• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การศึกษาลักษณะของปัญหาทางประสาทจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเสพสารระเหยในกลุ่มเด็กและเยาวชน

ขัตติยา รัตนดิลก;
วันที่: 2552-05
บทคัดย่อ
การป้องกันการเสพสารระเหยนั้นทำได้ยาก เนื่องจากสารระเหยเป็นสารที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในสารที่จำเป็นต้องใช้ในครัวเรือนและงานอุตสาหกรรม ไม่สามารถทำให้เป็นสารเสพติดที่ผิดกฎหมายเหมือนกับยาเสพติดชนิดอื่นๆ การให้ความรู้เรื่องพิษภัยของสารเสพติดสารระเหยจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ทั้งต่อผู้ปกครองและตัวเด็กและเยาวชนเอง โดยจะต้องเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็ก ควบคู่ไปกับการลดสาเหตุของการเสพ ซึ่งพบว่าเด็กที่เสพสารระเหยบางรายเท่านั้นที่ก้าวจากการเป็นผู้ทดลองเสพเป็นผู้เสพติดอย่างหนัก โดยเด็กที่ไม่หยุดเพียงแค่การทดลองเสพนั้น มักเป็นเด็กที่มีประวัติของการมีปัญหาครอบครัวและอยู่ในสภาพวะยากแค้นขัดสน พฤติกรรมการใช้สารเสพติดนั้นเป็นพฤติกรรมที่ป้องกันได้ และการติดสารเสพติดนั้นเป็นโรคทางสมองที่รักษาได้ ไม่ว่าเด็กและเยาวชนจะเสพสารเสพติดด้วยสาเหตุใด ไม่ว่าจะเป็นเพื่อรักษาความเจ็บป่วยของตนเอง เช่น การลดความเศร้า ความกังวล หรืออยากรู้อยากลอง ตามเพื่อน การเสพสารเสพติดซ้ำๆ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสมองทั้งสิ้น แม้ว่าผู้ที่อายุยังน้อยอาจมีการฟื้นตัวเร็วจากผลกระทบของการเสพสารเสพติดเพียงครั้งหรือสองครั้งแต่การเสพสารเสพติดบ่อยครั้งเป็นเวลานานอาจมีผลให้สมองไม่สามารถฟื้นคืนกลับสู่สภาพเดิมได้ งานศึกษาวิจัยส่วนใหญ่เกี่ยวกับสารระเหย ได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของสารระเหยต่อการทำงานของระบบประสาทและการทำงานของสมองโดยออกฤทธิ์คล้ายกับสารเสพติดชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะประเภทที่เป็นตัวกดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System Depressants) แต่อย่างไรก็ตาม งานการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารระเหยในด้านผลกระทบของระบบประสาทและการทำงานของสมองในประเทศไทยนั้นมีน้อยมาก ในขณะที่การศึกษาวิจัยในต่างประเทศมีเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของสารระเหยที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นการศึกษาเพื่อตรวจสอบผลของสารระเหยบางชนิด เช่น โทลูอีน และเป็นการศึกษาถึงผลกระทบในระยะเฉียบพลันของการเสพสารระเหย แต่ยังขาดการศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบของสารระเหยประเภทอื่นๆ และผลกระทบในระยะยาวสำหรับผู้เสพสารระเหยอย่างหนักเป็นระยะเวลานาน อีกทั้งการศึกษาด้านผลกระทบทางประสาทและการทำงานของสมอง โดยมากเป็นการศึกษาในกลุ่มสัตว์ทดลอง ยังขาดการศึกษาในมนุษย์และการศึกษาในมนุษย์ที่มียังขาดการศึกษาเปรียบเทียบกับกลุ่มปกติที่ไม่มีประวัติการเสพสารระเหย และนอกจากนี้การศึกษายังขาดการศึกษาด้านความสามารถในการฟื้นตัวของสมองหลังจากการหยุดเสพ การศึกษาที่จะมีขึ้นต่อไปควรศึกษาผลกระทบของการเสพสารระเหยต่อพัฒนาการของสมองของเด็กและวัยรุ่นในแต่ละช่วงวัยและการศึกษาลักษณะความผิดปกติของระบบประสาทและสมองที่พบในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นที่เสพหนักเป็นระยะเวลานาน โดยแยกระหว่างความผิดปกติที่อาจมีมาก่อนหน้าการเสพและที่เป็นผลมาจากการเสพ เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการพัฒนาแนวทางการป้องกันและบำบัดแก้ไขซึ่งมีอยู่น้อยมากต่อไป
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1641.pdf
ขนาด: 1.955Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 1
ปีงบประมาณนี้: 9
ปีพุทธศักราชนี้: 2
รวมทั้งหมด: 140
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV