• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

บทสังเคราะห์การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนและ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา

นวลตา อาภาคัพภะกุล;
วันที่: 2552
บทคัดย่อ
นับตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน (มิถุนายน 2552) ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ประกอบด้วยจังหวัด ปัตตานี ยะลาและนราธิวาสและบางส่วนของจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอสะบ้าย้อย นาทวี เทพาและจะนะ ยังมีความรุนแรงอยู่อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีความพยายามของหลายฝ่ายมีการปรับยุทธศาสตร์เพื่อการแก้ไขปัญหา แต่ก็พบว่าปัญหาดังกล่าวไม่ได้ลดลงอย่างที่คาดการณ์ไว้ จากข้อมูลอัตราการเกิดความรุนแรงรายวัน คือ 5.05 ครั้งต่อวัน (รายงานสถานการณ์เฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2551 ) ในแต่ละครั้งเกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินสะท้อนให้เห็นถึงความสมานฉันท์ยังไม่ปรากฏ หลายภาคส่วนจึงร่วมมือกันหาทางที่จะแก้ไขปัญหาโดยใช้กระบวนการสร้างความเข้าใจระหว่างกันให้คนในพื้นที่สามารถอยู่ร่วมกันได้ในพื้นที่ที่จัดได้ว่าเป็น “พหุวัฒนธรรม” ดังนั้นด้วยความพยายามของสถาบันวิจัยระบบสุขภาพ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และหน่วยงานวิชาการทั้งจากภาครัฐ เอกชน ปราชญ์ และผู้รู้ในชุมชน จึงร่วมกันจัดให้มี “สุนทรียสนทนา” เกิดขึ้นโดยจัดเป็นยุทธศาสตร์ 3 ปี สิ่งที่คาดว่าจะได้มา คือการขยายกลุ่มพูดคุยสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกันและเกิดนโยบายสาธารณะเพื่อเสนอต่อรัฐบาลกลางในการจัดเป็นนโยบายเพื่อการแก้ปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป นอกจากการใช้กระบวนการสุนทรียสนทนาแล้วสวรส ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยังได้นำข้อคิดดังกล่าวไปสังเคราะห์เพิ่มเติมและนำสู่เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จัดเวทีนักวิชาการเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและจัดทำนโยบายให้สอดคล้องกับพื้นที่ผ่านความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิและนำเสนอข้อคิดเห็นจากพื้นที่โดยผ่านพรรคการเมือง โดยสะท้อนแนวคิดและสิ่งที่คาดหวังว่ารัฐจะนำไปเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นมานาน ทำให้เกิดภาพที่ชัดเจนขึ้น คือการร่วมคิด ร่วมทำ นำไปสู่การดำเนินการโครงการเยียวยาฯ ภายใต้แนวทางการดำเนินงานของสวรส ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และเป็นตัวต่อเล็กๆ ที่เชื่อมโยงกับโครงการอื่นๆ ที่ดำเนินงานโดยองค์กรและหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคมและการเมือง
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1665.pdf
ขนาด: 740.9Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 3
ปีพุทธศักราชนี้: 3
รวมทั้งหมด: 78
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV