บทคัดย่อ
โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เป็นโรงไฟฟ้าจากถ่านหินขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ในแต่ละปีโรงไฟฟ้าแม่เมาะต้องเผาถ่านหินเพื่อผลิตความร้อนสำหรับนำไปใช้ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าถึงประมาณ 17 ล้านตัน ถ่านหินที่ใช้ได้มาจากเหมืองถ่านหินแม่เมาะซึ่งเป็นเหมืองเปิดที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน ทั้งโรงไฟฟ้าและเหมืองถ่านหินสร้างมลพิษที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพได้ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีระบบเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ โดยเฉพาะผลกระทบในระยะยาว การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนผลกระทบทางสุขภาพของประชาชนที่อาศัยในพื้นที่บริเวณโรงไฟฟ้าแม่เมาะและระบบการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพในปัจจุบันและเพื่อให้ข้อเสนอแนะระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพที่เหมาะสม รวบรวมข้อมูลโดยการทบทวนข้อมูลทุติยภูมิ การสัมภาษณ์และการจัดประชุมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องและประชาชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าผลกระทบต่อสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับเหมืองถ่านหินและโรงไฟฟ้าที่สำคัญ ได้แก่ 1) เพิ่มความชุกของโรคระบบทางเดินหายใจในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและหอบหืด 2) ทำให้สมรรถภาพปอดลดลง 3)ทำให้เกิดภาวะหูตึงหรือการสูญเสียการได้ยิน 4) เกิดโรคผิวหนัง ลมพิษ และผื่นคัน 5) เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ 6) ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก และ 7) ทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญจากกลิ่นและการสั่นสะเทือนและพบว่าระบบเฝ้าระวังที่มีอยู่ในปัจจุบันคือระบบเฝ้าระวังของของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งแสดงให้เห็นถึงขนาดของปัญหาและการกระจายของโรค แต่ไม่สามารถแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับโอกาสในการสัมผัสสารเคมี/สารพิษจากการทำงานจากโรงไฟฟ้าและไม่สามารถระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคได้ จากการศึกษาครั้งนี้ ระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าแม่เมาะควรประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด ดังนี้ 1) สถิติการเข้ารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน 2) การมาใช้บริการที่สถานบริการของรัฐ 3) การเฝ้าระวังการตาย 4) สภาพปอดของเด็กนักเรียน 5) การทำงานของปอดในผู้ใหญ่ที่มีปัญหาระบบหายใจ 6) การป่วยเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 7) การป่วยเป็นโรคปอดอักเสบของคนงานเหมืองถ่านหิน และ 8) ความเครียดและความเดือดร้อนรำคาญ ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน คือควรเพิ่มเติมข้อกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม มีการจัดสรรงบประมาณและผู้รับผิดชอบ ซึ่งผู้รับผิดชอบในการดำเนินการควรอยู่ในรูปของคณะกรรมการที่ประกอบด้วยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (แม่เมาะ) ตัวแทนประชาชนที่ได้รับผลกระทบและมีความเสี่ยงและนักวิชาการจากหน่วยงานรัฐ องค์กรอิสระและมหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ
Mae Moh Power Plant is the biggest coal-fired power plant in Thailand. Each year the power plant utilizes over 17 million tons of lignite coal from Mae Moh mine, an open-case mining located in the same area. Both the power plant and coal mine produce pollutants that can affect the environment and human health. However, at present, there is no surveillance system to monitor health effects, especially long-term effects, of people living nearby the power plant. This study aimed to review health impacts among people living nearby Mae Moh power plant, current surveillance system, and to suggest an appropriated health surveillance system. Information was gathered from a literature review, interviewing, and meeting with experts, related persons, and representatives from people living nearby Mae Moh power plant. Data were analyzed by content analysis.
From literature review, it was found that health impacts of coal mining and power plant were 1) increase prevalence of respiratory system diseases, especially chronic obstructive pulmonary disease, asthma 2) reduce pulmonary function 3) hearing loss 4) dermatitis, urticaria, and itchy rash 5) increase risk to get an accident 6) effect to child development 7) annoy due to odor and vibration. The result also found that there was no surveillance system for monitoring health effects of people living nearby Mae-Mao power plant. The current surveillance system was Ministry of Public Health’ surveillance system which showed size of problem and distribution of diseases. It could not provide details on risk exposure and cause of diseases.
It was found that the health indicators that should be monitored were: 1) emergency room visits, 2) hospital visit and service requested, 3) mortality monitoring, 4) pulmonary function of school children, 5) lung function of adults with respiratory problems, 6) chronic obstructive pulmonary disease cases, 7) pneumoconiosis among coal worker, and 8) stress and annoy due to environmental problems.
To implement this program, environmental law should be revised and the requirements for conducting health risk assessment added, in addition a health monitoring system should be set up. The regulatory system should also include grant and operation team to support the surveillance system. The system should be operated by a committee consisted of all involved stakeholders, including Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT)(Mae Moh), representatives from people living nearby Mae Moh power plant, staff from the government office and non-governmental organization, and specialists from an education institutions.