมภูมิให้สามารถส่งต่อผู้ป่วยที่สงสัยมาพบแพทย์ การที่โรงพยาบาลสามารถส่งสิ่งส่งตรวจได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจะส่งเสริมให้สามารถทราบเชื้อที่เป็นสาเหตุได้ดีขึ้น การควบคุมโรคต้องให้ความรู้แก่ชุมชน การป้องกันมิให้เด็กปรกติรับเชื้อจากเด็กที่ป่วยโดยการคัดแยกเด็กปรกติออกจากเด็กป่วยทั้งในโรงเรียนหรือศูนย์เด็กเล็ก
บทคัดย่อ
Hand, foot and mouth disease is a communicable disease caused by a virus that
infects mostly preschool children. In 2006, there were 3,961 cases and seven deaths in
Thailand; Nakhon Ratchasima Province had 85 cases and 3 deaths. Enterovirus 71 was
the causative pathogen. This descriptive study conducted at Chumphuang District,
Nakhon Ratchasima Province during the period from 2002 to September 30, 2007, used
individual disease investigation forms, outpatient and inpatient records and the midyear
population data of the Ministry of Interior. There were 47 cases, no deaths, 31 males
and 16 females among them; the sex ratio was 1.9:1. Most of them were found during
June to October. Forty were treated as outpatients and only seven were admitted to the
hospital. Fever, and palm and sole rash were the common symptoms; most patients were
from Chumphuang Tambon, and no case was detected at Nontoom Tambon; only one
patient was found in each village. Stool and paired serum samples were derived from
93.62 percent of the patients and Enterovirus 71 was isolated from two stool specimens in
2006 and 2007. According to the disease surveillance system, primary health-care staff
should be trained to screen and refer the suspects to hospitals, viral isolation should be
supported and promoted among the health-care services. The disease-control measures
should emphasize community health education and the isolation of patients from other
children either in school or in child-care centers.