บทคัดย่อ
ทารกแรกคลอดน้ำหนักตัวน้อยมีอัตราตายและความเจ็บป่วยหรือความพิการสูงกว่าทารกคลอดน้ำหนักปรกติ การศึกษาผู้คลอดที่มีลักษณะเสี่ยงต่อการคลอดทารกน้ำหนักตัวน้อยจึงมีประโยชน์ในการนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนแก้ปัญหาต่อไป การศึกษานี้เป็นแบบศึกษาย้อนหลังในหญิงที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์และคลอดทารกมีชีพ จากบันทึกข้อมูลการคลอดของโรงพยาบาลพนมสารคามในช่วงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2548 ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550 จำนวน 3,622 ราย พบหญิง 174 รายที่คลอดทารกน้ำหนักตัวน้อยใช้เป็นกลุ่มศึกษา และอีก 177 รายเป็นกลุ่มเปรียบเทียบโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างมีระบบ ศึกษาปัจจัยเสี่ยงของผู้คลอดทางด้านชีวภาพและสูติกรรมพบการคลอดทารกน้ำหนักตัวน้อยร้อยละ 4.8 วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของผู้คลอดที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดทารกน้ำหนักตัวน้อยโดยใช้การวิเคราะห์แบบ univariate และสมการถดถอยลอจิสติคพหุคูณ ผลการวิเคราะห์แบบ univariate พบว่าผู้คลอดอายุน้อยกว่า 18 ปี มีอายุครรภ์ขณะคลอดน้อยกว่า 37 สัปดาห์ จำนวนการฝากครรภ์ไม่ครบ ๔ ครั้ง ส่วนสูงน้อยกว่า 145 เซนติเมตร เป็นปัจจัยเสี่ยง จากการวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยลอจิสติคพหุคูณพบว่าอายุครรภ์ขณะคลอดน้อยกว่า 37 สัปดาห์ ผู้คลอดอายุน้อยกว่า 18 ปี การตั้งครรภ์แฝด จำนวนการฝากครรภ์น้อยกว่า 4 ครั้ง ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์ ครรภ์เป็นพิษเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์ต่อการคลอดทารกก่อนกำหนด
บทคัดย่อ
Low birth weight newborns are more vulnerable to higher mortality and morbidity
rates than normal weight infants. Research to determine the maternal risk factors would
be valuable in planning a way to solve the problem. This retrospective study was aimed
at finding out those risk factors in women of more than 28 weeks pregnancy from the
delivery records during the period from September 1, 2005 to October 31, 2007. There
were 3,622 deliveries, of which 174 delivery incidents of low birth weight infants were
taken as the study group and 177 deliveries of normal birth weight infants as the control
group by systematic randomized sampling. The prevalence of low birth weight in this
study was 4.8 percent. Results from the univariate analysis showed that a maternal age
of less than 18 years, a gestational age of less than 37 weeks, attending ANC less than four
times, and maternal height less than 145 centimeters were risk factors. Multiple logistic
regression analysis revealed the risk factors to be maternal age being less than 18 years
old, gestational age less than 37 weeks, twin pregnancies, ANC less than four times, premature
membrane rupture, and pregnancy-induced hypertension.