• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การศึกษาสมรรถนะของแบบคัดกรองภาวะเลือดมีไขมันมากเกิน พ.ศ. 2551

อัญชลี สงวนตระกูล; วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี; ทศพร วิมลเก็จ;
วันที่: 2552
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เพื่อตรวจสมรรถนะของแบบการคัดกรองภาวะเลือดมีไขมันมากเกิน 4 แบบ แบบที่ 1 ตามแนวทางของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย แบบที่ 2 ตามแนวทางของ National Cholesterol Education Program (NCEP),แบบที่ 3 ตามแนวทางของ British Hyperlipidemia Association (BHA), และแบบที่ 4 ที่ผู้วิจัย (อัญชลี) พัฒนาขึ้นมาโดยการใช้การตรวจไขมันในเลือดทางห้องปฏิบัติการเป็นมาตรฐานทอง (gold standard) การศึกษาเป็นแบบพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรวัยแรงงาน 2,000 คน อายุ 35 ปีขึ้นไป ที่มารับการตรวจร่างกายประจำปีที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน พ.ศ. 2551 ชนิดไขมันที่ตรวจทางห้องปฏิบัติการคือ โฆเลสเทอรอล ไตรกลีย์เศอไรด์ และ เอชดีแอล ส่วนแอลดีแอลนั้นใช้วิธีคำนวณตามสูตรของฟรีดวอล ผลการศึกษาโดยรวมพบว่า แบบคัดกรองทั้ง 4 แบบมีความไว และความจำเพราะร้อยละ 30-99 และ 0.5-74 ตามลำดับ มีพื้นที่ใต้ส่วนโค้ง (AUC) อยู่ระหว่าง 0.506-0.671 แบบคัดกรองที่ 4 มีความไวสูงสุด และความจำเพาะต่ำสุด คือ ร้อยละ 99.4 และ 34.3 ตามลำดับ แบบคัดกรองที่ 3 มีพื้นที่ใต้ส่วนโค้งดีที่สุด คือ 0.671 รองลงมาคือ แบบคัดกรองที่ 1 (AUC=0.621) แบบคัดกรองที่ 1 มีความจำเพาะสูงสุด แต่มีความไวต่ำสุด คือ ร้อยละ 74 และ 45.2 ตามลำดับ ไม่มีแบบคัดกรองใดเลยที่มีค่าความไวและค่าความจำเพาะสูงทั้งสองอย่าง โดยสรุปแบบคัดกรองภาวะเลือดมีไขมันเกินในผู้ใหญ่ไทยทั้ง 4 แบบยังมีสมรรถนะปานกลางและควรมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น

บทคัดย่อ
This cross-sectional descriptive study was aimed at determining the efficiency and cost-effectiveness of four serum lipid screening methods: Method 1 proposed by the Thai Royal Medical Association (TRMA), Method 2 of the National Cholesterol Education Program (NCEP), Method 3 of the British Hyperlipidemia Association (BHA), and Method 4 invented by the first author. Study subjects included 2,000 workers aged 35 years and older who underwent an annual health examination provided at King Chulalongkorn Memorial Hospital during the period July-September 2008. All subjects answered the questionnaires of four screening methods and took blood tests for TC, TG, and HDL. LDL was calculated by Friedewald’s formula. The performance of each screening method was then analyzed, using lipid blood test as the gold standard. Overall sensitivity and specificity of the screening methods were 30 to 99 and 0.5 to 74 percent respectively, with the AUC of 0.506 to 0.671. Method 4 had the highest sensitivity and the lowest specificity at 99.4 percent and 34.3 per cent, respectively. Method 3 and Method 1 had higher AUC of 0.671 and 0.621 respectively. Method 2 had high specificity and low sensitivity (74% and 45.2%). In conclusion, the performance of the four serum lipid screening methods used in Thai adults was modest and therefore the methods need further improvement.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v3n2 ...
ขนาด: 246.0Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 2
ปีงบประมาณนี้: 52
ปีพุทธศักราชนี้: 24
รวมทั้งหมด: 730
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV