บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบควบคุมประชากรจับคู่ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของภรรยาและ/หรือสามีกับการกระทำรุนแรงของสามีต่อภรรยาในจังหวัดขอนแก่น การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามกับกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมในอัตราส่วน 1:2 กลุ่มศึกษาเป็นสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงจากสามีด้วยสาเหตุจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มารับการปรึกษาจากศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลจังหวัดขอนแก่น 47 ราย และกลุ่มควบคุม ได้แก่ สตรีที่มีสามีและอาศัยในพื้นที่และมีอายุใกล้เคียงกับกลุ่มที่ศึกษา 94 ราย ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มภรรยาที่สามีดื่มฝ่ายเดียวกับกลุ่มภรรยาและสามีดื่มทั้งสองฝ่าย มีโอกาสเสี่ยงต่อการกระทำรุนแรง 4.27 เท่า และ 8.55 เท่าตามลำดับ และพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของภรรยาและ/หรือสามีที่มีผลต่อการกระทำรุนแรง ได้แก่ ปริมาณการดื่มมากกว่า 5 แก้วขึ้นไปต่อครั้ง และการสูบบุหรี่ร่วมด้วย ผู้วิจัยสรุปว่า การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยกระตุ้นสำคัญที่ทำให้เกิดการกระทำรุนแรงในคู่สามีภรรยา
บทคัดย่อ
This research is a matched case-control study, the objective of which was to determine the association
between couples’ alcohol consumption and the violence of husbands against their wives, in Khon
Kaen Province. A structured interview questionnaire was used to elicit data from 47 women attending the
One- Stop Crisis Center of Khon Kaen Hospital, who experienced violence at the hand of their drinking
husbands. Ninety-four married women living in the same neighborhood and in the same age group
served as controls. The results revealed that non-drinking wives whose husbands drank alcohol and
drinking wives and husbands were of risk of spousal violence (4.27 times (adjusted OR=4.27, 95%CI=1.10-
16.62) and 8.55 times (adjusted OR=8.55, 95%CI=1.75-41.90) respectively), compared with non-drinking
couples. Drinking more than five glasses (adjusted OR=4.17, 95%CI=1.14-15.28) and substance abuse
(adjusted OR=3.97, 95%CI=1.04-15.07) were also significantly associated with spousal violence.
In conclusion, alcohol consumption is an important activating factor in spousal violence.