บทคัดย่อ
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างไม่สมเหตุสมผล นอกจากจะทำให้เกิดการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาได้อีกด้วยในหลายประเทศ รวมทั้งในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ มาตรการส่งเสริมการสั่งใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผลหลายๆ มาตรการสามารถเพิ่มการใช้ยาต้านจุลชีพออย่างสมเหตุสมผลได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือเพื่อคัดเลือกมาตรการส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผลที่มีประสิทธิผลและเหมาะสมกับระบบสุขภาพของประเทศไทยมากที่สุด เทคนิคการประชุมกลุ่มถูกนำมาใช้เพื่อคัดเลือกมาตรการดังกล่าว ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้มาตรการส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผล ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากการใช้มาตรการ หากมาตรการนั้นถูกนำมาใช้
การทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผลทั้งในและต่างประเทศทั้งหมด พบว่ามาตรการส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผลมีอยู่หลากหลายมาตรการ เนื่องจากความแตกต่างด้านสถานที่ทำการศึกษา ตลอดจนระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ ทำให้ประสิทธิผลของแต่ละการศึกษาให้ผลที่ไม่สอดคล้องกัน และไม่สามารถเปรียบเทียบประสิทธิผลของแต่ละมาตรการโดยตรงได้ การใช้มาตรการหลายๆ มาตรการร่วมกันมีประสิทธิผลมากกว่าการใช้เพียงมาตรการเดียว นอกจากนี้ มาตรการที่มีประสิทธิผล ได้แก่ มาตรการให้การศึกษา มาตรการสั่งใช้ยาผ่านแบบฟอร์มยาต้านจุลชีพ มาตรการสั่งใช้ยาโดยผ่านความเห็นชอบของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ มาตรการมีเภสัชกรคลินิกทำงานร่วมกับแพทย์ มาตรการเหล่านี้ถูกนำเสนอให้แก่ที่ประชุมเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการคัดเลือก จากนั้นผู้เข้าร่วมประชุมร่วมกันอภิปรายและดำเนินการคัดเลือกมาตรการ
ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่ามาตรการดังกล่าวอาจไม่เหมาะสมสำหรับระบบสุขภาพของประเทศไทย เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการ ยกตัวอย่างเช่น การมีจำนวนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อและเภสัชกรคลินิกไม่เพียงพอ บทบาทของเภสัชกรคลินิกยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับในประเทศที่พัฒนาแล้ว และแพทย์ยังคงมีอำนาจสูงสุดในการสั่งใช้ยา อย่างไรก็ตาม มาตรการที่เรียกว่ามาตรการประเมินการใช้ยา ซึ่งเป็นกระบวนการที่เฝ้าระวังและสนับสนุนการใช้ยาให้มีความสมเหตุสมผล อาจจะสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการแก้ไขปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลได้ นอกจากนี้เภสัชกรผู้มีประสบการณ์การประเมินการใช้ยาต้านจุลชีพเสนอแนะว่านโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการประเมินการใช้ยาจากส่วนกลางมีความจำเป็นอย่างมากและควรจะถูกบังคับใช้ นโยบายที่ชัดเจนดังกล่าวมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผลในระบบสุขภาพของประเทศไทยในอนาคต
บทคัดย่อ
An inappropriate use of antimicrobial is not only a major cause of antimicrobial resistance but also a huge wasted expenditure in many countries including Thailand especially in teaching hospital. Many appropriate antimicrobial prescribing interventions can improve rational antimicrobial use. Therefore, the objective of this study was to select the most appropriate rational antimicrobial prescribing interventions for Thai health care system. The focus group technique was used to select the rational antimicrobial prescribing interventions. The members of focus group included the experts who have had experienced in rational antimicrobial prescribing interventions and stakeholders who would have an impact if the selected interventions were implemented.
Based on all international and national literatures related to interventions, many rational antimicrobial prescribing interventions were available. Due to a diversity of setting and methodology used in each study, the efficacy of interventions was not concluded in a harmonious direction and a comparison between interventions were needed to compare by indirect method. Multifaceted interventions were more effective than single intervention. Moreover, the effective interventions such as education, antimicrobial order form, infectious disease specialist approval and clinical pharmacist acting as a reviewer and decision supporter were proposed to a focus group as a preliminary data. Then discussion and judgment of the intervention selection was made among members.
The consensus of focus group suggested that the above interventions were not appropriate for Thai health care system because there were many limitations. For example, there were not enough infectious disease specialists and clinical pharmacists, the role of clinical pharmacists were not so accepted as compared to developed countries and physicians still had the highest power in prescribing. However, the intervention called drug use evaluation (DUE), a process to monitor and promote the rational use of drugs might be used as a tool for solving this problem. In addition, pharmacists who have had experienced with antimicrobial DUE in hospitals suggested that the explicit policy related to DUE from the central was very necessary and should be restricted. It may be a feasible measure to promote rational antimicrobial use in Thai healthcare system in the future.