บทคัดย่อ
ต้อกระจกเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะตาบอดของประชากรทั่วโลก การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการมองเห็นและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจก โดยสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกในช่วงเดือนมกราคม 2550 ถึงเดือนเมษายน 2550 จำนวน 32 ราย ก่อนผ่าตัดและ 1 เดือนหลังผ่าตัด ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเป็นหญิงมากกว่าชาย อายุ 50-82 ปี เฉลี่ย 62 ปี ผู้ป่วยร้อยละ 50 ไม่ได้ประกอบอาชีพ รายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 57,769 บาท ผู้ป่วยมีสายตามัวเฉลี่ย 23 เดือน การมองเห็นและคุณภาพชีวิตหลังผ่าตัดต้อกระจกสูงขึ้นกว่าก่อนผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี < .05) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยวิธีสหสัมพันธ์เพียร์สันพบว่าคะแนนประสิทธิภาพการมองเห็นสัมพันธ์ทางบวกกับค่าคุณภาพชีวิต (ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ = .567, ค่าพี <.01). จากผลการศึกษาเสดงให้เห็นว่าการผ่าตัดต้อกระจกที่โรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยวด้วยวิธีสลายเลนส์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงและใส่แก้วตาเทียม (Phacoemulsification) โดยจักษุแพทย์ตามวิธีมาตรฐานได้ผลดี ช่วยให้การมองเห็นและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัดดีขึ้น การรักษาผู้ป่วยโรคต้อกระจกวิธีนี้อาจนำไปใช้เป็นแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่โรงพยาบาลชุมชนที่ไม่มีจักษุแพทย์ประจำ เพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึงบริการ ลดอัตราตาบอดจากต้อกระจก เพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี
บทคัดย่อ
Cataract is a significant cause of blindness in the global population. The objective of
this descriptive study was to study visual function (VF) and the quality of life (QOL) in 32
cataract patients treated by phacoemulsification at Bangnamprieo Hospital from January
to April 2007. Information was obtained before and one month after the intervention.
The patients were 12 men and 20 women, aged 50-82 years, with 62 years being the average.
Half of them had no occupation; average family income was 57,769 baht per year.
They suffered low vision for 23 months on average. The VF and QOL scores after one
month of treatment were higher than before, and the VF scores positively correlated to
the QOL scores (r =.567, p <.01). In conclusion, the present study shows higher visual
function and better quality of life scores after the intervention by phacoemulsification
together with the standard of care. The authors recommend this particular measure for
tackling cataract disease in community hospitals without full-time ophthalmologists, in
order to increase the health of the Thai population and improve the quality of life of the
people.