บทคัดย่อ
เมื่อ พ.ศ. 2549 กรมบัญชีกลางได้เปลี่ยนแปลงระบบในการเบิกจ่ายเงินของผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการข้าราชการจากการสำรองจ่ายเงินไปก่อนโดยผู้ป่วย เป็นการเบิกจ่ายตรงระหว่างโรงพยาบาลกับกรมบัญชีกลาง แต่ยังไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบการเปลี่ยนแปลงระบบการเบิกจ่ายต่อลักษณะการสั่งจ่ายยาของแพทย์โดยเฉพาะปริมาณการสั่งจ่าย ซึ่งในโรคเรื้อรังมีการจ่ายเป็นจำนวนเดือน การศึกษานี้ทำขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลจากการเปลี่ยนแปลงระบบการเบิกจ่ายต่อลักษณะการจ่ายยาของแพทย์ด้านปริมาณในการสั่งจ่ายยา และการมียาไว้ในครอบครองเกินจำเป็นของผู้ป่วย การศึกษาเป็นการศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลังจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลที่จัดเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งในภาคเหนือ ทำการศึกษาในผู้ป่วยสวัสดิการข้าราชการที่เข้ารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548-31 มีนาคม 2550 เปรียบเทียบก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงระบบการเบิกจ่ายเงินเป็นระยะเวลา 1 ปี ในด้านค่าใช้จ่ายด้านยาโดยเฉลี่ย จำนวนเดือนที่แพทย์สั่งจ่ายต่อใบสั่งยา และอัตราการครอบครองยาเกินจำเป็น
ในการศึกษาผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการข้าราชการจำนวน 15,632 ราย (36%) จากผู้ป่วยทั้งหมด 43,897 ราย ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับยาทั้งหมด 13,785 ราย (88%) มีประวัติได้รับยาและได้รับการคัดเข้าในการศึกษานี้ ในการศึกษาค่าใช้จ่ายด้านยาพบว่า หลังการเปลี่ยนแปลงระบบการเบิกจ่ายดังกล่าว ค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่มขึ้นจาก 2 ล้านบาทเป็น 4 ล้านบาทในระยะเวลา 1 ปี ยากินสำหรับโรคเรื้อรังที่มีมูลค่าการใช้จ่ายสูงสุดได้แก่ glucosamine, atorvastatin, rosiglitazone, clopidogrel และ diacerein อัตราเฉลี่ยจำนวนเดือนในการสั่งจ่ายเพิ่มขึ้นจาก 1.29 เดือนเป็น 1.48 เดือนต่อ 1 ใบสั่งยา สัดส่วนจำนวนใบสั่งยาที่มีการสั่งจ่ายยามากกว่า 3 เดือนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.82 เป็นร้อยละ 2.43 และเมื่อวิเคราะห์ถึงการครอบครองยาเกินจำเป็น พบว่ายา 3 ใน 5 ชนิดดังกล่าวอยู่ในการครอบครองของผู้ป่วยเกินจำเป็นเพิ่มขึ้นอยู่ในช่วงระหว่าง 1.19-2.32 เท่า
สรุปว่าการเปลี่ยนแปลงระบบการเบิกจ่ายสวัสดิการข้าราชการอาจส่งผลกระทบต่อลักษณะการสั่งจ่ายยาของแพทย์ทั้งในด้านปริมาณในการสั่งจ่ายและการมียาไว้ในครอบครองเกินจำเป็นของผู้ป่วย อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ก็ยังไม่ได้ศึกษาถึงผลกระทบอื่นๆ เช่น ผลกระทบทางเวชกรรมและผลทางเศรษฐศาสตร์ที่สัมพันธ์โดยตรงกับผลทางเวชกรรมและผลกระทบอื่นๆในภาพที่กว้างขึ้น ซึ่งนับเป็นข้อมูลสำคัญที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาเพื่อประกอบการตัดสินใจในเชิงนโยบายต่อไป
บทคัดย่อ
In 2006, the reimbursement system for the Civil Servant Medical Benefit Scheme(CSMBS) in Thailand
was changed to a direct billing system. It was unknown how this new system affected drug expenditures
and the number of drugs given to beneficiaries. The aim of this study was to assess the effects of the
direct billing system on prescribing patterns in terms of the number of months of coverage per prescription
and over possession. The study was undertaken using a retrospective cohort approach on the data
recorded in the database of a university hospital in the northern part of Thailand. We gathered data on all
patients with CSMBS coverage who came to the out-patients department between Oct 1, 2005 and Mar 31,
2007. Mean cost of medication, the number of months of coverage per prescription and the medication
possession ratio (MPR) of the five highest prices of oral medication were calculated for the one-year period
before and after the system was changed.
Results: Out of 43,897 patients seeking out-patient care at the hospital, 15,632 (36%) were covered
under CSMBS. Eighty-eight percent (13,785/15,632) received medications as a result of their visit. The
total cost of medication increased from 2 million baht to 4 million baht in one year. Glucosamine,
atorvastatin, rosiglitazone, clopidogrel and diacerein were the most frequently used in terms of cost. The
average number of months of coverage based on these medications increased from 1.29 to 1.48 months per
prescription. The percentage who were prescribed medication for more than 3 months, was slightly increased
from 1.82 to 2.43. Three out of five MPRs were higher after the system was changed (relative risk
ranged from 1.19 to 2.32).
Conclusion: The direct billing system may affect prescribing patterns, as indicated by the trend of
the increased number of months of coverage per prescription and the higher medication possession ratio
found in our study. Further evidence is still needed. Policymakers need to consider all relevant and
important consequences associated with the new system prior to decision-making for policy purposes.