• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

สถานการณ์การบริการและกำลังคนผู้ให้บริการการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐ

รัชนี จันทร์เกษ; ประพจน์ เภตรากาศ; จิราพร ลิ้มปานานนท์;
วันที่: 2552
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของข้อมูลการบริการและกำลังคนผู้ให้บริการการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐในส่วนภูมิภาค วิเคราะห์ข้อมูลการให้บริการเพื่อทราบสถานการณ์การให้บริการการแพทย์แผนไทย วิเคราะห์ข้อมูลกำลังคนผู้ให้บริการเพื่อสร้างความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกำลังคนด้านการแพทย์แผนไทยที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยใช้ข้อมูลผู้ให้บริการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐ ฐานข้อมูลศูนย์ข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข (ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2551) ตัวแปรสำคัญที่ใช้ในการวิเคราะห์ จำนวนสถานบริการ จังหวัดและภาค ประเภทการบริการ ปริมาณและมูลค่าการใช้ยา หลักสูตรการอบรมและจำนวนชั่วโมง ผลการศึกษาแบ่งเป็นสี่ส่วน สรุปได้ดังนี้ ส่วนที่ 1 สถานบริการสาธารณสุขภาครัฐ การกระจายการบริการการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐและจากแบบสำรวจที่ตอบกลับ 3,478 ฉบับ พบว่ามีการจัดบริการแพทย์แผนไทย 2,521 แห่ง ร้อยละ 72.48 โดยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด ร้อยละ 80.05 รองลงมาเป็นภาคกลาง ร้อยละ 76.74 โดยพบการกระจายการบริการอยู่ในภาครัฐครอบคลุมสถานบริการสาธารณสุขในส่วนโรงพยาบาลทุกระดับ เป็นระดับโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปมากที่สุด ร้อยละ 100 รองลงมาเป็นโรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 96.98 ส่วนที่ 2 ประเภทการให้บริการ ประเภทการบริการการแพทย์แผนไทย สถานบริการส่วนใหญ่มีการให้บริการการแพทย์แผนไทยมากกว่า 1 ประเภท ซึ่งประเภทการบริการที่สถานบริการนิยมให้บริการมากที่สุด คือ การรักษาด้วยยาสมุนไพร ร้อยละ 59.26 รองลงมาการนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพ การนวดเพื่อรักษา การอบ ประคบ ร้อยละ 35.19, 35.08 และ 33.29 ตามลำดับ จำนวนผู้รับบริการ จำแนกตามประเภทการบริการ พบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่ได้รับการรักษาด้วยการนวดมากที่สุด ร้อยละ 29.20 รองลงมารักษาด้วยยาสมุนไพร การอบประคบ ร้อยละ 29.20 และ 25.51 และในทุกภาคพบว่า ผู้รับบริการได้รับการรักษาด้วยยาสมุนไพรด้วยยาสมุนไพรมากที่สุด ส่วนที่ 3 การใช้ยาไทยและยาจากสมุนไพร ปริมาณและมูลค่าการใช้ยาไทยและยาจากสมุนไพรในการให้บริการการแพทย์แผนไทย พบว่า มีปริมาณหรือรายการการใช้ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติมากที่สุดร้อยละ 79.71 ซึ่งแหล่งที่มาที่พบมากที่สุดจะใช้วิธีการจัดซื้อจากหน่วยงานที่มีการผลิต รองลงมาผลิตเอง ส่วนที่ 4 ผู้ให้บริการการแพทย์แผนไทย จำนวนผู้ให้บริการ จำแนกตามประเภทอาชีพ พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ให้บริการเป็นผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะ (ไม่มีใบประกอบโรคศิลปะ) มากที่สุด ร้อยละ 81.59 รองลงมาเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ร้อยละ 8.24 การกระจายกำลังคนผู้ให้บริการการแพทย์แผนไทย พบว่า อยู่ที่ภาคใต้มากที่สุด ในอัตราส่วน 1: 2.2 หมายความว่าสถานบริการหนึ่งแห่งมีกำลังคนผู้ให้บริการการแพทย์แผนไทยประมาณ 2 คน รองลงมาเป็นภาคกลาง ภาคเหนือ แต่อย่างไรก็ตามอัตรากำลังโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1:1.7 กำลังคนผู้ให้บริการที่มีใบประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย 372 คน สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ 31 คน ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรที่เป็นผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย/ การแพทย์แผนไทยประยุกต์ (ไม่มีใบประกอบโรคศิลปะ) จำนวน 3,524 คน หลักสูตรการอบรมผู้ให้บริการ ส่วนใหญ่ผู้ให้บริการนิยมอบรมการนวดไทย ร้อยละ 49.69 และเมื่อจำแนกตามรายชั่วโมงพบว่า เข้าอบรมน้อยกว่า 150 ชั่วโมงมากกว่าร้อยละ 50 ข้อเสนอต่อการพัฒนาระบบข้อมูล สนับสนุนให้จัดทำแผนที่ระบบข้อมูลด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก และพัฒนาระบบข้อมูลที่จำเป็นต่อการวางแผนในระดับยุทธศาสตร์ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการบริการและกำลังคนด้านการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐอย่างต่อเนื่อง การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก เพื่อติดตามสถานการณ์ แนวโน้มอย่างเป็นระบบต่อเนื่องเพื่อใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์ข้อเสนอต่อการวิจัย การใช้ยาจากสมุนไพร หากมีการศึกษาประเด็นการใช้ยา (การสั่งยา) จากสมุนไพรนั้น ว่าใครเป็นผู้สั่งยาจากสมุนไพร อาทิเช่น การใช้ยาจากสมุนไพร เพื่อทดแทนยาแผนปัจจุบันในบางกลุ่มอาการ หรือตามหลักวิชาการแพทย์แผนไทย เพื่อสะท้อนให้เป็นทิศทางในการพัฒนาและส่งเสริมการแพทย์แผนไทยในระบบบริการสุขภาพ ประเภทการบริการควรแยกให้ได้ว่าเป็นการบริการประเภทเวชกรรมไทย การสั่งจ่ายยาจากสมุนไพร ข้อเสนอทางนโยบาย มีนโยบายในการพัฒนาคุณภาพกำลังคนผู้ให้บริการการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐ มีระบบและสร้างกลไกในการพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศระดับชาติ ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก และการส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างระบบกำลังคนด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอย่างเป็นระบบ ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนและพัฒนาข้อมูลร่วมกัน
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1673-2.pdf
ขนาด: 317.0Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 16
ปีพุทธศักราชนี้: 10
รวมทั้งหมด: 537
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV